ชิเน็น มิกิโตะ นักเขียนในคราบแพทย์หนุ่มญี่ปุ่น เผยกฎเหล็ก 3 ข้อที่ช่วยให้เขียนนิยายอย่างมีประสิทธิภาพ

ชิเน็น มิกิโตะ นักเขียนในคราบแพทย์หนุ่มญี่ปุ่น เผยกฎเหล็ก 3 ข้อที่ช่วยให้เขียนนิยายอย่างมีประสิทธิภาพ

ชิเน็น มิกิโตะ นักเขียนในคราบแพทย์หนุ่มญี่ปุ่น เผยกฎเหล็ก 3 ข้อที่ช่วยให้เขียนนิยายอย่างมีประสิทธิภาพ

ชิเน็น มิกิโตะ คือนักเขียนที่เขียนนิยายออกมาแล้วมากกว่า 20 เล่ม โดยหนังสือสือนิยายที่เขาเขียนถูกสร้างเป็นซีรีส์ลึกลับถึง 3 เรื่อง ได้แก่ Takao Ameku’s Deductive Medical Charts, Shinigami และ Cheers at Miki Clinic

ซึ่งเขาทุ่มเทเวลาเพียง 8 ปี ในการสร้างผลงานผ่านตัวหนังสืออันน่าประทับใจนี้ และเขาไม่ได้ทำแค่อาชีพนักเขียนเท่านั้น ในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นนายแพทย์แผนกอายุรกรรมอีกด้วย

แล้วอะไรกันที่ทำให้คุณชิเน็นสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้มากมาย และยังคงทำงานแพทย์ไปด้วยได้กันล่ะ

สยามจุลละมณฑลมีคำตอบค่าา

ความลับจริงๆ ของการมีไอเดียใหม่ๆ ออกมาเขียนได้ตลอดของคุณชิเน็นนั้น มาจากกฎ 3 ข้อที่เขาตั้งขึ้นมาใช้กับตัวเอง ซึ่งเขาได้โพสต์กฎทั้งสามข้อนี้ให้ผู้ติดตามได้อ่านกันบนทวิตเตอร์ของเขา (@MIKITO_777) ไว้ด้วยว่า

“นี่ก็ 8 ปีมาแล้วนับตั้งแต่ผมได้เริ่มเป็นนักเขียนนิยาย และในช่วงที่เริ่มต้นนั้นผมก็ได้ตั้งกฎสามข้อขึ้นมาสำหรับตนเอง”

 

1. นอนให้มากเท่าที่จะมากได้ 😴

2. เวลาที่เริ่มเขียนงานให้ปิดสมาร์ตโฟน และปิดอินเทอร์เน็ตของคอมพิวเตอร์ 🌐

3. ทุกๆ วันให้คอยบันทึกไว้ว่าตัวเองเขียนไปทั้งหมดกี่คำ ✍🏻

และคุณชิเน็นก็บอกว่า “ตั้งแต่ผมเริ่มทำตามกฎเหล่านี้ ความเร็วในการเขียนของผมก็เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก”

 

ซึ่งกลยุทธ์นี้เรียกได้ว่าสมเหตุสมผลมากเลยทีเดียวค่ะ เพราะแน่นอนว่านักเขียนเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก

และไม่ว่าคุณจะมีทักษะการเขียนที่คมคายแค่ไหน แต่ถ้าคุณเหนื่อยล้าและรู้สึกง่วงก็คงจะไม่สามารถเขียนงานที่ดีออกมาได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นคนที่ต้องทำงานหลักในช่วงกลางวันเหมือนกับคุณชิเน็น หากคุณรู้ตัวว่าต้องตื่นเช้าไปทำงานล่ะก็ ปิดสวิชช์ความเป็นนักเขียนในยามที่คุณควรจะพักผ่อนไปได้เลย คุณควรไปนอนพักเพื่อให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

เช่นเดียวกันค่ะ การปิดโทรศัพท์มือถือก็จะช่วยให้คุณมีสมาธิ ไม่มัวไปจดจ่อกับการหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูข้อความ หรือเช็กหน้าโซเชียลมีเดีย หรือการหาอะไรดูผ่อนคลายบนอินเทอร์เน็ต สุดท้ายก็ไม่ได้เขียนอะไรสักอย่าง

ซึ่งในจุดนี้คุณชิเน็นก็มีข้อได้เปรียบอยู่ เพราะอย่างที่บอกไปว่านิยายของเขาเป็นแนวเรื่องลึกลับเกี่ยวกับการแพทย์ ซึ่งเขามีความรู้ในเรื่องนี้มากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นั่นจึงช่วยลดเวลาที่ใช้ในการหาข้อมูลเพื่อเขียนนิยายของเขาเป็นอย่างมากทำให้เขาสามารถทุ่มเวลาไปกับขั้นตอนการเขียนได้อย่างเต็มที่ จึงไม่ใช่เรื่องลำบากอะไรหากเขาจะต้องตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตในระหว่างที่เขาเริ่มเขียนงาน และด้วยความที่เขาเป็นนักเขียน ไม่ใช่การเขียนนิยายผ่านเว็บไซต์ หรือบล็อกส่วนตัวยิ่งทำให้เขาไม่ต้องเขาสู่โลกอินเทอร์เน็ตเลยแม้แต่น้อย

แต่สำหรับนักเขียนบางท่านที่ต้องหาข้อมูลสำหรับงานเขียน การแบ่งเวลาหาข้อมูลและการเขียนออกจากกันก็อาจจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้เช่นกัน เพราะเมื่อคุณมีข้อมูลที่ต้องการเพียงพอแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องกลับไปค้นหาข้อมูลทุกห้านาที และสามารถเพ่งสมาธิลงไปกับการเขียนได้อย่างเต็มที่

และข้อสุดท้ายการบันทึกจำนวนคำที่ได้เขียนไปในแต่ละวันจะช่วยให้เรามองเห็นว่าเราทำงานในแต่ละวันไปได้มากน้อยแค่ไหน และจากนั้นมันจะกลายเป็นขั้นต่ำในการทำงานที่เราตั้งเป้าจะไปให้ถึงในแต่ละวัน และถ้ามันมีแนวโน้มว่าเราเริ่มทำงานช้าลงเรื่อยๆ เราอาจจะต้องกลับไปดูอีกครั้งว่าเราทำตามกฎข้อ 1 และ 2 ได้ดีพอแล้วหรือยัง

ผู้ติดตามทางออนไลน์ของคุณชิเน็น ก็รู้สึกเห็นด้วยกับคำแนะนำของเขาเป็นอย่างมากและได้เขียนข้อความตอบกลับกันมาไม่น้อยเลย

“ฉันเป็นนักเรียนม.ปลาย และคิดว่านี่น่าจะเป็นกลยุทธ์ในการเรียนที่ดีเลย”


“ฉันรู้สึกนับถือในความพยายาม และความมีวินัยที่คุณทุ่มให้กับนิยายของคุณจริงๆ”


“บางคนอาจจะบอกว่ากฎพวกนี้มันก็เป็นของตายอยู่แล้ว แต่มีไม่กี่คนหรอกที่ทำตามกฎเหล่านี้ได้อย่างจริงจัง”

 

“ฉันเป็นนักวาด และฉันว่าจะลองทำตามกฎพวกนี้ดูบ้าง”

 

แต่แล้วคุณชิเน็นก็ปิดท้ายทวิตด้วยข้อความใหม่ไปว่า

“และนี่ถึงเวลาที่ผมจะต้องกลับไปเขียนนิยายแล้ว ผมคงต้องขอตัดขาดจากอินเตอร์เน็ตไปก่อน วันนี้ผมยังต้องเขียนอีก 10 หน้า…”

5555 ต้องกลับไปทำหน้าที่นักเขียนอย่างจริงจังแล้วสินะ

 

ถือเป็นกฎเหล็ก 3 ข้อที่ทำตามได้ง่ายมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความอดทนด้วยใช่ไหมล่ะคะทุกคน

ลองนำ 3 กฎดีๆ แบบนี้ไปใช้กันน้าา🥰

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

Twitter/@MIKITO_777

SoraNews24

https://akibatan.com

เขียนเค้าโครงหนังสือก่อนเขียนเนื้อหา ช่วยให้งานราบรื่นกว่าที่คิด

เขียนเค้าโครงหนังสือก่อนเขียนเนื้อหา ช่วยให้งานราบรื่นกว่าที่คิด

เขียนเค้าโครงหนังสือก่อนเขียนเนื้อหา ช่วยให้งานราบรื่นกว่าที่คิด

#การเขียนเค้าโครงเรื่องดีอย่างไร

เรามาหาคำตอบกันค่ะ

‘โครงเรื่อง’ เป็นการกำหนดแนวทางการเขียน การเรียบเรียงข้อมูล การจัดลำดับความคิด และการจัดลำดับหัวข้อ หลังจากที่เรารวบรวมข้อมูลมาแล้ว

การเขียนโครงเรื่องจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในงานเขียน แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้เขียนจะต้องเขียนตามโครงเรื่องที่วางไว้เสมอ เพราะเมื่อลงมือเขียนจริงอาจมีการปรับเปลี่ยนโครงได้ตามความเหมาะสม

นอกจากนี้การเขียนโครงเรื่องยังช่วยให้เราไม่สับสนเวลาเขียน หรือเขียนหัวข้อใดข้อหนึ่งยาวเกินไป และอาจจะลืมเขียนบางหัวข้อ

ดังนั้น การเขียนโครงเรื่องก่อนที่จะลงมือเขียนเนื้อหาอย่างจริงจัง จะทำให้งานเขียนมีความสมบูรณ์มากที่สุด และงานนั้นก็จะออกมาอย่างราบรื่นอีกด้วยค่าา

#ประโยชน์ของโครงเรื่อง

การเขียนโครงเรื่องมีประโยชน์ในการเขียนของเราอยู่หลายประการ ดังนี้ค่ะ

1. โครงเรื่องช่วยในการนำเสนอเนื้อหา

ทำให้ผู้เขียนเตรียมเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายในการเขียน รู้จักกำหนดขอบข่ายของเนื้อหา รวมทั้งช่วยให้เห็นแนวทางการเรียบเรียงความคิด ว่าควรจะใช้แบบใด และมีเนื้อหาในประเด็นหรือหัวข้อใดที่เรายังไม่รู้ดีพอหรือยังหารายละเอียดไม่ได้ เราก็สามารถเตรียมความรู้เหล่านี้เพิ่มเติมได้อีกจนเพียงพอ

2. โครงเรื่องช่วยแบ่งหัวข้อได้ชัดเจน

การแบ่งหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยอย่างชัดเจนทำให้ผู้เขียนสามารถจัดลำดับเพื่อเชื่อมโยงหัวข้อย่อยกับหัวข้อย่อย หัวข้อใหญ่กับหัวข้อย่อยได้ง่าย

3. โครงเรื่องช่วยเขียนเรื่องอย่างมีเหตุผล

ทำให้ผู้เขียนมองเห็นความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ ในเนื้อหาจากโครงเรื่องได้ชัดเจน ว่ามีประเด็นหรือหัวข้อใดเกี่ยวข้องกันบ้าง และความคิดของประเด็นต่างๆ เหล่านั้นเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร จึงจะทำให้เนื้อหามีน้ำหนักและสมเหตุสมผล

4. โครงเรื่องช่วยในการวางสัดส่วนของเรื่องได้เหมาะสม

โครงเรื่องช่วยให้ทราบว่าควรเขียนในประเด็นอะไรบ้าง มีประเด็นใดที่ไม่ควรเขียน หรือประเด็นใดควรนำความคิดหรือรายละเอียดมาสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน จึงจะพอเหมาะกับความยาว ซึ่งจะช่วยให้สัดส่วนของเรื่องเหมาะสม

5. โครงเรื่องช่วยไม่ให้ลืมหัวข้อเรื่องที่จะเขียน

ในขณะเขียนเราอาจจะจดจ่อกับเรื่องที่เขียนจนลืมเขียนหัวข้ออื่นๆ ได้ แต่การเขียนโครงเรื่องจะช่วยเตือนความจำให้เราไม่ลืมเขียนหัวข้อ

6. โครงเรื่องช่วยไม่ให้สับสนเวลาเขียน

การเขียนโครงเรื่องก่อนลงมือเขียนเปรียบเสมือนการเขียนฉบับร่างของงานเขียน เมื่อลงมือเขียนจึงสามารถเขียนตามหัวข้อต่างๆ ที่ผู้เขียนได้วางโครงเรื่องไว้ทำให้ไม่เกิดความสับสนเวลาเขียน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://ajsurat.blogspot.com