การรีไรต์ ก็เหมือนกับการนำบทความ เนื้อหา ของผู้อื่นมาต่อยอดเป็นงานเขียนของตัวเองให้มีคุณภาพย่ิงขึ้น โดยมีการประยุกต์คำ ประโยคขึ้น ใส่มุมมองใหม่ๆ ของเราให้รูปประโยค เนื้อความกระจ่างขึ้นนั่นเอง แต่เนื้อความในบางจุดยังคงมีเรื่องที่นักเขียนท่านอื่นได้เขียนหรือเล่าเรื่องราวไปบ้างแล้ว
.
การรีไรต์อาจมองว่าเป็นการก๊อปปี้ผลงานของผู้อื่น แต่ในบางครั้งเราก็มองได้ว่า นี่คือการสร้างสรรค์งานเขียนให้ดีขึ้นกว่าเดิม
.
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับนักเขียนทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ที่ถนัดในการเขียนรีไรต์ นั่นคือ บทความที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่นั้นจะต้องไม่เป็นเรื่องที่ล่อแหลม หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นค่ะ
.
นอกจากนั้น สิ่งที่เราควรตระหนักถึงก็คือ หากเนื้อหาในบทความที่เราได้สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่นั้น เป็นแนวหาในเชิงที่ต้องให้เครดิตแก่ผู้คิดค้น เราไม่ควรละเลยการยกเครดิตให้กับเจ้าของบทความเดิม ผู้ซึ่งเป็นคนคิดค้นไอเดียนั้น หรือถ้อยคำนั้น และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะแอบอ้างเอาชื่อตัวเองใส่ลงไปว่าเราเป็นผู้คิดค้นสิ่งนั้นๆ ด้วยตนเองเป็นอันขาดค่ะ เพราะจะมองได้ว่าเป็นการไม่เคารพผู้อื่น แถมเรายังไม่เคารพตัวเองอีกด้วยนะคะ
.
.
ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูว่า การเป็นนักเขียนรีไรต์ที่ดี ควรทำอย่างไรกันค่ะ
.
1 นักเขียนทุกคนจะต้องรับรู้และใส่ใจในรายละเอียดการเขียนบทความที่มีคุณภาพ ด้วยเนื้อหาที่ต้องดีกว่า มากกว่า และลงลึกได้ชัดเจนกว่าต้นฉบับ และยังต้องถูกต้อง รวมถึงมีความน่าเชื่อถือด้วย
.
2 สำนวนในการเขียนและสร้างสรรค์ผลงานจะต้องดี อ่านแล้วเข้าใจ ไม่มีคำหยาบ หรือ ดิสเครดิตใคร รวมถึงจะต้องไม่ลอกเลียนสำนวนของผู้อื่น เพราะการที่นักเขียนแต่ละคนมีสำนวนของตัวเอง นับว่าเป็นเสน่ห์ของตัวเองที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้อ่านค่ะ
.
3 การรีไรท์บทความที่ดี จะต้องมีเนื้อหาที่ครอบคลุม ตอบโจทย์ทุกความสงสัยของผู้อ่าน นั่นหมายถึง ทุกคำที่เราเขียนลงไปจะต้องเป็นคำตอบที่ผู้อ่านอยากจะรู้
.
4 ที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างที่เราเขียนขึ้นมา หากเป็นเชิงหลักการ ไม่ใช่เชิงแนวความคิด
เห็น จะต้องมีแหล่งข้อมูลของเนื้อหาที่เชื่อถือได้ ไม่ตุตะเอาเอง
.
5 ต้องรู้จักตรวจเช็กข้อมูลทุกครั้ง ตรวจดูว่าข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการเขียน ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น อายุ พ.ศ. เวลา เป็นต้น เพราะเป็นจุดเล็กที่หลายคนมักจะมองข้าม และทำให้พลาดใส่ข้อมูลผิดลงไปได้ค่ะ