การนับสีในงานพิมพ์เขานับกันอย่างไร

เราจะรู้ได้ยังไงว่า งานที่เราพิมพ์นั้นมีกี่สี บางคนไม่ทราบวิธีนับสีก็จะตกใจ คิดว่ามีสี เยอะมากเป็นสิบเป็นร้อยสี กลัวราคาจะสูงเพราะว่าสีมีผลต่อราคาค่าพิมพ์ต่อหน่วย
.
ดังนั้นวันนี้เราจะพาไปรู้จักวิธีการนับสีในงานพิมพ์ว่า การนับสีในงานพิมพ์เขานับกันอย่างไรค่ะ
.
จริงๆ แล้ว การนับสีมีหลักการอยู่ว่า 1 เพลท คือ 1 สี เพราะภาพต่าง ๆ ที่เราเห็นจะใช้แค่ 4 เพลท หรือที่เรียกกันว่างาน 4 สี โดยใช้หลักเดียวกันกับการผสมสี แม่สี 3 สี และจะมีสีดำอีกหนึ่งเป็น 4 ผสมกันวาดเป็นภาพเหมือนจริงได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีสีพิเศษเพิ่มเข้ามาตามความต้องการการใช้งานอีกด้วย โดยจะประกอบไปด้วย สีเงิน สีทอง ซึ่งจะต้องเพิ่มเพลทมา 1 เพลท หรือนับเพิ่มเป็น 1 สี นั่นเอง
.
พิมพ์ 1 สี หรือ การพิมพ์สีเดียว
ส่วนใหญ่จะเป็นงานพิมพ์ขาว ดำ ซึ่งการพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นสีกันทั่วไป ทั้งนี้งานพิมพ์สีเดียวไม่จำเป็นจะต้องใช้แค่สีขาวกับดำ แต่จะพิมพ์เป็นสีเขียว เหลือง แดง น้ำเงิน ก็ได้เช่นกัน และในสีที่พิมพ์นั้นยังสามารถทำเป็นหลายระดับ ตั้งแต่อ่อนไปจนถึงเข้มทำให้ดูเหมือนว่ามีหลายสี อย่างเช่น การเลือกสีน้ำเงินในการพิมพ์กระดาษขาว ก็จะไล่สีน้ำเงินเข้มไปจนสีอ่อนก็จะดูเหมือนมีสีฟ้า สีคราม ในงานเดียวกันได้ ทั้งนี้งานพิมพ์สีเดียวที่นิยม คือ หนังสือเรียน หนังสือเล่ม พ็อกเก็ตบุ๊ค แต่จะเป็นเนื้อหาข้างใน ไม่ใช่ปก และการพิมพ์ 1 สี จะมีต้นทุนต่ำที่สุด
.
พิมพ์ 2 สี และ 3 สี
เพิ่มความสนใจ ความสวยงามให้งานพิมพ์น่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น ซึ่งพิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี ส่วนใหญ่จะนิยม 2 สี เช่น ดำกับแดง ดำกับน้ำเงิน เขียวกับเหลือง หรือจะเป็นคู่สีอะไรอื่น โดยค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นอีกนิดหนึ่ง เพราะโรงพิมพ์จะต้องเพิ่มเพลทตามจำนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วย งานพิมพ์ที่เหมาะสำหรับพิมพ์สีพิเศษ เช่น สมุดโน้ต สติ๊กเกอร์ทั่วไป ถุงกระดาษ ซองเอกสาร เป็นต้น
.
พิมพ์ 4 สี (แบบสอดสี)
จะทำให้ได้สีที่เหมือนกับรูปแบบหรือต้นฉบับที่เราต้องการ ซึ่งจะเป็นภาพที่มีสีสันสวยงามเหมือนกับที่ตาเราเห็น ในส่วนวิธีการพิมพ์ 4 สี จะใช้สี CMYK (สีดำ แดง เหลือง น้ำเงิน) โดยพิมพ์ผสมกันออกมาจะได้หลายสี แต่จะมีความยุ่งยากกว่าทั้ง 2 แบบแรก จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้เพลท 4 ตัว แล้วต้องพิมพ์ 4 รอบ สิ่งพิมพ์ส่วนมากที่นิยมใช้การพิมพ์ 4 สี อย่างเช่น ทำปกโปสเตอร์ ทำปกวารสาร หน้าแฟชั่นในนิตยสาร ฯลฯ
.
พิมพ์สีพิเศษ
อย่างเช่น สีทอง สีเงิน และสีสะทองแสง ซึ่งสีพิเศษคือสีที่ไม่สามารถผสมระหว่างสีได้ โดยเฉดสีทองและเฉดสีเงินก็จะมีความแตกต่างกัน สีเทาจะให้ความเงาและด้านต่างกัน ในส่วนของสีเงินจะมีเงินมันวาวกับเงินด้าน ดังนั้นการพิมพ์สีพิเศษนั้น จะต้องทำเพลทเพิ่มขึ้นตามจำนวนสีอีกเช่นเดียวกัน งานพิมพ์ที่เหมาะสำหรับพิมพ์สีพิเศษ เช่น ใบปลิว แผ่นพับ หนังสือ กล่องบรรจุภัณฑ์ ปฏิทิน การ์ด โปสเตอร์ ถุงกระดาษ เป็นต้น
.
เมื่อเรารู้วิธีการนับสีในงานพิมพ์แล้ว จะทำให้เราสามารถเลือกการพิมพ์สีได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และสามารถรู้ว่าราคาแต่ละแบบมีความแตกต่างกันเท่าไร ทั้งยังทำให้เราได้งานที่ดี มีคุณภาพ ตามแบบที่เราต้องการอีกด้วยค่ะ