เขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน

เขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน

ก่อนจะเรียนรู้วิธีการเขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน เรามารู้จักความหมายของคำนำ กันก่อนค่าา
.
คำนำ คือ ส่วนแรกที่เราได้เห็นเมื่อเปิดหนังสือหรือเล่มรายงาน ซึ่งจะเล่าถึงวัตถุประสงค์ ทำขึ้นเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร อาจมีการเขียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านอย่างไร ที่สำคัญไม่ควรเขียนยาวหรือสั้นเกินไปด้วย เมื่อเขียนเสร็จ ควรลงท้ายผู้จัดทำหรือคณะผู้จัดทำรายงานด้วย
.
คำนำที่ดีจะทำให้คนอ่านติดตามเรื่องของเราโดยตลอด ถ้าคำนำไม่ดีเขาจะหยุดอ่าน ดังนั้นในตอนต้นควรมีวิธีการชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราให้จบ โดยต้องสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด
.
ราชบัณฑิตยสถาน ระบุไว้ว่า “คำนำที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้”
🌟 เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง
🌟 เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
🌟 เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
🌟 เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
🌟 เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง
🌟 เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
🌟 เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง
🌟 เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
.
.
สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ ได้แก่
🌟 ไม่ควรเอาประวัติศาสตร์ หรือเรื่องพื้นๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเขียนเป็นคำนำ
🌟 ไม่ควรอธิบายคำนำอย่างฟุ้งซ่าน จนไม่มีจุดหมายของเรื่อง
🌟 ไม่ควรขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร
🌟 ไม่ควรเขียนคำนำด้วยการออกตัว เช่น ออกตัวว่าไม่พร้อมหรือไม่เชี่ยวชาญเรื่องที่เขียน อาจทำให้ผู้อ่านไม่สนใจอ่านรายงานก็ได้
🌟 ไม่ควรเขียนซ้ำกับส่วนสรุป หรือความลงท้าย
🌟 ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง

ซึ่งนอกจากนี้การเขียนคำนำให้ดี ก็ต้องสามารถดึงประเด็นที่สำคัญออกมาจากเนื้อหาที่เราเขียนลงไปให้ได้ เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักๆ ของหนังสือเล่มนั้นนั่นเองค่า
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.msu.ac.th
https://www.krujojotalk.com

#สยามจุลละมณฑล
#การเขียนคำนำ
#คำนำที่ดี
#เทคนิคการเขียนคำนำ

คำนำ คือ ส่วนแรกที่เราได้เห็นเมื่อเปิดหนังสือหรือเล่มรายงาน ซึ่งจะเล่าถึงวัตถุประสงค์ ทำขึ้นเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร อาจมีการเขียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านอย่างไร ที่สำคัญไม่ควรเขียนยาวหรือสั้นเกินไปด้วย เมื่อเขียนเสร็จ ควรลงท้ายผู้จัดทำหรือคณะผู้จัดทำรายงานด้วย
.
คำนำที่ดีจะทำให้คนอ่านติดตามเรื่องของเราโดยตลอด ถ้าคำนำไม่ดีเขาจะหยุดอ่าน ดังนั้นในตอนต้นควรมีวิธีการชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราให้จบ โดยต้องสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด
.
#ราชบัณฑิตยสถาน ระบุไว้ว่า “คำนำที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้”
🌟 เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง
🌟 เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
🌟 เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
🌟 เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
🌟 เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง
🌟 เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
🌟 เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง
🌟 เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
.
.
#สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ ได้แก่
🌟 ไม่ควรเอาประวัติศาสตร์ หรือเรื่องพื้นๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเขียนเป็นคำนำ
🌟 ไม่ควรอธิบายคำนำอย่างฟุ้งซ่าน จนไม่มีจุดหมายของเรื่อง
🌟 ไม่ควรขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร
🌟 ไม่ควรเขียนคำนำด้วยการออกตัว เช่น ออกตัวว่าไม่พร้อมหรือไม่เชี่ยวชาญเรื่องที่เขียน อาจทำให้ผู้อ่านไม่สนใจอ่านรายงานก็ได้
🌟 ไม่ควรเขียนซ้ำกับส่วนสรุป หรือความลงท้าย
🌟 ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง

ซึ่งนอกจากนี้การเขียนคำนำให้ดี ก็ต้องสามารถดึงประเด็นที่สำคัญออกมาจากเนื้อหาที่เราเขียนลงไปให้ได้ เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักๆ ของหนังสือเล่มนั้นนั่นเองค่า
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
จุฑามาศ ภิญโญศรี. (2021). เทคนิคการเขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจ. https://www.msu.ac.th

Kru JoJo Talk. (2554). เขียนคำนำ อย่างไรให้ดูดี. https://www.krujojotalk.com