สื่อ นับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน และจะสำคัญอย่างยิ่งในอนาคต เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนตรงกับผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น และคำว่า สื่อ (medium, pl.media) เป็นคำมาจาก ภาษาลาติน ว่า “ระหว่าง” สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่ง หรือ แหล่งส่งไปยังผู้รับ เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์
ในการเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า “สื่อการสอน” และเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้ เรียกว่า “สื่อการเรียน” โดยเรียกรวมกันว่า “สื่อการเรียนการสอน” หรืออาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า “สื่อการสอน” ในการใช้สื่อการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียน การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียนและทําให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบัน มักจะเรียกการนําสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ซึ่งหมายถึง การนําเอาวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการ มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะ ได้ 4 ประเภท คือ
การฝึกปฏิบัติ
เทคโนโลยี คือ นวัตกรรมที่พัฒนามาจากมนุษย์ ดังนั้น เมื่อเราสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสอนได้ สิ่งนี้ก็จะกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้ครูสามารถจัดเตรียมมัลติมีเดีย เพื่อจัดการกับรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น แอนิเมชัน วิดีโอ Live ฯลฯและยังช่วยให้ผู้สอนสร้างหลักสูตรออนไลน์ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในพื้นที่ของตนเองตามโอกาสและตามสไตล์ที่เหมาะสมของตนเอง
นอกจากนี้ เทคโนโลยียังทำให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกันได้ เมื่อผู้เรียนรู้สึกเชื่อมต่อกับผู้สอนหรือสิ่งที่เรียน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ก็จะช่วยให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
พอดแคสต์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ ซึ่งทำผ่านการบันทึกเสียงสนทนาในหัวข้อเฉพาะ มักพบใน iTunes และ Spotify อยู่บ่อย ๆ หรือบนเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยจุดเด่นของพอดแคสต์ คือ ทุกคนสามารถฟังได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะขณะเดินทางไปทำงาน หรือแม้กระทั่งขณะทำงาน เพียงแค่เปิดในมือถือเหมือนกับเปิดเพลงจากแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยแม้ว่า เนื้อหาของพอดแคสต์จะมีความเฉพาะเจาะจงในหัวข้อ แต่ก็ยังมีความหลากหลายและกว้างขวางให้เราเลือกฟังมาก ๆ คุณสามารถเรียนประวัติศาสตร์ ภาษา ธุรกิจ เทรนด์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะเฉพาะของตัวเอง
เมื่อนักเรียนทุกคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากมาย โซเชียลมีเดียจึงกลายเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ได้อย่างดี สถาบันการศึกษาหลายแห่งเริ่มใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือสื่อสารที่นักเรียนสามารถโต้ตอบกับผู้อื่นได้อย่างง่าย เช่น ใน Facebook นักเรียนสามารถแชร์สื่อการเรียน พูดคุยกับคนอื่น ๆ ในกลุ่ม หรือแสดงความคิดเห็นในโพสต์ของคนอื่นได้ง่าย ๆ การแบ่งปัน และโพสต์วิดิโอที่เป็นความรู้บน YouTube ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึง ค้นหา และแบ่งปันวิดีโอเพื่อการศึกษากับเพื่อน ๆ ได้ หรือการติดตามข่าวสารบน Twitter ที่หลาย ๆ คนทำมานานแล้ว
โซเชียลมีเดียนั้นช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน และการแบ่งปันความรู้ ซึ่งนำไปสู่ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
โปรแกรม STEAM คือ การพัฒนา EdTech ใหม่ภายใต้โปรแกรม STEM ซึ่งเป็นเทรนด์ของสื่อการสอนสมัยใหม่ โดยนำเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ที่มีความหมายมาใช้ในการแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติและการออกแบบที่สร้างสรรค์
การสตรีมมิ่ง (Streaming) ช่วยสร้างนิสัยความอยากรู้อยากเห็นให้แก่ผู้เรียนมากขึ้น เกี่ยวกับโลกรอบตัวพวกเขา นอกจากนี้ ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน ในการแสดงความคิด และพัฒนาการคิดนอกกรอบ อีกทั้งความสะดวกสบายของการเรียนรู้ ยังช่วยเอื้อให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น
ปัจจุบัน AI กำลังมาในตลาด EdTech ของสหรัฐอเมริกา สิ่งแรกและสำคัญที่สุดคือ AI สามารถทำให้กิจกรรมพื้นฐานในการศึกษาเป็นไปโดยอัตโนมัติ เช่น การให้คะแนน ตอนนี้ครูสามารถให้คะแนนคำถามแบบปรนัย และแบบเติมในช่องว่างโดยอัตโนมัติได้แล้ว ดังนั้น การจัดลำดับงานเขียนของนักเรียนแบบอัตโนมัติอาจไม่ล้าหลังนัก
นอกจากนี้ ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้รับประโยชน์จากสื่อการสอน AI ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถรับความช่วยเหลือจากผู้สอน AI เมื่อครูมีงานมากเกินกว่าจะดูแลทุกคนได้ นอกจากนี้ โปรแกรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้เรียนและผู้สอน นั่นเป็นเหตุผลที่โรงเรียนบางแห่งในอเมริกาใช้ระบบ AI เพื่อติดตามความคืบหน้าของนักเรียนและเพื่อเตือนครู เมื่ออาจมีปัญหากับการแสดงของนักเรียน ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ AI จะเป็นผู้ช่วยที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับการสอนในชั้นเรียน
หากกำลังมองหาวิธีเปลี่ยนการเรียนรู้ให้เป็นกระบวนการที่สนุกสนาน และมีส่วนร่วมมากขึ้น Gamification เป็นอีกหนึ่งสื่อการสอนที่เหมาะสมที่สุดที่จะสร้าง “แรงจูงใจ” ให้กับผู้เรียน ไม่มีเหตุผลใดที่ผู้เรียนจะไม่มีส่วนร่วมกับการเล่นเกมในห้องเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และฝึกฝนในขณะที่เข้าร่วมกิจกรรมเกมที่น่าตื่นเต้น องค์ประกอบการเล่นเกมช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเป็นบวกสำหรับผู้เรียน
การนำ Gamification มาใช้อาจเหมาะกับผู้เรียนที่ยังเป็นเด็ก เนื่องจากอาจยังมีสมาธิจดจ่อกับการเรียนได้น้อยกว่าเด็กโต และด้วยเนื้อหาที่ไม่ได้เข้มข้นมากนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่จะไม่เหมาะกับ Gamification เพราะหลายคนก็อยากที่จะมีส่วนร่วมในเกม หรือรู้สึกสนุกเมื่อได้คะแนนจากการแข่งขัน เหมือนกับว่าเขาไม่ได้เรียนหนังสืออยู่ ซึ่งนั่นคือการแข่งขันการเรียนรู้กับเพื่อน ๆ และตัวผู้เรียนเอง
จะเห็นว่า เทคโนโลยีได้แทรกซึมเข้าสู่การศึกษา และได้ปรับปรุงกระบวนการสอนและการเรียนรู้ทั้งหมด โดยเฉพาะ E-Learning ซึ่งเป็นสื่อการสอนที่ไม่เพียงเพิ่มการเข้าถึง และความสะดวกในการศึกษาเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ และความปรารถนาของผู้เรียนในการเรียนรู้อีกด้วย
สำหรับการนำสื่อการเรียนรู้เข้ามาใช้ในห้องเรียนเพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ของคนไทยยุคใหม่นั้น ผู้สอนจำเป็นจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของคนยุคใหม่ให้ดีก่อน ดูว่าพวกเขาต้องการอะไรในการเรียนรู้ รวมถึงความพร้อมของผู้เรียนเองด้วย แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ดูว่าผู้สอนจะสามารถประยุกต์ใช้ในการสอนได้อย่างไร
ในการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขึ้นใช้เองโดยครูผู้สอนนั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะครู ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ถึงความยากง่าย ความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การที่จะผลิตสื่อ ให้มีประสิทธิภาพ ต่อการเรียนรู้นั้นจะต้องมีกระบวนการผลิตที่มีขั้นตอนและมีระบบ เพื่อให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่าต่อการศึกษาสูงสุด ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรพิจารณาปัจจัยเพื่อการผลิตและพัฒนาสื่อดังต่อไปนี้
จากนั้นก็ทำการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดมาใช้เป็นสื่อในการสอน และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยติดตามผล ว่าสื่อเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่อผู้เรียนมากแค่ไหน โดยควรจะมีการประเมินการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ว่า มีข้อบกพร่อง หรือส่วนใดที่ควรปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ดำเนินการวางแผนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
จากนั้นก็ทำการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดมาใช้เป็นสื่อในการสอน และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยติดตามผล ว่าสื่อเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่อผู้เรียนมากแค่ไหน พร้อมทั้งแก้ไขให้ดี
ที่มา :
https://สื่อการสอนฟรี.com/สื่อการเรียนการสอน-คืออ/