การผลิตสื่อการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์การเรียนการสอนในยุคออนไลน์

การผลิตสื่อการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์การเรียนการสอนในยุคออนไลน์


สื่อ นับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน และจะสำคัญอย่างยิ่งในอนาคต เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนตรงกับผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น และคำว่า สื่อ (medium, pl.media) เป็นคำมาจาก ภาษาลาติน ว่า “ระหว่าง” สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่ง หรือ แหล่งส่งไปยังผู้รับ เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ 

ในการเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า “สื่อการสอน” และเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้ เรียกว่า “สื่อการเรียน” โดยเรียกรวมกันว่า “สื่อการเรียนการสอน” หรืออาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า “สื่อการสอน” ในการใช้สื่อการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียน การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียนและทําให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ในปัจจุบัน มักจะเรียกการนําสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ซึ่งหมายถึง การนําเอาวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการ มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

การผลิตสื่อการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์การเรียนการสอนในยุคออนไลน์

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะ ได้ 4 ประเภท คือ

  1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สไลด์แผ่นใส เอกสาร ตํารา สารเคมีสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือ

การฝึกปฏิบัติ

  1. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ ของจริง หุ่นจําลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
  1. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่ การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงานการจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จําลอง
  1. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนําเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)

สื่อการสอนสมัยใหม่ในยุคออนไลน์ คือ นวัตกรรมที่จำเป็น

เทคโนโลยี คือ นวัตกรรมที่พัฒนามาจากมนุษย์ ดังนั้น เมื่อเราสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสอนได้ สิ่งนี้ก็จะกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้ครูสามารถจัดเตรียมมัลติมีเดีย เพื่อจัดการกับรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น แอนิเมชัน วิดีโอ Live ฯลฯและยังช่วยให้ผู้สอนสร้างหลักสูตรออนไลน์ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในพื้นที่ของตนเองตามโอกาสและตามสไตล์ที่เหมาะสมของตนเอง

นอกจากนี้ เทคโนโลยียังทำให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกันได้ เมื่อผู้เรียนรู้สึกเชื่อมต่อกับผู้สอนหรือสิ่งที่เรียน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ก็จะช่วยให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การผลิตสื่อการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์การเรียนการสอนในยุคออนไลน์
 
 

5 สื่อการสอนสมัยใหม่ทันโลกยุคดิจิทัล

  1. พอดแคสต์ (Podcast)

พอดแคสต์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ ซึ่งทำผ่านการบันทึกเสียงสนทนาในหัวข้อเฉพาะ มักพบใน iTunes และ Spotify อยู่บ่อย ๆ หรือบนเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยจุดเด่นของพอดแคสต์ คือ ทุกคนสามารถฟังได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะขณะเดินทางไปทำงาน หรือแม้กระทั่งขณะทำงาน เพียงแค่เปิดในมือถือเหมือนกับเปิดเพลงจากแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยแม้ว่า เนื้อหาของพอดแคสต์จะมีความเฉพาะเจาะจงในหัวข้อ แต่ก็ยังมีความหลากหลายและกว้างขวางให้เราเลือกฟังมาก ๆ คุณสามารถเรียนประวัติศาสตร์ ภาษา ธุรกิจ เทรนด์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะเฉพาะของตัวเอง

  1. โซเชียลมีเดีย (Social Media)

เมื่อนักเรียนทุกคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากมาย โซเชียลมีเดียจึงกลายเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ได้อย่างดี สถาบันการศึกษาหลายแห่งเริ่มใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือสื่อสารที่นักเรียนสามารถโต้ตอบกับผู้อื่นได้อย่างง่าย เช่น ใน Facebook นักเรียนสามารถแชร์สื่อการเรียน พูดคุยกับคนอื่น ๆ ในกลุ่ม หรือแสดงความคิดเห็นในโพสต์ของคนอื่นได้ง่าย ๆ การแบ่งปัน และโพสต์วิดิโอที่เป็นความรู้บน YouTube ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึง ค้นหา และแบ่งปันวิดีโอเพื่อการศึกษากับเพื่อน ๆ ได้ หรือการติดตามข่าวสารบน Twitter ที่หลาย ๆ คนทำมานานแล้ว

โซเชียลมีเดียนั้นช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน และการแบ่งปันความรู้ ซึ่งนำไปสู่ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น

  1. สตรีมมิ่ง (Streaming)

โปรแกรม STEAM คือ การพัฒนา EdTech ใหม่ภายใต้โปรแกรม STEM ซึ่งเป็นเทรนด์ของสื่อการสอนสมัยใหม่ โดยนำเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ที่มีความหมายมาใช้ในการแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติและการออกแบบที่สร้างสรรค์

การสตรีมมิ่ง (Streaming) ช่วยสร้างนิสัยความอยากรู้อยากเห็นให้แก่ผู้เรียนมากขึ้น เกี่ยวกับโลกรอบตัวพวกเขา นอกจากนี้ ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน ในการแสดงความคิด และพัฒนาการคิดนอกกรอบ อีกทั้งความสะดวกสบายของการเรียนรู้ ยังช่วยเอื้อให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น

  1. ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ปัจจุบัน AI กำลังมาในตลาด EdTech ของสหรัฐอเมริกา สิ่งแรกและสำคัญที่สุดคือ AI สามารถทำให้กิจกรรมพื้นฐานในการศึกษาเป็นไปโดยอัตโนมัติ เช่น การให้คะแนน ตอนนี้ครูสามารถให้คะแนนคำถามแบบปรนัย และแบบเติมในช่องว่างโดยอัตโนมัติได้แล้ว ดังนั้น การจัดลำดับงานเขียนของนักเรียนแบบอัตโนมัติอาจไม่ล้าหลังนัก

นอกจากนี้ ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้รับประโยชน์จากสื่อการสอน AI ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถรับความช่วยเหลือจากผู้สอน AI เมื่อครูมีงานมากเกินกว่าจะดูแลทุกคนได้ นอกจากนี้ โปรแกรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้เรียนและผู้สอน นั่นเป็นเหตุผลที่โรงเรียนบางแห่งในอเมริกาใช้ระบบ AI เพื่อติดตามความคืบหน้าของนักเรียนและเพื่อเตือนครู เมื่ออาจมีปัญหากับการแสดงของนักเรียน ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ AI จะเป็นผู้ช่วยที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับการสอนในชั้นเรียน

  1. เกมมิฟิเคชัน (Gamification)

หากกำลังมองหาวิธีเปลี่ยนการเรียนรู้ให้เป็นกระบวนการที่สนุกสนาน และมีส่วนร่วมมากขึ้น Gamification เป็นอีกหนึ่งสื่อการสอนที่เหมาะสมที่สุดที่จะสร้าง “แรงจูงใจ” ให้กับผู้เรียน ไม่มีเหตุผลใดที่ผู้เรียนจะไม่มีส่วนร่วมกับการเล่นเกมในห้องเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และฝึกฝนในขณะที่เข้าร่วมกิจกรรมเกมที่น่าตื่นเต้น องค์ประกอบการเล่นเกมช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเป็นบวกสำหรับผู้เรียน

การนำ Gamification มาใช้อาจเหมาะกับผู้เรียนที่ยังเป็นเด็ก เนื่องจากอาจยังมีสมาธิจดจ่อกับการเรียนได้น้อยกว่าเด็กโต และด้วยเนื้อหาที่ไม่ได้เข้มข้นมากนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่จะไม่เหมาะกับ Gamification เพราะหลายคนก็อยากที่จะมีส่วนร่วมในเกม หรือรู้สึกสนุกเมื่อได้คะแนนจากการแข่งขัน เหมือนกับว่าเขาไม่ได้เรียนหนังสืออยู่ ซึ่งนั่นคือการแข่งขันการเรียนรู้กับเพื่อน ๆ และตัวผู้เรียนเอง

จะเห็นว่า เทคโนโลยีได้แทรกซึมเข้าสู่การศึกษา และได้ปรับปรุงกระบวนการสอนและการเรียนรู้ทั้งหมด โดยเฉพาะ E-Learning ซึ่งเป็นสื่อการสอนที่ไม่เพียงเพิ่มการเข้าถึง และความสะดวกในการศึกษาเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ และความปรารถนาของผู้เรียนในการเรียนรู้อีกด้วย 

technology in entertainment

การดึงสื่อยุคใหม่มาใช้ในการเรียนรู้ในบริบทไทยจะตอบโจทย์ต่อการเรียนรู้อย่างยิ่ง

สำหรับการนำสื่อการเรียนรู้เข้ามาใช้ในห้องเรียนเพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ของคนไทยยุคใหม่นั้น ผู้สอนจำเป็นจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของคนยุคใหม่ให้ดีก่อน ดูว่าพวกเขาต้องการอะไรในการเรียนรู้ รวมถึงความพร้อมของผู้เรียนเองด้วย แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ดูว่าผู้สอนจะสามารถประยุกต์ใช้ในการสอนได้อย่างไร 

ในการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขึ้นใช้เองโดยครูผู้สอนนั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะครู ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ถึงความยากง่าย ความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การที่จะผลิตสื่อ ให้มีประสิทธิภาพ ต่อการเรียนรู้นั้นจะต้องมีกระบวนการผลิตที่มีขั้นตอนและมีระบบ เพื่อให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่าต่อการศึกษาสูงสุด ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรพิจารณาปัจจัยเพื่อการผลิตและพัฒนาสื่อดังต่อไปนี้

ปัจจัยทางด้านเนื้อหา

  • สาระเนื้อหามีความซับซ้อน ผู้เรียนมีความเข้าใจแตกต่างกัน
  • สาระเนื้อหาไม่สามารถอธิบายให้เกิดรูปธรรมได้
  • สาระเนื้อหาวิชานั้นมีขั้นตอน มีกระบวนการที่ใช้เวลานาน
  • สาระเนื้อหาวิชานั้นมีขั้นตอน มีกระบวนการที่ใช้เวลารวดเร็วเกินไป
  • สาระเนื้อหาวิชานั้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนที่ผู้เรียนเมื่อเรียนรู้แล้ว มีความสามารถอะไรบ้าง

ปัจจัยทางด้านการผลิต

  • เลือกประเภทหรือรูปแบบของสื่อที่จะผลิต : อาทิ ชุดการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิดีทัศน์
  • ความพร้อมด้านสาระเนื้อหา
  • ความพร้อมด้านเครื่องมือ และเทคโนโลยี
  • ความพร้อมด้านผู้ผลิต/พัฒนา : อาทิ ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ นักวัดผล ช่างเทคนิค
  • ความพร้อมด้านแผนการผลิต : ความเหมาะสมต่อวัยของการเรียนรู้ ลำดับขั้นตอนการสร้าง กระบวนการถ่ายทอดเนื้อหา การตรึงพฤติกรรม กิจกรรมการเรียนรู้
  • ความพร้อมด้านงบประมาณ

ปัจจัยด้านการนำไปใช้งาน

  • ความพร้อมของเครื่องมือ และเทคโนโลยีในการเรียนรู้
  • อุปกรณ์ เครื่องมือที่นำมาใช้ประกอบการเรียนรู้
  • ความพร้อมของสภาพแวดล้อม 
  • เสียง แสง
  • ความพร้อมของผู้เรียนและครูผู้สอน

ปัจจัยทางด้านการเรียนรู้

  • ลักษณะเฉพาะการเรียนรู้ของตัวสื่อ 
  • เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือควบคุมพฤติกรรม/ลำดับเนื้อหาโดยครูผู้สอน
  • วิธีการใช้งาน 
  • ความ ยาก ง่าย การใช้ประกอบกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นของการใช้สื่อ
  • กระบวนการเรียนรู้ การเข้าถึงและการถ่ายทอดเนื้อหา
  • การซึมซับความรู้
  • การตรึงพฤติกรรมต่อการเรียนรู้

จากนั้นก็ทำการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดมาใช้เป็นสื่อในการสอน และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยติดตามผล ว่าสื่อเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่อผู้เรียนมากแค่ไหน โดยควรจะมีการประเมินการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ว่า มีข้อบกพร่อง หรือส่วนใดที่ควรปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ดำเนินการวางแผนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป 

จากนั้นก็ทำการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดมาใช้เป็นสื่อในการสอน และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยติดตามผล ว่าสื่อเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่อผู้เรียนมากแค่ไหน พร้อมทั้งแก้ไขให้ดี

ที่มา :

https://สื่อการสอนฟรี.com/สื่อการเรียนการสอน-คืออ/

https://www.tot.co.th/sme-tips/SME-tips/2020/06/19/5-สื่อการเรียนรู้สำหรับคนยุคใหม่-ควรเรียนจากสื่อไหนบ้าง