รู้จักห้องสมุดออนไลน์ E-Library คลังความรู้ยุคดิจิทัลที่ทันสมัย

รู้จักห้องสมุดออนไลน์ E-Library คลังความรู้ยุคดิจิทัลที่ทันสมัย

เมื่อเราต้องการสืบค้นข้อมูล ค้นคว้าหาความรู้ อ่านหนังสือ หรือศึกษาวิจัย สิ่งแรกที่เราจะนึกถึงก็คงหนีไม่พ้นคำว่า ‘ห้องสมุด’ ศูนย์กลางของข้อมูลสารสนเทศ แหล่งรวบรวมข้อมูลมากมายมหาศาลที่เป็นดั่งคลังความรู้ของเหล่าประชาชน 

แต่ในยุคดิจิทัลนี้ผู้คนสามารถเข้าถึงความรู้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลาทุกสถานที่ผ่านอินเทอร์เน็ตที่ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก ทำให้ความต้องการที่จะพึ่งพาสารสนเทศจากห้องสมุดเริ่มลดลงตามมาไปทุกที

ห้องสมุดออนไลน์คืออะไร?

ห้องสมุดออนไลน์ หรือ E-Library ย่อมาจากคำว่า Electronic Library คือ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแหล่งความรู้สำหรับการบันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่าย มีความแตกต่างกับห้องสมุดทั่วไปในการให้บริการบางประการ เช่น ห้องสมุดดิจิทัลมีการบริการเนื้อหาข้อมูลโดยตรง เป็นห้องสมุดเสมือนที่เน้นการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่งไว้ด้วยกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานที่ในการจัดเก็บนั่นเอง

ความรู้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดอย่างเดียว

การเข้าถึงทรัพยากรที่เป็นแหล่งความรู้บนโลกออนไลน์ ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นสิ่งที่สังคมเรานั้นยอมรับ แน่นอนว่า การเข้าถึงความรู้เหล่านั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดเพียงอย่างเดียว เพราะการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตที่มีการแพร่หลายมาก ทำให้ทรัพยากรเนื้อหา แหล่งความรู้ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการแสวงหาความรู้ด้วย เพราะคนไม่จำเป็นต้องเดินเข้ามาในพื้นที่กายภาพ ใช้เพียงแค่อุปกรณ์พวกสมาร์ทดีไวซ์ การคลิก การเสิร์ช ก็สามารถเข้าถึงความรู้ที่มีอยู่อย่างมหาศาลในโลกไซเบอร์ได้แล้วเพียงปลายนิ้วสัมผัส

การประยุกต์ใช้ E-Library ตอบโจทย์การศึกษาในยุคปัจจุบัน

“การศึกษา คือ ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนประเทศ

ให้มีการเติบโตและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง”

สำหรับการศึกษาเพื่อสังคมปัจจุบันนั้น ถ้ามองการเตรียมคนเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมโลกทั่วไป คนทุกคนจะต้องมีความสามารถหาความรู้ด้วยตนเองได้ สามารถใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันได้ 

ความทันสมัยที่เพิ่มเข้ามา เทคโนโลยีที่ขยายกว้าง ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก สังคมกับกลายเป็นสังคมฐานความรู้ คนที่มีความรู้ดี มีความรู้ทันสมัยมักจะได้เปรียบกว่าคนอื่นเสมอ 

ฉะนั้น การหาความรู้อยู่เสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็นต่อสถาบันศึกษาเป็นอย่างมาก 

เนื้อหาสาระความรู้จะเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา การสอนจึงจำเป็นต้องสอนให้รู้วิธีหาความรู้ สอนให้รักการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และก็หนีไม่พ้นอีกเช่นเคยที่เครื่องมือในการหาความรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษา 

การศึกษาในปัจจุบันไปจนถึงการศึกษาในอนาคตจะปรับเปลี่ยนไปสู่ห้องเรียนเสมือน  (Virtual Classroom) ซึ่งหมายถึง การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ที่ออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายกับเรียนในห้องเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียนโดยมีบรรยากาศเสมือนพบกันจริง กระบวนการเรียนการสอนจึงไม่ใช่การเดินทางไปเรียนในห้องเรียน แต่เป็นการเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาของบทเรียนได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์

ห้องสมุดออนไลน์ในประเทศไทย

 

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ >> http://www.lib.ku.ac.th      

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น >> http://www.library.kku.ac.th

ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย >> http://www.car.chula.ac.th

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ >> http://library.cmu.ac.th

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ >> http://lib.tsu.ac.th

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ >> http://library.tu.ac.th

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร >> http://www.lib.nu.ac.th

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา >> http://www.lib.buu.ac.th

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม >> http://www.library.msu.ac.th

หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล >> http://www.li.mahidol.ac.th

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง >> http://www.lib.ru.ac.th

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง >> http://www.lib.ru.ac.th/trang

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร >> http://lib.swu.ac.th

หอสมุดสาขาวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร >> http://www.thapra.lib.su.ac.th

หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร >> http://www.snamcn.lib.su.ac.th

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี >> http://tanee.psu.ac.th

สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ >> http://www.clib.psu.ac.th

สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช >> https://library.stou.ac.th/

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี >> http://lib.ubu.ac.th

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ >> http://library.kmutnb.ac.th

สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง >> http://www.lib.kmitl.ac.th 

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี >> http://www.lib.kmutt.ac.th

สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ >> http://library.nida.ac.th

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ >> http://clm.wu.ac.th

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี >> http://library.sut.ac.th

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ >> http://www.library.mju.ac.th

  

ห้องสมุดออนไลน์ในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน


สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ >> http://library.bu.ac.th

ห้องสมุด มหาวิทยาลัยเอแบค >> http://library.au.ac.th

หอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม >> http://library.spu.ac.th

หอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ >> http://lib.payap.ac.th

 

ห้องสมุดออนไลน์ในโรงเรียน


Digital Library for SchoolNet >> http://www.school.net.th/library/

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ – ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน >> http://elibrary.nfe.go.th/

ห้องสมุดโรงเรียนสวนกุหลาบ >> http://library.sk.ac.th

ห้องสมุดโรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล >> http://sglib.cjb.net

ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี >>  http://www.act.ac.th/service/lib/index.html

 

ห้องสมุดออนไลน์อื่นๆ ที่น่าสนใจ


หอสมุดแห่งชาติ >> http://www.nlt.go.th

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ศาลยุติธรรม >> http://www.library.coj.go.th

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงพลังงาน >> http://elibrary.energy.go.th

ห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม >> http://library.tisi.go.th

ห้องสมุดสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) >> http://elibrary.trf.or.th

ห้องสมุดและจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย >> http://www.bot.or.th/Thai/LibraryAndArchives 

ห้องสมุดรัฐสภา >> http://www.parliament.go.th/library

ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย >> http://www.maruey.com

ห้องสมุดธรรมะ มูลนิธิบ้านอารีย์ >> http://www.baanaree.net

ห้องสมุดธรรมะออนไลน์ >> http://www.dhammaonlinelibrary.com

ห้องสมุดไทย >> http://www.thailibrary.co.cc

ห้องสมุดทีเคออนไลน์ – TK park >> http://www.tkpark.or.th/tk

ห้องสมุดดาราศาสตร์ – สมาคมดาราศาสตร์ไทย >> http://thaiastro.nectec.or.th/library/library.html

ห้องสมุดงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) >> http://www.riclib.nrct.go.th

ห้องสมุดความรู้การเกษตร – กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ >> http://www.doae.go.th/library

ห้องสมุดความรู้ -โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา >> http://web.ku.ac.th/nk40/nk/lib

ห้องสมุดการ์ตูน แอนิเมชั่น สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก >> http://www.cartoonthai.in.th/library.html

ห้องสมุดกองบัญชาการกองทัพบก >> http://library.rta.mi.th

ห้องสมุดกรมทรัพย์สินทางปัญญา >> http://www.ipthailand.go.th/ipl/

ห้องสมุดกฎหมาย สำนักงานกรรมการกฤษฎีกา >> http://www.krisdika.go.th

ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข >> http://elib.fda.moph.go.th/library 


ห้องสมุดออนไลน์ในต่างประเทศ


American Library Association (ALA) >> http://www.ala.org

Bodleian Library >> http://www.bodleian.ox.ac.uk

British Library >> http://www.bl.uk/

Catherwood Library >> http://www.ilr.cornell.edu/library

Directory of USA Academic Libraries >> http://www.lib-web.org/Academic_main.html

Duke University Libraries >> http://library.duke.edu

Library of Congress >> http://www.loc.gov

Libraries on the Web USA Special >> http://www.lib-web.org/usa-special.html

OhioLINK Central Catalog menu >> http://olc1.ohiolink.edu

Public Libraries >> http://www.publiclibraries.com

Regional Consortia >> http://www.officialusa.com/stateguides/libraries/

State Libraries >> http://www.publiclibraries.com/state_library.htm

The Library of America >> http://www.loa.org

UT Library Online >> http://www.lib.utexas.edu

World’s Libraries >> http://www.studyweb.com/library

Australia and New Zealand >> http://www.caul.edu.au/caul-programs/ulanz

Canadian Studies >> http://guides.lib.berkeley.edu/sb.php?subject_id=4498

East Asian Library >> http://www.lib.berkeley.edu/EAL/

European >> http://www.lib.berkeley.edu/doemoff/govinfo/intl/gov_eu.html

Latin America: Mexico, the Caribbean, South America >> http://www.lib.berkeley.edu/MRC/LatinAmVid.html

Middle East and North African Studies (MENA) >> http://guides.lib.berkeley.edu/sb.php?subject_id=4493

South Asia, South East Asia >> http://www.lib.berkeley.edu/SSEAL/


รู้จักห้องสมุดออนไลน์ E-Library คลังความรู้ยุคดิจิทัลที่ทันสมัย

Hibrary ห้องสมุดออนไลน์สุดเจ๋งของไทย พร้อมให้บริการในรูปแบบ Interactive 

ไฮบรารี่ (Hibrary) ระบบห้องสมุดออนไลน์องค์กร (E-library) ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทย ถูกจัดทำขึ้นมาเพื่อตอบสนองการใช้งานและการให้บริการห้องสมุดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพแก่เหล่าประชาชนในทุกรุ่นทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น ‘เด็ก’ หรือ ‘ผู้ใหญ่’ ก็สามารถเข้าใช้งานได้ .

Hibrary พัฒนาขึ้นจากการศึกษาปัญหาของระบบห้องสมุดออนไลน์ที่มีอยู่ โดยพบว่าส่วนใหญ่ประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการ การใช้งาน และงบประมาณที่มีอยู่ ซึ่งมากกว่า 75% ขององค์กรส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้ทรัพยากรที่ซื้อหรือพัฒนามาอย่างคุ้มค่าและต่อเนื่อง ทั้งที่ใช้งบประมาณเยอะตั้งแต่ 5 แสน – 3 ล้านบาท ในการพัฒนาระบบห้องสมุดออนไลน์ แต่เหลืองบประมาณในการซื้อหนังสืออีบุ๊กที่เป็นทรัพยากรสำคัญเพียง 10 – 20% เท่านั้น

ทำให้ E-book ในระบบนั้นน้อยเกินไป ไม่มี E-book ใหม่เพิ่มเติมในแต่ละเดือน และไม่เป็นที่น่าสนใจของผู้ใช้งาน หรือบางครั้งหนังสือที่มีอยู่ก็ไม่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานส่งผลให้ยอดการใช้งานใน E-library ไม่เติบโตอย่างที่ควร บางองค์กรมียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันไม่ถึง 100 ครั้ง ซึ่งสวนทางกับจำนวนบุคคลกร หรืองบประมาณที่ลงทุนไป

ด้วยเหตุนี้เอง จุดเด่นของ Hibrary จึงอยู่ที่การสร้างระบบการบริหารงาน การให้บริการและการใช้งาน ที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 

Hibrary มีการปรับปรุงระบบผ่านมุมมอง 3 ด้าน คือ 

  • ด้านองค์กร – ต้องไม่ใช่งบเยอะในการพัฒนาระบบแต่ให้ความสำคัญกับอีบุ๊ก หรือทรัพยากรที่จะจัดหาเข้ามาให้บริการกับบุคลากรในสังกัด มีระบบบริหารจัดการห้องสมุดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ลดภาระงานของบุคลากร และมีระบบเก็บข้อมูลในเชิงสถิติเพื่อวัดผลความคุ้มค่าของอีบุ๊กที่ให้บริการ
  • ด้านสำนักพิมพ์ – การช่วยหาโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์ เช่น รูปแบบการขายแบบรายปี หรือแบบใช้งานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งเสริมให้ทางสำนักพิมพ์นำเนื้อหาใหม่ ๆ หรือหนังสือขายดี มาให้บริการห้องสมุดออนไลน์ โดยที่ทางสำนักพิมพ์สามารถตรวจสอบได้ว่า สิทธิ์การใช้งานของแต่ละองค์กรเป็นอย่างไร มีระยะเวลาการใช้งานเหลืออยู่เท่าไร ภายใต้ระบบการจัดการลิขสิทธิ์ (DRM) ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
  • ด้านผู้อ่าน – ที่ทางไฮบรารี่พัฒนาระบบห้องสมุดออนไลน์ด้วยการจัดทำแอปพลิเคชันที่เข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย และมีฟีเจอร์ที่ออกแบบสวยงาม คำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก มีระบบรองรับไฟล์ทั้งไฟล์ PDF หรือ E-PUB ครบตามมาตรฐาน โดยที่ไฟล์ E-PUB รองรับการอ่านออกเสียง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานที่มีปัญหาในการอ่านเข้าถึงได้ และรองรับใช้งานทั้งระบบ IOS, แอนดรอยด์ หรือผ่านเว็บไซต์

รู้จักห้องสมุดออนไลน์ E-Library คลังความรู้ยุคดิจิทัลที่ทันสมัย

“Libby” by Overdrive ห้องสมุดออนไลน์ต่างประเทศใช้งานได้ทั่วโลก

แอปพลิเคชัน “Libby” by Overdrive แหล่งบริการข้อมูลรูปแบบห้องสมุดออนไลน์ภาษาต่างประเทศบนโทรศัพท์มือถือ, แท็ปเล็ต, คอมพิวเตอร์ เป็นระบบการยืมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาอังกฤษ (eBooks), หนังสือเสียงภาษาอังกฤษ (Audiobooks) จากห้องสมุดสาธารณะ ความพิเศษของแอปพลิเคชันนี้คือ ใครที่อยากอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ หรือ ฟังหนังสือเสียงภาษาอังกฤษ สามารถใช้งานได้ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีให้เลือกหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็น Fiction / Non-Fiction / Literature / YA / Fantasy / Romance / Mystery / Historical Fiction / Self-Improvement

เรียกได้ว่าตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เน้นความสะดวกสบาย เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว บวกกับการพกพาห้องสมุดติดตัวไปได้ทุกที่ ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็สามารถหยิบอ่านได้ต่อให้ออฟไลน์อยู่ก็ตาม ติดตั้งฟรี พร้อมรองรับระบบ iOS / Android / Windows OS

ที่มา: 

https://sites.google.com/view/cblibrary2020/รวมเวบไซตหองสมดในประเทศไทย 

https://www.thestorythailand.com/12/03/2022/58306/

https://intrend.trueid.net/article/แอพดี-บอกต่อ-libby-ห้องสมุดขนาดพกพา-trueidintrend_47348