อยากมีหนังสือของตัวเอง ต้องมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง ?

อยากมีหนังสือของตัวเอง ต้องมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง

อยากมีหนังสือของตัวเอง ต้องมีความรู้อะไรบ้าง?

 
การมีหนังสือสัก 1 เล่ม อาจเป็นสิ่งที่หลายคนคิดว่า ‘ยาก’ ถ้าหากไม่มีความรู้ในเรื่องการเขียน การผลิต การออกแบบ หรือโครงสร้าง องค์ประกอบทั้งหมดของการจัดทำขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ‘นักเขียนหน้าใหม่’
 
ทั้งนี้ หนังสือก็มีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายแนวเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็น หนังสือนิยาย หนังสือการ์ตูน เรื่องสั้น บทความ หรือการเขียนหนังสืออื่น ๆ ทำให้บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า จะต้องเริ่มต้นอย่างไร ? และมีขั้นตอนอะไรบ้าง ? ถึงจะออกมาเป็นหนังสือ 1 เล่มได้ อีกอย่างเป้าหมายของการเขียนหนังสือนั้นก็มีหลายรูปแบบ เช่น เขียนเป็นงานอดิเรก เขียนเพื่อแบ่งปัน หรือ เขียนเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ซึ่งก็อยู่ที่ว่าเรานั้นอยากทำแบบไหน…


ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูว่า ถ้าเราอยากมีหนังสือของตัวเอง ต้องมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง ? ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย…

อยากมีหนังสือเป็นของตัวเองสักเล่ม ต้องทำอย่างไร มีกี่ขั้นตอน

 

 

เป็นนักเขียนหน้าใหม่ที่อยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง ต้องทำตามนี้

 

1. เลือกอ่านหนังสือเล่มที่ชอบ

ข้อแรกนี้ เป็นขั้นเริ่มต้นของนักเขียนทุกท่าน การรู้จักเลือกหาหนังสือเล่มที่ชอบมาอ่าน เป็นเหมือนการทำความเข้าใจ สังเกต เก็บข้อมูล และดูวิธีการเขียนหนังสือของผู้เขียน ซึ่งถือเป็นวิธีการแรกสุดของการเริ่มต้นหัดเขียน เมื่อเราอ่านและจับสังเกตได้ว่า เขามีวิธีการเขียนอย่างไร เขาเลือกใช้คำแบบไหน เขาเริ่มต้นอย่างไร เขาลงท้ายอย่างไร เราก็สามารถนำมาเป็นไกด์สำหรับการเริ่มต้นเขียนของเราได้เช่นกัน

 

2. จับจุดหาสิ่งที่อยากเขียน

เราต้องถามตัวเองให้ดีว่า สิ่งที่อยากเขียนคืออะไร อยากเขียนแนวไหน ซึ่งในการเขียนหนังสือแต่ละแนว เราก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนแบบนั้น ๆ ด้วย เช่น เขียนเรื่องสั้น ต้องมีโครงเรื่อง ตัวละคร รู้จักวิธีการเล่าเรื่อง มีประเด็นที่จะเขียน คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป องค์ประกอบเป็นเกณฑ์นำทางในการเริ่มต้นเขียน

 

3. หัวข้อที่จะเขียน

เมื่อรู้แล้วว่า จะเขียนอะไร แนวไหน ก็ให้หาประเด็น หาหัวข้อที่จะเขียน โดยหัวใจสำคัญอยู่ที่ ต้องกำหนดโจทย์ในการเขียนให้ตัวเอง เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะไม่ยอมเขียน

 

4. เขียนแล้วอ่านออกเสียง

เพราะมือใหม่เริ่มหัดเขียน อาจไม่ค่อยมั่นใจว่าสิ่งที่ตัวเองเขียนนั้นดีหรือไม่ ดังนั้น อันดับแรกคือเราต้องเขียนให้ตัวเราเองอ่านแล้วพอใจก่อน ซึ่งวิธีการก็คือ ให้เราเขียนไปตามความรู้สึก เขียนแบบเพื่อสื่อสารข้อความให้เข้าใจ อย่าเพิ่งไปกังวลกับสำนวนหรือความสวยงามของภาษามากนัก เราคิดอย่างไร ก็เขียนอย่างนั้น เราพูดอย่างไร ก็เขียนอย่างนั้น เมื่อเขียนจบ ให้ลองอ่านออกเสียง และฟังสิ่งที่เราเขียนไป จะทำให้เราเริ่มจับได้ว่า ตรงไหนติดขัด ตรงไหนไม่ลื่นไหล ตรงไหนสะดุด แล้วก็ค่อย ๆ เกลา แต่งเติมไปทีละนิด

 

5. แบ่งปันงานเขียน

อย่าเก็บเอาไว้อ่านคนเดียวเด็ดขาด เพราะคุณค่าของนักเขียนนั้น ก็เกิดจากการมีคนอ่านทั้งสิ้น ดังนั้น อย่าอาย อย่ากลัว และเปิดใจยอมรับทุกคำติชม เพราะไม่มีทางที่งานเขียนของเราจะไม่ถูกวิจารณ์ แต่ในการถูกวิจารณ์ก็จะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเอง พัฒนางานเขียนของเราให้ดีขึ้นไปอีก

 

6. เขียนอย่างสม่ำเสมอ

การมีวินัย ความสม่ำเสมอในการเขียน จะทำให้เราเขียนเก่งขึ้น ไวขึ้น คมขึ้น และการมีงานเขียนส่งไปให้ผู้อ่านทุกวันสม่ำเสมอ คือ สิ่งที่จะทำให้ผู้คนเข้าใจเรามากขึ้น ยอมรับเรามากขึ้น และชื่นชอบผลงานของเรามากขึ้น ซึ่งการเป็นนักเขียน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก คือ การคิดและการเขียน ทั้งนี้ความขยันเขียนและพัฒนาตัวเอง จะทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ

อยากมีหนังสือเป็นของตัวเองสักเล่ม ต้องทำอย่างไร มีกี่ขั้นตอน

 

ขั้นตอนการทำหนังสือตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นสุดท้าย

 

1.วางโครงเรื่อง

คือ หัวใจหลักของงานทุกชนิด นั่นก็เพื่อเป็นการกำหนดจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดหมาย เราต้องรู้ว่า เรื่องของเราจะเริ่มยังไง ? จบยังไง ? คิดไว้ก่อนคร่าว ๆ

วิธีการก็คือเขียนออกมาแบบคร่าว ๆ ให้พอรู้ว่าประมาณไหน จากนั้นก็เริ่มทำการเขียนเนื้อเรื่องตามโครงเรื่องที่เราวางไว้ได้เลย

2.Re-Write

หลังจากพิมพ์เนื้อหาทุกอย่างเสร็จแล้ว ให้กลับไปอ่านเรื่องที่เขียน ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย เพื่อหาดูว่า มีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง เช่น สำนวน การสะกด วรรคตอน ย่อหน้า เป็นต้น เมื่อรู้ว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหนก็ค่อย ๆ แก้ไข

แต่การ Re Write รอบเดียวอาจจะไม่ครบถ้วน ดังนั้น จึงควรอ่านอย่างน้อย 3 – 5 รอบ เพื่อให้ไม่เจอข้อผิดพลาดอีก

3.ส่งให้บรรณาธิการ

บรรณาธิการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบต้นฉบับของนักเขียน ซึ่งบรรณาธิการจะทำหน้าที่แก้ไข แนะนำสิ่งที่สมควรต่าง ๆ จากนั้นต้นฉบับที่ถูกแก้ไขแล้วจะถูกปริ้นท์ใส่กระดาษ A4 เพื่อส่งกลับมาที่นักเขียนอีกครั้ง โดยระยะเวลาที่บรรณาธิการตรวจสอบประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หรือตามเวลาที่ตกลงกัน 

4.Edit

เป็นการ Re Write โดยนักเขียน ซึ่งตรงกระบวนการนี้ ต้นฉบับของนักเขียนจะเหลือข้อผิดพลาดน้อยมาก นักเขียนจะได้ต้นฉบับมาดูอีกครั้งเพื่อตรวจว่ามีอะไรตกหล่นหรือไม่ ? และตรงนี้บรรณาธิการส่วนใหญ่จะแจ้งมาว่า ขอแก้ตรงนี้ ขอแนะนำตรงนี้ มีข้อสงสัยตรงนี้ นักเขียนก็ปรับตามความเหมาะสม นอกจากการตรวจตราและแก้ไขแล้ว นักเขียนยังสามารถเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องได้ด้วย

5.ส่งกลับไปให้บรรณาธิการ

การส่งกลับไปให้บรรณาธิการครั้งนี้ เพื่อตรวจดูสิ่งที่เราแก้ไขอีกครั้ง ว่าถูกต้องหรือต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า

6.ส่งกลับไปยังนักเขียน

การส่งกลับไปยังนักเขียนครั้งนี้ เพื่อเป็นตรวจสอบความถูกต้องครั้งสุดท้าย ซึ่งตรงนี้จะไม่ค่อยมีการแก้ไขอะไรแล้ว โดยผลงานจะสมบูรณ์ไปแล้ว 95% ดังนั้น นักเขียนแค่ตรวจดูความละเอียดของเนื้อเรื่องเท่านั้น เมื่อตรวจเสร็จก็ส่งต้นฉบับกลับไปที่บรรณาธิการ และจะกลายเป็น ต้นฉบับ 100%

7.จัดหน้ากระดาษ

หลังจากที่ ต้นฉบับ A4 ถูกตรวจสอบครบถ้วนแล้ว จะมีทีมงานฝ่ายบรรณาธิการทำหน้าที่จัดการกับหน้ากระดาษให้เป็นไปตามโครงสร้างของรูปแบบที่เราตั้งใจจะจัดทำออกมา ตรงนี้จะมีการกำหนดรูปแบบของหนังสือด้วยว่า ขอบบน ขอบล่าง ด้านข้างทั้งสอง เว้นเท่าไหร่ ? ตัวหนังสือแบบไหน ? ไซส์อะไร ? ขนาดช่องไฟ ช่องว่างการเว้นบรรทัดเท่าไหร่ ? การย่อหน้าเท่าไหร่ ? หลังจากจัดหน้ากระดาษแล้ว ส่วนมากนักเขียนจะได้ดูอีกรอบ เพื่อตรวจว่าเขาจัดการถูกต้องไหม ? นั่นเอง

8.เข้ารูปเล่ม

หลังจากที่ต้นฉบับถูกพิมพ์เพลทออกมาเรียบร้อย ก็จะเอาต้นฉบับพวกนี้ไปเข้ารูปเล่มแบบที่ทางทีมบรรณาธิการแนะนำ และเมื่อเสร็จการเข้ารูปเล่ม ต้นฉบับของนักเขียนก็จะกลายเป็นผลงาน

อยากมีหนังสือเป็นของตัวเองสักเล่ม ต้องทำอย่างไร มีกี่ขั้นตอน

 

ต้นทุนการผลิตหนังสือ 1 เล่ม

ต้นทุนการผลิตหนังสือหนึ่งเล่มนั้น มีกระบวนการหลายขั้นตอน หากไม่ได้อยู่ในแวดวงการก็ไม่มีทางรู้ว่า หนังสือแต่ละเล่มที่วางขายอยู่บนแผงหนังสือนั้น มีต้นทุนในการผลิตเท่าไหร่ ? ซึ่งต้นทุนที่นักเขียนต้องรู้นั้นมี ดังนี้

1.ค่าลิขสิทธิ์ของนักเขียน

ทุกงานเขียนจะต้องถูกเขียนโดนนักเขียน ทางสำนักพิมพ์จะต้องลงทุนในค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งค่าลิขสิทธิ์นี้จะขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างสำนักพิมพ์และนักเขียน

2.ค่าจ้างออกแบบกราฟิกดีไซน์

ภาพปกของหนังสือที่สวยงาม เป็นผลงานการออกแบบของนักออกแบบมืออาชีพ ที่สร้างสรรค์งานออกมาเป็นปกหนังสือและกราฟิกต่าง ๆ ในหนังสือ

3.ค่าบรรณาธิการ และพนักงานในสายการผลิต

การทำหนังสือ 1 เล่มจะต้องมีบรรณาธิการ และเจ้าหน้าที่ในการพิสูจน์อักษร รวมไปถึงการจัดเรียงหน้าต่าง ๆ ของหนังสือเพื่อให้หนังสือเล่มหนึ่งน่าอ่านก่อนที่จะพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม

4.ค่าวัตถุดิบในการจัดทำ

ค่าจัดทำวัตถุดิบต่าง ๆ กระดาษ ค่าประกอบเล่ม ค่าพิมพ์ต่างๆ

5.ค่าฝากขายในร้าน

หนังสือขายส่ง ต้นทุนค่าฝากขายร้านนับว่าเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของการพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งเลย เพราะร้านหนังสือและสายส่งจะคิดราคาตรงนี้อยู่ที่ 40% ของราคาปก ซึ่งทางสำนักพิมพ์จะเป็นผู้แบกรับค่าใช้จ่ายตรงจุดนี้

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นต้นทุนต่อการผลิตหนังสือหนึ่งเล่ม เราจะเห็นได้ว่าการผลิตหนังสือหนึ่งเล่มนั้นทางสำนักพิมพ์จะมีกำไรไม่มากเท่าไหร่

ต้นทุนการผลิต E-book นั้นประหยัดกว่าหนังสือเล่มมาก เมื่อเทียบกับการจัดทำในรูปแบบการพิมพ์แบบกระดาษ เพราะต้นทุนที่ต้องจ่ายในการผลิต เกี่ยวกับค่าวัตถุดิบกระดาษ ค่าพิมพ์ ค่าเข้าเล่มต่าง ๆ นั้น จะถูกนำมาใช้สำหรับการจัดทำลงระบบ E-book แพลตฟอร์มออนไลน์แทน และจุดแข็งอย่างหนึ่ง คือ การที่เข้าถึงหนังสือได้พร้อมกันในเวลาเดียวกันจากอุปกรณ์ที่หลากหลาย

และนี่คือทั้งหมดที่ นักเขียน ต้องมีความรู้ กว่านักเขียนจะมีหนังสือเป็นของตัวเองได้ 1 เล่มนั้น บอกเลยว่าไม่ใช้เรื่องง่าย ๆ เลยที่จะมีหนังสือเป็นของตัวเองได้

สุดท้ายนี้ หากนักเขียนท่านไหนอยากทำหนังสือตัวอย่าง หรือ demo เพื่อเสนอ บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด ยินดีให้บริการออกแบบและรับพิมพ์หนังสือทุกรูปแบบ โดยไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำ เพียง 1 เล่มก็สามารถพิมพ์ได้ เราพร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำ และรับประกันงานพิมพ์คุณภาพ สวยงาม ไม่เหมือนใคร ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัย พร้อมกับทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์ที่รวดเร็วและตรงต่อเวลา

ที่มา:

webcache.googleusercontent.com

jampay.in.th

praphansarn.co

Online Marketing การตลาดออนไลน์ ที่ไม่มีเอาท์ในยุคดิจิทัล

Online Marketing การตลาดออนไลน์ ที่ไม่มีเอาท์ในยุคดิจิทัล

Online Marketing การตลาดออนไลน์ ที่ไม่มีเอาท์ในยุคดิจิทัล

 

ในสังคมที่โลกออนไลน์กำลังเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อออนไลน์ ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อเราในทุกขณะของชีวิต ตั้งแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งเข้านอน สำคัญไปยิ่งกว่านั้นความรวดเร็วและความสะดวกสบายของโลกออนไลน์ยังถูกนำมาใช้ประโยชน์กับกลุ่มคนทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้ 

การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง เนื่องจากการตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน มีช่องทางหลากหลายเพิ่มมากขึ้นและมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การตลาดออนไลน์ คืออะไร…

การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คืออะไร ?

การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คือ การทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เช่น โฆษณา Facebook, โฆษณา Google, โฆษณา Youtube, โฆษณา Instagram โดยที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะใช้วิธีต่าง ๆ ในการโฆษณาเว็บไซต์ หรือ โฆษณาขายสินค้าที่จะนำสินค้าของเราไปเผยแพร่ตามสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้และเกิดความสนใจ จนกระทั่งเข้ามาใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเราในที่สุด โดยการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) สามารถทำได้หลายช่องทาง ดังนี้

ภาพถ่ายฟรีของ การตลาดดิจิทัล

ช่องทางการทำการตลาดออนไลน์ให้อยู่รอด

Search Engine Marketing คือ การตลาดออนไลน์บน Search Engine เป็นการทำให้สินค้าของเราติดอันดับการค้นหาในลำดับแรก ๆ ซึ่งจะทำให้เราถูกค้นพบได้ง่ายและถูกคลิกได้บ่อยกว่าเว็บไซต์ที่อยู่ด้านล่างหรืออยู่ในหน้าถัดไป แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • SEO (การทำเว็บไซต์ของเราให้ติดอันดับของ Google) 
  • PPC (การซื้อ Ads บน Google) 

Email Marketing คือ การตลาดออนไลน์ที่ทำผ่านอีเมล มีขึ้นมาเพื่อส่งข่าวสาร โปรโมชันต่าง ๆ ถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เป็นการตลาดที่ต้นทุนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับการตลาดในรูปแบบอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นการตลาดออนไลน์ที่ตรงกลุ่ม และสามารถเข้าถึงผู้รับภายในเวลาอันรวดเร็วได้

Social Marketing คือ การตลาดออนไลน์ที่ทำผ่าน Social Network ต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter, Instagram, Pinterest, Tiktok, ฯลฯ ซึ่ง Social Marketing กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีสถิติการใช้งานสูงกว่าแหล่งออนไลน์ประเภทอื่น

marketing

5 องค์ประกอบสำคัญของการตลาดออนไลน์ ที่ไม่ควรมองข้าม

การจะทำการตลาดออนไลน์ให้ตอบโจทย์และสามารถสร้างตัวตนของบริการหรือผลิตภัณฑ์เราขึ้นมาได้ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ 

1. สินค้าต้องมีคุณภาพ  

แน่นอนว่าองค์ประกอบข้อนี้สำคัญที่สุด คือ สินค้าต้องมีคุณภาพ เพราะหากนำสินค้าที่ด้อยคุณภาพมาวางขาย ไม่ว่าคุณจะทำการตลาดด้วยเทคนิคและกลยุทธ์ใด ๆ ก็ตาม ผู้ใช้งานจะไม่พึงพอใจ หรือหากสินค้าเกิดการเสียหายขึ้นจะส่งผลต่อภาพลักษณ์และทำให้ธุรกิจของคุณดูแย่ลงในสายตาของคนทั่วไป 

ยกเว้นเสียแต่ว่าสินค้าที่นำไปใช้งานนั้นเกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิค ธุรกิจต้องรับผิดชอบโดยการสร้างบริการหลังการขาย เพื่อเสนอทางเลือกใหม่หรือทำการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่นั่นเอง

 2. คอนเทนต์ดี

การสื่อสารถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในยุคนี้ และการสื่อสารที่ดี คือ ผู้รับสารต้องเข้าใจความหมายของสารที่ต้องการสื่ออย่างชัดเจน อธิบายรายละเอียดอย่างตรงไปตรงมา ไม่เกิดข้อสงสัยขึ้นหลังจากที่ได้รับสารนั้น ๆ แล้ว เช่นเดียวกันสำหรับการทำการตลาดออนไลน์นั้น Content ที่ดี ก็เปรียบเสมือนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์ Content ที่ดีอยู่เสมอ และไม่หยุดที่จะสร้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้บริโภครับรู้ 

 3. ฐานข้อมูลลูกค้าสำคัญ

ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ ก็ตามแต่ การมีฐานข้อมูลของลูกค้าเปรียบเสมือนการมีขุมทรัพย์มหาศาลที่ช่วยให้สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ และการมีฐานข้อมูลของลูกค้าในปริมาณมากนั้นจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ เลย หากไม่นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนหรือรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าในแต่ละบุคคล ความชอบ หรือไม่ชอบ ตลอดจนช่วงเวลาในการซื้อสินค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ การนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์จะทำให้สามารถคาดการณ์หรือพยากรณ์แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ และช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนหรือวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้นั่นเอง

 4. แผนสำรอง

การทำธุรกิจที่ดีควรมีแผนสำรองเตรียมไว้เสมอ นั่นก็เพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และสามารถช่วยลดความเสี่ยงในอนาคตได้เป็นอย่างดี ซึ่งในความเป็นจริงเราไม่มีทางรู้หรอกว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น แม้แผนการที่เราเตรียมไว้จะรัดกุมและรอบคอบมากแค่ไหน หรือคิดว่ามันดีที่สุดในตอนนี้ ‘แต่อนาคต คือ สิ่งที่ไม่แน่นอน’ อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในทางบวกและทางลบ 

ดังนั้น การมีแผนสำรองเตรียมไว้จึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ไม่ควรมีช่องทางการติดต่อแค่ช่องทางเดียวเท่านั้น ควรเพิ่มช่องทางการติดต่อให้หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, Line หรือแม้กระทั่งเบอร์โทรศัพท์ อีเมลต่าง ๆ เพราะหากมีแค่ช่องทางใดช่องทางหนึ่งและเกิดระบบล่มหรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้นมา ลูกค้าจะสามารถติดต่อผ่านช่องทางอื่น ๆ ของเราได้นั่นเอง 

 5. เป้าหมายที่ชัดเจน 

การทำธุรกิจออนไลน์จำเป็นต้องมีการวางเป้าหมายสูงสุดที่ชัดเจน โดยเป้าหมายของการทำธุรกิจออนไลน์ คือ ต้องการเข้าถึงลูกค้าในระดับ Advocate การใช้สินค้าแล้วเกิด การบอกต่อ จนนำไปสู่ การโปรโมท (Promote) สินค้า เช่น ใช้แล้วดี ใช้แล้วเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนจนเกิดการบอกต่อ หรือช่วยโปรโมทสินค้าให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ เป็นต้น

ภาพถ่ายฟรีของ ดิจิทัล

7 ขั้นตอนการโปรโมทและโฆษณาสินค้าให้เป็นที่รู้จัก

การโปรโมทและโฆษณาสินค้าให้เป็นที่รู้จักนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ และการทำธุรกิจเพื่อให้กลุ่มลูกค้านั้นรู้จักและเลือกซื้อสินค้า ซึ่งขั้นตอนการโปรโมทและโฆษณาสินค้ามีวิธี ดังนี้

  1. เข้าใจสินค้า วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน

เป็นการสำรวจตัวตน สำรวจธุรกิจและสินค้าของเราก่อน ให้เราเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ เพื่อที่เราจะได้หยิบจุดแข็งนั้น มาชูเป็นจุดขาย นอกเหนือจากนี้การที่เราเห็นจุดอ่อน เรายังสามารถที่จะแก้ไขหรือลดจุดอ่อนให้น้อยลง

  1. ศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อเราเข้าใจสินค้าของเราแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายว่า ต้องการสินค้าแบบไหน คุณสมบัติอะไร และต้องการเอาไปใช้ในลักษณะไหน เราจำเป็นต้องรู้ความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด เพื่อที่จะนำเสนอสิ่งที่ต้องการให้ได้ใกล้เคียงมากที่สุด

  1. ดึงจุดขายของสินค้า

เมื่อเราเข้าใจสินค้ารู้จุดดี-จุดด้อยแล้ว และเราเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค สิ่งที่เราควรจะทำคือ นำจุดเด่นจุดนั้นเข้ามาเชื่อมกัน ลากจุดเด่นเข้าไปถึงจุดที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้และนำจุดนั้นมาเป็นจุดขายของสินค้า

  1. ออกแบบโฆษณา

ทีนี้ก็ถึงคราวเอาสิ่งที่เราวิเคราะห์กันมาตั้งแต่ต้น เอามาทำโฆษณา โดยที่เราสามารถนำเอาจุดเด่นและจุดขายของสินค้ามาโฆษณาได้ โดยไม่ว่าจะทำ แบนเนอร์ โปสเตอร์ ใบปลิว แผ่นพับ หรือแม้แต่ทำโฆษณาวิทยุ โทรทัศน์ และรวมถึงการทำโฆษณาแบบออนไลน์ด้วยเช่นกัน

  1. เลือกสื่อโฆษณา

เมื่อเราทำโฆษณาแล้ว มีสื่อโฆษณาในมือแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการเลือกสื่อ เพราะการเลือกสื่อที่ดีนั้น จะทำให้กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มลูกค้าเราเห็นโฆษณาของเรา และเมื่อกลุ่มลูกค้าของเราเห็นโฆษณาสินค้าของเราก็ทำให้เรามีสิทธิ์ขายของได้มากขึ้น และเนื่องจากสื่อโฆษณามีให้เลือกอยู่มาก โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ต่างทั่วโลก รวมถึง social media อย่าง facebook เราจำเป็นต้องรู้จักผู้บริโภคให้ดีจึงทำให้เราเลือกสื่อโฆษณาได้ตรงเป้าและสามารถสื่อสารที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ทำการโฆษณา

เมื่อโฆษณาพร้อมแล้ว เลือกสื่อได้แล้ว ก็ทำการโฆษณาได้เลย แต่การทำโฆษณานั้นสามารถทำได้สองทาง หนึ่ง คือทำเอง ติดต่อกับสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น tv วิทยุ หรือสร้าง account ผ่าน google facebook เพื่อโฆษณาได้เลย และอีกทางหนึ่งคือให้ทาง media agency เป็นคนติดต่อและลงสื่อให้

  1. ปรับปรุงโฆษณาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อทำการโฆษณาไปเรียบร้อยแล้ว เราก็นำตัวเลขต่างๆมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายของเราว่า ได้ลูกค้าที่ต้องการมั้ย คนเห็นโฆษณาเยอะน้อยแค่ไหน คนเข้าเว็บไซต์เรามากน้อยแค่ไหน รวมถึงตัวเลขต่างๆ และก็นำตัวเลขต่าง ๆ มาวิเคราะห์และประเมินแล้วจึงนำมาปรับปรุงให้ผลลัพท์ดีขึ้นๆ เข้าเป้ากับเป้าหมายธุรกิจ

Online Marketing การตลาดออนไลน์ ที่ไม่มีเอาท์ในยุคดิจิทัล

วิธีโปรโมตหนังสือผ่านแพลตฟอร์มอย่าง FACEBOOK 

เข้าใจความต่างระหว่าง personal account ของตัวเองใน facebook กับ facebook fanpage

เวลาเรามี account ของเราเองใน facebook มีข้อดีคือ เราสามารถไปเปิด fanpage ได้ ซึ่งตัว fanpage นั้นดีกว่า account ตรงที่สามารถทำโฆษณาแบบเสียตังค์ได้ (facebook ad) ตั้งเวลาโพสต์ได้ ย้อนหลังก็ได้  แต่ข้อเสียคือ โอกาสที่คนที่ Like page จะเห็นโพสต์ของเราทั้งหมด หรือเรียกว่า organic reach จะน้อยกว่าโพสต์มาจาก account ของเราเองค่ะ ดังนั้น ที่ใช้กันบ่อย ๆ คือใช้ควบคู่กันไประหว่าง account ของเราเองและ facebook fanpage โพสต์ไหนเป็นเรื่องของธุรกิจล้วน ๆ ก็ใช้ fanpage ไป โพสต์ไหนไม่ได้โฆษณาแบบเน้น ๆ เขียนแบบซอฟท์หน่อยๆ ไม่ได้ hard sales มากก็ใช้ account ของเราเองสลับกันไปได้

ใช้รูปปกหนังสือโปรโมต

ถ้าเป็นนักเขียน เราสามารถใช้รูปหน้าปกหนังสือในการโปรโมตโพสต์ได้ ข้อแนะนำคือ ถ้าเรามีผลิตภัณฑ์ที่หลายอย่าง หรือ หนังสือหลายเล่ม ควรทำการโปรโมตผ่าน facebook เรื่องเดียวหรือเล่มเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง อย่าทำหลายเรื่อง ๆ หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะคนซื้อจะงงว่า จะซื้ออะไรดี ซื้ออะไรแน่ เพราะต้องยอมรับว่าถ้าไม่ใช่แฟนพันธ์ุแท้ของเราจริง ๆ 

สร้าง Group ใน facebook หรือ join ใน Group อื่นๆ 

เดี๋ยวนี้เราจะเห็น Group ใน facebook เยอะแยะมาก ไม่ว่าเป็น Group ตลาดซื้อขายบทความ E-book หรือ Group งานเขียน ebook  อีกเทคนิคนึงที่ใช้การสร้าง connection คือ สร้าง Group พวกนี้ขี้นมาเองเลยค่ะ ถ้าทำแล้ว Group ประสบความสำเร็จ ก็จะมีนักเขียนคอเดียวกันมาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ผลงานตัวเอง แล้วก็ได้โฆษณาหนังสือของเราไปด้วย แต่ถ้าคิดว่าสร้าง Group ขึ้นมาแล้วคิดว่าไม่สามารถดูแลได้ ใช้วิธีไป join ใน Group อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนของเราก็ได้เช่นเดียวกัน เพียงหมั่น active บ่อย ๆ จะช่วยสร้าง connection ให้กับเราได้อีกทางหนึ่งด้วย

โฆษณาอย่างมีลิมิต

แน่นอนเมื่อเราทำโฆษณาผ่าน fanpage ได้ อย่าทุ่มโฆษณาเยอะมาก ๆ หรือเนื้อหาซ้ำกันบ่อย ๆ ในทุก ๆ โพสต์ เพราะว่าจะสร้างความรำคาญให้กับคนอ่านมากกว่าสร้างความอยากซื้อ เราจะอาจจะเจอ Unlike ได้ ควรมีจังหวะการลงโฆษณา จังหวะที่ไม่ลง เว้นวรรคด้วยลงโพสต์ที่มีประโยชน์กับคนอ่าน 

เลือกกลุ่มเป้าหมายในการลงโฆษณาให้ถูก

เวลาเราลงโฆษณาแบบเสียเงินใน fanpage เราสามารถตั้งค่าให้คนอ่านเห็นโฆษณาของเราได้ ยิ่งถ้าตัวเลขประมาณการคนเห็นเยอะ เงินเราก็จะเสียเยอะหรือหมดเร็วด้วย 

สุดท้ายนี้ การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เรารู้จักสินค้าของเรา และสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนได้ เพียงเท่านี้สินค้าของเราก็สามารถเป็นที่รู้จัก และสร้างยอดขายในโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย

ที่มา : 

https://nipa.co.th/th/article/digital-marketing/การตลาดออนไลน์-online-marketing-คืออะไร

http://ebookmakerich.blogspot.com/2016/01/5-facebook.html