สยามจุลละมณฑล ร่วมพิธีเปิดโครงการพัฒนาบุคลากรของ กศน. สยามจุลละมณฑล ร่วมพิธีเปิดโครงการพัฒนาบุคลากรของ กศน. บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการพัฒนาบุคลากร “เทคนิคการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี และการจัดกิจกรรมห้องสมุดออนไลน์” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุมสำนักงาน กศน.จังหวัดตาก และผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting กศน.อำเภอทุกแห่งในสังกัด ที่ผ่านมา นอกจากนี้ทางเรายังมีโอกาสให้อบรมถึงระบบ Hibrary เป็นปีที่ 2 แก่ทาง กศน.จังหวัดตาก ทั้ง 9 อำเภอที่เข้าร่วม เพื่อให้ประชาชนสามารถ “เรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง ทุกที่ ทุกเวลา”
ไฮเท็คซ์ อินเตอร์แอคทีฟ และ สยามจุลละมณฑล ร่วมส่งมอบ ไฮบรารี่ ระบบห้องสมุดออนไลน์องค์กรที่สมบูรณ์ที่สุดของไทย แก่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุทัยธานี ไฮเท็คซ์ อินเตอร์แอคทีฟ และ สยามจุลละมณฑล ร่วมส่งมอบ ไฮบรารี่ ระบบห้องสมุดออนไลน์องค์กรที่สมบูรณ์ที่สุดของไทย แก่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุทัยธานี นายพัฒนา พิลึกฤาเดช ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไฮเท็คซ์ อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด และ นายพสิษฐ์สัทคุณ จุลละมณฑล กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด ร่วมกันส่งมอบ ไฮบรารี่ (Hibrary) ระบบห้องสมุดออนไลน์องค์กรที่สมบูรณ์ที่สุดของไทย แก่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุทัยธานี โดยมี ดร.มงคลชัย ศรีสะอาด รองผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดอุทัยธานี รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดอุทัยธานี และ นายณรงค์ พันธ์เขตกิจ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองอุทัยธานี เป็นตัวแทนในการรับมอบ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมหารือในการพัฒนาระบบห้องสมุดออนไลน์สำหรับประชาชน เมื่อเร็วๆ นี้ สำหรับห้องสมุดประชาชนที่สนใจเข้าร่วมใช้ระบบห้องสมุดออนไลน์องค์กร ไฮบรารี่ (Hibrary) สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.061-519-3641 และ 063-451-9359 Line OA: @Siamclmt หรือ Facebook: Siamclmt ส่วนหน่วยงาน องค์กร หรือผู้ประกอบการที่สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ทดลองใช้งานห้องสมุดออนไลน์ หรือต้องการโอนย้ายอีบุ๊กจากระบบ E-Library ที่ใช้อยู่มาใช้กับ ไฮบรารี่ สามารถเยี่ยมชมได้ที่ Www.Hibrary.Me หรือติดต่อได้ที่ โทร 02-024-6690
นิยามของ ‘หนังสือเล่ม’ ทางวิชาการคืออะไร นิยามของ ‘หนังสือเล่ม’ ทางวิชาการคืออะไร ‘รูปแบบ’ และ ‘การเผยแพร่’ อุปสรรคของคนอยากอัพตำแหน่ง หากเราอ้างอิงข้อมูลจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ในเรื่องประเภทของผลงานทางวิชาการ สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ จะมีด้วยกันอยู่ 4 กลุ่มใหญ่ๆ ก็คือ 1. งานวิจัย 2. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นๆ 3. ผลงานวิชาการรับใช้สังคม 4. ตำรา / หนังสือ / บทความทางวิชาการ แน่นอนว่าอาจารย์หรือนักวิชาการท่านไหนที่อยากจะเติบโตก้าวหน้าในตำแหน่งทางวิชาการก็ล้วนแล้วแต่ต้องเดินผ่านเส้นทางของการทำผลงานวิชการไม่รูปแบบใดก็รูปหนึ่ง หรือบางท่านอาจจะทำมากกว่า 1 รูปแบบด้วยซ้ำ โดยหนึ่งในรูปแบบที่นิยมทำกันมากก็คือ ‘หนังสือ’ หรือที่เรียกกันว่า ‘หนังสือเล่มทางวิชาการ’ เพราะนอกจากจะสามารถใช้เพื่อความก้าวหน้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ผลงานของนักวิชาการที่พัฒนาขึ้นมาก็ยังสามารถนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวนักวิชาการเองอีกด้วย ซึ่งในมุมหนึ่งก็สะท้อนถึงการยอมรับที่มีต่อผลงานของนักวิชาการคนนั้นๆ ไปด้วย ตรงนี้จะต่อยอดจนนำไปสู่การใช้เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการพัฒนางานวิชาการสำหรับนักวิชาการท่านอื่นๆ รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของภาคเอกชน และศึกษาค้นคว้าเพื่อเรียนรู้ของนักศึกษาทั่วโลก โดยนิยามของ ‘หนังสือ’ ที่อ้างอิงจากทาง ก.พ.อ. “งานวิชาการที่เกิดจากการค้นคว้าศึกษาความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างรอบด้านและลึกซึ้ง มีการวิเคราะห์ สงเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยมโนทัศน์หลักที่เป็นแกนกลางและมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กัน มีความละเอียดลึกซึ้ง ใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ ให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาของหนังสือไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง” ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือเป็นสิ่งที่นักวิชาการหรืออาจารย์จำนวนมากมีความถนัดอยู่แล้ว เพราะได้ทำการค้นคว้าศึกษามาอย่างลึกซึ้งทำให้พวกเขามีข้อมูลมากพอที่จะเขียนหรือเล่าเรื่องได้สบาย แต่ปัญหาของนักวิชาการส่วนใหญ่จะไปติดอยู่ตรงส่วนของ ‘รูปแบบ’ และ ‘การเผยแพร่’ ซึ่งนิยามของทาง ก.พ.อ. คือ รูปแบบหนังสือวิชาการ เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิง บรรณานุกรม และดัชนีค้นคำที่ทันสมัยและครบถ้วนสมบูรณ์ โดยอาจมีข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบด้วยก็ได้ ตามรูปแบบอยาางใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 1. เป็นงานที่นักวิชาการเขียนทั้งเล่ม (Authored book) 2. เป็นงานวิชาการบางบทหรือส่วนหนึ่งในหนังสือที่มีผู้เขียนหลายคน (Book chapter) การเผยแพร่หนังสือวิชาการ 1. การเผยแพรด้วยวิธีการพิมพ์ 2. การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อาทิ การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม 3. การเผยแพร่เป็น E-book โดยสำนักพิมพ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ตรงจุดนี้เองที่ทำให้นักวิชาการและอาจารย์ที่มีความต้องการอยากจะก้าวหน้าในตำแหน่งทางวิชาการเจอกับอุปสรรค เพราะขั้นตอนเหล่านี้ล้วนเกินกว่าความเชี่ยวชาญของพวกเขาจะทำได้ คงจะดีกว่าหากคุณค้นพบคนที่ช่วยคุณในเรื่องเหล่านี้ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้คุณได้โฟกัสอยู่กับการพัฒนางานเขียนทางวิชาการที่คุณถนัดเพียงเท่านั้น!! ซึ่งเรา บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด คือผู้ให้บริการด้านการให้คำปรึกษา การผลิต การจัดจำหน่าย การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ผ่านการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ โดยนำมาประสานเข้ากับความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อสร้างบริการที่ตอบโจทย์การเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งจะสอดรับไปกับบริบทสังคมและโลกในปัจจุบันที่ต้องการให้ทุกคนเรียนรู้ไปตลอดชีวิต เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม สำหรับท่านที่ต้องการทำผลงานเพื่อตำแหน่งทางวิชาการ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่า 20 ปีด้วยกัน คอยให้คำปรึกษาและการดูแลด้วยความใส่ใจ ตลอดจนผลงานของท่านนั้นออกมาเสร็จสมบูรณ์ เราและทีมงานมืออาชีพพร้อมสนับสนุน แต่งเติมสีสัน ปั้นแต่งให้งานเขียนของคุณ ให้น่าสนใจ! และ ขายได้! ครบ จบในที่เดียว สิ่งอำนวยความสะดวกเริ่มต้น หนังสือขนาด A5 จำนวน 200+ หน้า รวมปก ปก กระดาษอาร์ตการ์ด 260 แกรม เนื้อใน กระดาษ 80 แกรม เข้าเล่ม แบบไสกาว ฟรี E-book ฟรี ค่าจัดส่ง (ภายในกรงเทพฯ และปริมณฑล) ส่วนลด 10% สำหรับงานพิมพ์ในครั้งถัดไป โปรโมชันพิเศษเริ่มต้นเพียง 33,500 บาท ไม่ว่างานเขียนของคุณจะอยู่ในความคิด ในกระดาษ หรือไฟล์คอมพิวเตอร์ #เราพร้อม ที่จะแปลงสิ่งที่คุณมีให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และนำเสนอสู่สาธารณชน #มาสร้างหนังสือของตัวเองกันครับ —————————— หากสนใจสามารถปรึกษาได้ที่ คุณจุฑาทิพย์ สุกาญจนาเศรษฐ์ (ปุ้ย) 063-451-9359 คุณพสิษฐ์สัทคุณ จุลละมณฑล (ฟรอส) 061-519-3641 Line OA: @siamclmt (มี@ข้างหน้า) —————————— คลิกลิงก์ข้างล่างนี้เพื่อปรึกษาเรา https://bit.ly/3O9MLsW หรือดูข้อมูลการผลิตหนังสือเพิ่มเติม คลิกลิงก์ข้างล่างนี้ https://bit.ly/3aHVxAy
PUBAT คาดปี 65 มูลค่าตลาดหนังสือไทยโตแตะ 15,000 ล้านบาท หนึ่งในตลาดที่แอดมินเชื่อว่าจะกลับมามีศักยภาพสูงมากหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มจางหายก็คืออุตสาหกรรมหนังสือและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับร้านหนังสือนั่นเอง เพราะเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคได้ทำให้ตลาดนี้หดตัวไปมากกว่า 50% หากเทียบกับช่วงปี 2557 ที่มูลค่ามากกว่า 29,300 ล้านบาท . ตรงนี้ทำให้ช่องว่างของการเติบโตในอุตสาหกรรมนี้ยังมีอีกหากมองไปที่ระดับการเติบโตเดียวกับช่วงปี 2557 ซึ่งล่าสุดทางสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยฯ หรือ PUBAT ก็ได้ประเมินสถานการณ์ตลาดหนังสือไทย 2565 ไว้ว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ราว 15,000 ล้านบาท แต่ก็ยังคงต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 อยู่ดี . และเมื่อนำไปเทียบกับประเทศใหญ่ ๆ ในระดับเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น มีมูลค่าตลาดหนังสือสูงถึง 230,000 ล้านบาท สำหรับประชากร 125 ล้านคน และเกาหลีใต้อยู่ที่ 170,000 ล้านบาท สำหรับประชากร 51 ล้านคน . นั่นหมายความว่าถ้าเทียบกับทั้ง 2 ประเทศเรามีประชากรน้อยกว่าญี่ปุ่น และมากกว่าเกาหลีใต้ แต่มูลค่าตลาดของเรากลับต่ำว่าทั้ง 2 ประเทศมาก ตรงนี้หากมองในแง่ดี เรามีโอกาสให้โตได้อีกมากใช่รึเปล่า . สถานการณ์ตลาดหนังสือในไทย 2565 สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยฯ หรือ PUBAT คาดว่าปีนี้มูลค่าตลาดหนังสือของไทยจะเติบโตขึ้นแตะ 15,000 ล้านบาท ยังคงต่ำกว่าก่อนช่วง COVID-19 อยู่ถึง 50% มูลค่าตลาดหนังสือของญี่ปุ่นอยู่ที่ 230,000 ล้านบาท / ประชากร 125 ล้านคน มูลค่าตลาดหนังสือของเกาหลีใต้อยู่ที่ 170,000 ล้านบาท / ประชากร 51 ล้านคน ต้นทุนหนังสือเพิ่มขึ้นราว 15% เพราะกระดาษที่ส่งมาจากต่างประเทศขึ้นไปแล้ว 30% บวกกับค่าเงินบาทอ่อนลง ราคาปกหนังสือมาตรฐานมีแนวโน้มขึ้นถึงเล่มละ 400 บาท