อยากมีหนังสือของตัวเอง ต้องมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง ? อยากมีหนังสือของตัวเอง ต้องมีความรู้อะไรบ้าง? การมีหนังสือสัก 1 เล่ม อาจเป็นสิ่งที่หลายคนคิดว่า ‘ยาก’ ถ้าหากไม่มีความรู้ในเรื่องการเขียน การผลิต การออกแบบ หรือโครงสร้าง องค์ประกอบทั้งหมดของการจัดทำขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ‘นักเขียนหน้าใหม่’ ทั้งนี้ หนังสือก็มีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายแนวเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็น หนังสือนิยาย หนังสือการ์ตูน เรื่องสั้น บทความ หรือการเขียนหนังสืออื่น ๆ ทำให้บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า จะต้องเริ่มต้นอย่างไร ? และมีขั้นตอนอะไรบ้าง ? ถึงจะออกมาเป็นหนังสือ 1 เล่มได้ อีกอย่างเป้าหมายของการเขียนหนังสือนั้นก็มีหลายรูปแบบ เช่น เขียนเป็นงานอดิเรก เขียนเพื่อแบ่งปัน หรือ เขียนเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ซึ่งก็อยู่ที่ว่าเรานั้นอยากทำแบบไหน… ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูว่า ถ้าเราอยากมีหนังสือของตัวเอง ต้องมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง ? ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย… เป็นนักเขียนหน้าใหม่ที่อยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง ต้องทำตามนี้ 1. เลือกอ่านหนังสือเล่มที่ชอบ ข้อแรกนี้ เป็นขั้นเริ่มต้นของนักเขียนทุกท่าน การรู้จักเลือกหาหนังสือเล่มที่ชอบมาอ่าน เป็นเหมือนการทำความเข้าใจ สังเกต เก็บข้อมูล และดูวิธีการเขียนหนังสือของผู้เขียน ซึ่งถือเป็นวิธีการแรกสุดของการเริ่มต้นหัดเขียน เมื่อเราอ่านและจับสังเกตได้ว่า เขามีวิธีการเขียนอย่างไร เขาเลือกใช้คำแบบไหน เขาเริ่มต้นอย่างไร เขาลงท้ายอย่างไร เราก็สามารถนำมาเป็นไกด์สำหรับการเริ่มต้นเขียนของเราได้เช่นกัน 2. จับจุดหาสิ่งที่อยากเขียน เราต้องถามตัวเองให้ดีว่า สิ่งที่อยากเขียนคืออะไร อยากเขียนแนวไหน ซึ่งในการเขียนหนังสือแต่ละแนว เราก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนแบบนั้น ๆ ด้วย เช่น เขียนเรื่องสั้น ต้องมีโครงเรื่อง ตัวละคร รู้จักวิธีการเล่าเรื่อง มีประเด็นที่จะเขียน คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป องค์ประกอบเป็นเกณฑ์นำทางในการเริ่มต้นเขียน 3. หัวข้อที่จะเขียน เมื่อรู้แล้วว่า จะเขียนอะไร แนวไหน ก็ให้หาประเด็น หาหัวข้อที่จะเขียน โดยหัวใจสำคัญอยู่ที่ ต้องกำหนดโจทย์ในการเขียนให้ตัวเอง เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะไม่ยอมเขียน 4. เขียนแล้วอ่านออกเสียง เพราะมือใหม่เริ่มหัดเขียน อาจไม่ค่อยมั่นใจว่าสิ่งที่ตัวเองเขียนนั้นดีหรือไม่ ดังนั้น อันดับแรกคือเราต้องเขียนให้ตัวเราเองอ่านแล้วพอใจก่อน ซึ่งวิธีการก็คือ ให้เราเขียนไปตามความรู้สึก เขียนแบบเพื่อสื่อสารข้อความให้เข้าใจ อย่าเพิ่งไปกังวลกับสำนวนหรือความสวยงามของภาษามากนัก เราคิดอย่างไร ก็เขียนอย่างนั้น เราพูดอย่างไร ก็เขียนอย่างนั้น เมื่อเขียนจบ ให้ลองอ่านออกเสียง และฟังสิ่งที่เราเขียนไป จะทำให้เราเริ่มจับได้ว่า ตรงไหนติดขัด ตรงไหนไม่ลื่นไหล ตรงไหนสะดุด แล้วก็ค่อย ๆ เกลา แต่งเติมไปทีละนิด 5. แบ่งปันงานเขียน อย่าเก็บเอาไว้อ่านคนเดียวเด็ดขาด เพราะคุณค่าของนักเขียนนั้น ก็เกิดจากการมีคนอ่านทั้งสิ้น ดังนั้น อย่าอาย อย่ากลัว และเปิดใจยอมรับทุกคำติชม เพราะไม่มีทางที่งานเขียนของเราจะไม่ถูกวิจารณ์ แต่ในการถูกวิจารณ์ก็จะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเอง พัฒนางานเขียนของเราให้ดีขึ้นไปอีก 6. เขียนอย่างสม่ำเสมอ การมีวินัย ความสม่ำเสมอในการเขียน จะทำให้เราเขียนเก่งขึ้น ไวขึ้น คมขึ้น และการมีงานเขียนส่งไปให้ผู้อ่านทุกวันสม่ำเสมอ คือ สิ่งที่จะทำให้ผู้คนเข้าใจเรามากขึ้น ยอมรับเรามากขึ้น และชื่นชอบผลงานของเรามากขึ้น ซึ่งการเป็นนักเขียน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก คือ การคิดและการเขียน ทั้งนี้ความขยันเขียนและพัฒนาตัวเอง จะทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ขั้นตอนการทำหนังสือตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นสุดท้าย 1.วางโครงเรื่อง คือ หัวใจหลักของงานทุกชนิด นั่นก็เพื่อเป็นการกำหนดจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดหมาย เราต้องรู้ว่า เรื่องของเราจะเริ่มยังไง ? จบยังไง ? คิดไว้ก่อนคร่าว ๆ วิธีการก็คือเขียนออกมาแบบคร่าว ๆ ให้พอรู้ว่าประมาณไหน จากนั้นก็เริ่มทำการเขียนเนื้อเรื่องตามโครงเรื่องที่เราวางไว้ได้เลย 2.Re-Write หลังจากพิมพ์เนื้อหาทุกอย่างเสร็จแล้ว ให้กลับไปอ่านเรื่องที่เขียน ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย เพื่อหาดูว่า มีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง เช่น สำนวน การสะกด วรรคตอน ย่อหน้า เป็นต้น เมื่อรู้ว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหนก็ค่อย ๆ แก้ไข แต่การ Re Write รอบเดียวอาจจะไม่ครบถ้วน ดังนั้น จึงควรอ่านอย่างน้อย 3 – 5 รอบ เพื่อให้ไม่เจอข้อผิดพลาดอีก 3.ส่งให้บรรณาธิการ บรรณาธิการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบต้นฉบับของนักเขียน ซึ่งบรรณาธิการจะทำหน้าที่แก้ไข แนะนำสิ่งที่สมควรต่าง ๆ จากนั้นต้นฉบับที่ถูกแก้ไขแล้วจะถูกปริ้นท์ใส่กระดาษ A4 เพื่อส่งกลับมาที่นักเขียนอีกครั้ง โดยระยะเวลาที่บรรณาธิการตรวจสอบประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หรือตามเวลาที่ตกลงกัน 4.Edit เป็นการ Re Write โดยนักเขียน ซึ่งตรงกระบวนการนี้ ต้นฉบับของนักเขียนจะเหลือข้อผิดพลาดน้อยมาก นักเขียนจะได้ต้นฉบับมาดูอีกครั้งเพื่อตรวจว่ามีอะไรตกหล่นหรือไม่ ? และตรงนี้บรรณาธิการส่วนใหญ่จะแจ้งมาว่า ขอแก้ตรงนี้ ขอแนะนำตรงนี้ มีข้อสงสัยตรงนี้ นักเขียนก็ปรับตามความเหมาะสม นอกจากการตรวจตราและแก้ไขแล้ว นักเขียนยังสามารถเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องได้ด้วย 5.ส่งกลับไปให้บรรณาธิการ การส่งกลับไปให้บรรณาธิการครั้งนี้ เพื่อตรวจดูสิ่งที่เราแก้ไขอีกครั้ง ว่าถูกต้องหรือต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า 6.ส่งกลับไปยังนักเขียน การส่งกลับไปยังนักเขียนครั้งนี้ เพื่อเป็นตรวจสอบความถูกต้องครั้งสุดท้าย ซึ่งตรงนี้จะไม่ค่อยมีการแก้ไขอะไรแล้ว โดยผลงานจะสมบูรณ์ไปแล้ว 95% ดังนั้น นักเขียนแค่ตรวจดูความละเอียดของเนื้อเรื่องเท่านั้น เมื่อตรวจเสร็จก็ส่งต้นฉบับกลับไปที่บรรณาธิการ และจะกลายเป็น ต้นฉบับ 100% 7.จัดหน้ากระดาษ หลังจากที่ ต้นฉบับ A4 ถูกตรวจสอบครบถ้วนแล้ว จะมีทีมงานฝ่ายบรรณาธิการทำหน้าที่จัดการกับหน้ากระดาษให้เป็นไปตามโครงสร้างของรูปแบบที่เราตั้งใจจะจัดทำออกมา ตรงนี้จะมีการกำหนดรูปแบบของหนังสือด้วยว่า ขอบบน ขอบล่าง ด้านข้างทั้งสอง เว้นเท่าไหร่ ? ตัวหนังสือแบบไหน ? ไซส์อะไร ? ขนาดช่องไฟ ช่องว่างการเว้นบรรทัดเท่าไหร่ ? การย่อหน้าเท่าไหร่ ? หลังจากจัดหน้ากระดาษแล้ว ส่วนมากนักเขียนจะได้ดูอีกรอบ เพื่อตรวจว่าเขาจัดการถูกต้องไหม ? นั่นเอง 8.เข้ารูปเล่ม หลังจากที่ต้นฉบับถูกพิมพ์เพลทออกมาเรียบร้อย ก็จะเอาต้นฉบับพวกนี้ไปเข้ารูปเล่มแบบที่ทางทีมบรรณาธิการแนะนำ และเมื่อเสร็จการเข้ารูปเล่ม ต้นฉบับของนักเขียนก็จะกลายเป็นผลงาน ต้นทุนการผลิตหนังสือ 1 เล่ม ต้นทุนการผลิตหนังสือหนึ่งเล่มนั้น มีกระบวนการหลายขั้นตอน หากไม่ได้อยู่ในแวดวงการก็ไม่มีทางรู้ว่า หนังสือแต่ละเล่มที่วางขายอยู่บนแผงหนังสือนั้น มีต้นทุนในการผลิตเท่าไหร่ ? ซึ่งต้นทุนที่นักเขียนต้องรู้นั้นมี ดังนี้ 1.ค่าลิขสิทธิ์ของนักเขียน ทุกงานเขียนจะต้องถูกเขียนโดนนักเขียน ทางสำนักพิมพ์จะต้องลงทุนในค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งค่าลิขสิทธิ์นี้จะขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างสำนักพิมพ์และนักเขียน 2.ค่าจ้างออกแบบกราฟิกดีไซน์ ภาพปกของหนังสือที่สวยงาม เป็นผลงานการออกแบบของนักออกแบบมืออาชีพ ที่สร้างสรรค์งานออกมาเป็นปกหนังสือและกราฟิกต่าง ๆ ในหนังสือ 3.ค่าบรรณาธิการ และพนักงานในสายการผลิต การทำหนังสือ 1 เล่มจะต้องมีบรรณาธิการ และเจ้าหน้าที่ในการพิสูจน์อักษร รวมไปถึงการจัดเรียงหน้าต่าง ๆ ของหนังสือเพื่อให้หนังสือเล่มหนึ่งน่าอ่านก่อนที่จะพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม 4.ค่าวัตถุดิบในการจัดทำ ค่าจัดทำวัตถุดิบต่าง ๆ กระดาษ ค่าประกอบเล่ม ค่าพิมพ์ต่างๆ 5.ค่าฝากขายในร้าน หนังสือขายส่ง ต้นทุนค่าฝากขายร้านนับว่าเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของการพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งเลย เพราะร้านหนังสือและสายส่งจะคิดราคาตรงนี้อยู่ที่ 40% ของราคาปก ซึ่งทางสำนักพิมพ์จะเป็นผู้แบกรับค่าใช้จ่ายตรงจุดนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นต้นทุนต่อการผลิตหนังสือหนึ่งเล่ม เราจะเห็นได้ว่าการผลิตหนังสือหนึ่งเล่มนั้นทางสำนักพิมพ์จะมีกำไรไม่มากเท่าไหร่ ต้นทุนการผลิต E-book นั้นประหยัดกว่าหนังสือเล่มมาก เมื่อเทียบกับการจัดทำในรูปแบบการพิมพ์แบบกระดาษ เพราะต้นทุนที่ต้องจ่ายในการผลิต เกี่ยวกับค่าวัตถุดิบกระดาษ ค่าพิมพ์ ค่าเข้าเล่มต่าง ๆ นั้น จะถูกนำมาใช้สำหรับการจัดทำลงระบบ E-book แพลตฟอร์มออนไลน์แทน และจุดแข็งอย่างหนึ่ง คือ การที่เข้าถึงหนังสือได้พร้อมกันในเวลาเดียวกันจากอุปกรณ์ที่หลากหลาย และนี่คือทั้งหมดที่ นักเขียน ต้องมีความรู้ กว่านักเขียนจะมีหนังสือเป็นของตัวเองได้ 1 เล่มนั้น บอกเลยว่าไม่ใช้เรื่องง่าย ๆ เลยที่จะมีหนังสือเป็นของตัวเองได้ สุดท้ายนี้ หากนักเขียนท่านไหนอยากทำหนังสือตัวอย่าง หรือ demo เพื่อเสนอ บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด ยินดีให้บริการออกแบบและรับพิมพ์หนังสือทุกรูปแบบ โดยไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำ เพียง 1 เล่มก็สามารถพิมพ์ได้ เราพร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำ และรับประกันงานพิมพ์คุณภาพ สวยงาม ไม่เหมือนใคร ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัย พร้อมกับทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์ที่รวดเร็วและตรงต่อเวลา ที่มา: webcache.googleusercontent.com jampay.in.th praphansarn.co
Online Marketing การตลาดออนไลน์ ที่ไม่มีเอาท์ในยุคดิจิทัล Online Marketing การตลาดออนไลน์ ที่ไม่มีเอาท์ในยุคดิจิทัล ในสังคมที่โลกออนไลน์กำลังเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อออนไลน์ ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อเราในทุกขณะของชีวิต ตั้งแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งเข้านอน สำคัญไปยิ่งกว่านั้นความรวดเร็วและความสะดวกสบายของโลกออนไลน์ยังถูกนำมาใช้ประโยชน์กับกลุ่มคนทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้ การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง เนื่องจากการตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน มีช่องทางหลากหลายเพิ่มมากขึ้นและมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การตลาดออนไลน์ คืออะไร… การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คืออะไร ? การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คือ การทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เช่น โฆษณา Facebook, โฆษณา Google, โฆษณา Youtube, โฆษณา Instagram โดยที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะใช้วิธีต่าง ๆ ในการโฆษณาเว็บไซต์ หรือ โฆษณาขายสินค้าที่จะนำสินค้าของเราไปเผยแพร่ตามสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้และเกิดความสนใจ จนกระทั่งเข้ามาใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเราในที่สุด โดยการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) สามารถทำได้หลายช่องทาง ดังนี้ ช่องทางการทำการตลาดออนไลน์ให้อยู่รอด Search Engine Marketing คือ การตลาดออนไลน์บน Search Engine เป็นการทำให้สินค้าของเราติดอันดับการค้นหาในลำดับแรก ๆ ซึ่งจะทำให้เราถูกค้นพบได้ง่ายและถูกคลิกได้บ่อยกว่าเว็บไซต์ที่อยู่ด้านล่างหรืออยู่ในหน้าถัดไป แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ SEO (การทำเว็บไซต์ของเราให้ติดอันดับของ Google) PPC (การซื้อ Ads บน Google) Email Marketing คือ การตลาดออนไลน์ที่ทำผ่านอีเมล มีขึ้นมาเพื่อส่งข่าวสาร โปรโมชันต่าง ๆ ถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เป็นการตลาดที่ต้นทุนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับการตลาดในรูปแบบอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นการตลาดออนไลน์ที่ตรงกลุ่ม และสามารถเข้าถึงผู้รับภายในเวลาอันรวดเร็วได้ Social Marketing คือ การตลาดออนไลน์ที่ทำผ่าน Social Network ต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter, Instagram, Pinterest, Tiktok, ฯลฯ ซึ่ง Social Marketing กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีสถิติการใช้งานสูงกว่าแหล่งออนไลน์ประเภทอื่น 5 องค์ประกอบสำคัญของการตลาดออนไลน์ ที่ไม่ควรมองข้าม การจะทำการตลาดออนไลน์ให้ตอบโจทย์และสามารถสร้างตัวตนของบริการหรือผลิตภัณฑ์เราขึ้นมาได้ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ 1. สินค้าต้องมีคุณภาพ แน่นอนว่าองค์ประกอบข้อนี้สำคัญที่สุด คือ สินค้าต้องมีคุณภาพ เพราะหากนำสินค้าที่ด้อยคุณภาพมาวางขาย ไม่ว่าคุณจะทำการตลาดด้วยเทคนิคและกลยุทธ์ใด ๆ ก็ตาม ผู้ใช้งานจะไม่พึงพอใจ หรือหากสินค้าเกิดการเสียหายขึ้นจะส่งผลต่อภาพลักษณ์และทำให้ธุรกิจของคุณดูแย่ลงในสายตาของคนทั่วไป ยกเว้นเสียแต่ว่าสินค้าที่นำไปใช้งานนั้นเกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิค ธุรกิจต้องรับผิดชอบโดยการสร้างบริการหลังการขาย เพื่อเสนอทางเลือกใหม่หรือทำการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่นั่นเอง 2. คอนเทนต์ดี การสื่อสารถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในยุคนี้ และการสื่อสารที่ดี คือ ผู้รับสารต้องเข้าใจความหมายของสารที่ต้องการสื่ออย่างชัดเจน อธิบายรายละเอียดอย่างตรงไปตรงมา ไม่เกิดข้อสงสัยขึ้นหลังจากที่ได้รับสารนั้น ๆ แล้ว เช่นเดียวกันสำหรับการทำการตลาดออนไลน์นั้น Content ที่ดี ก็เปรียบเสมือนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์ Content ที่ดีอยู่เสมอ และไม่หยุดที่จะสร้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้บริโภครับรู้ 3. ฐานข้อมูลลูกค้าสำคัญ ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ ก็ตามแต่ การมีฐานข้อมูลของลูกค้าเปรียบเสมือนการมีขุมทรัพย์มหาศาลที่ช่วยให้สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ และการมีฐานข้อมูลของลูกค้าในปริมาณมากนั้นจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ เลย หากไม่นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนหรือรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าในแต่ละบุคคล ความชอบ หรือไม่ชอบ ตลอดจนช่วงเวลาในการซื้อสินค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ การนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์จะทำให้สามารถคาดการณ์หรือพยากรณ์แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ และช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนหรือวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้นั่นเอง 4. แผนสำรอง การทำธุรกิจที่ดีควรมีแผนสำรองเตรียมไว้เสมอ นั่นก็เพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และสามารถช่วยลดความเสี่ยงในอนาคตได้เป็นอย่างดี ซึ่งในความเป็นจริงเราไม่มีทางรู้หรอกว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น แม้แผนการที่เราเตรียมไว้จะรัดกุมและรอบคอบมากแค่ไหน หรือคิดว่ามันดีที่สุดในตอนนี้ ‘แต่อนาคต คือ สิ่งที่ไม่แน่นอน’ อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในทางบวกและทางลบ ดังนั้น การมีแผนสำรองเตรียมไว้จึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ไม่ควรมีช่องทางการติดต่อแค่ช่องทางเดียวเท่านั้น ควรเพิ่มช่องทางการติดต่อให้หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, Line หรือแม้กระทั่งเบอร์โทรศัพท์ อีเมลต่าง ๆ เพราะหากมีแค่ช่องทางใดช่องทางหนึ่งและเกิดระบบล่มหรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้นมา ลูกค้าจะสามารถติดต่อผ่านช่องทางอื่น ๆ ของเราได้นั่นเอง 5. เป้าหมายที่ชัดเจน การทำธุรกิจออนไลน์จำเป็นต้องมีการวางเป้าหมายสูงสุดที่ชัดเจน โดยเป้าหมายของการทำธุรกิจออนไลน์ คือ ต้องการเข้าถึงลูกค้าในระดับ Advocate การใช้สินค้าแล้วเกิด การบอกต่อ จนนำไปสู่ การโปรโมท (Promote) สินค้า เช่น ใช้แล้วดี ใช้แล้วเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนจนเกิดการบอกต่อ หรือช่วยโปรโมทสินค้าให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ เป็นต้น 7 ขั้นตอนการโปรโมทและโฆษณาสินค้าให้เป็นที่รู้จัก การโปรโมทและโฆษณาสินค้าให้เป็นที่รู้จักนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ และการทำธุรกิจเพื่อให้กลุ่มลูกค้านั้นรู้จักและเลือกซื้อสินค้า ซึ่งขั้นตอนการโปรโมทและโฆษณาสินค้ามีวิธี ดังนี้ เข้าใจสินค้า วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน เป็นการสำรวจตัวตน สำรวจธุรกิจและสินค้าของเราก่อน ให้เราเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ เพื่อที่เราจะได้หยิบจุดแข็งนั้น มาชูเป็นจุดขาย นอกเหนือจากนี้การที่เราเห็นจุดอ่อน เรายังสามารถที่จะแก้ไขหรือลดจุดอ่อนให้น้อยลง ศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เมื่อเราเข้าใจสินค้าของเราแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายว่า ต้องการสินค้าแบบไหน คุณสมบัติอะไร และต้องการเอาไปใช้ในลักษณะไหน เราจำเป็นต้องรู้ความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด เพื่อที่จะนำเสนอสิ่งที่ต้องการให้ได้ใกล้เคียงมากที่สุด ดึงจุดขายของสินค้า เมื่อเราเข้าใจสินค้ารู้จุดดี-จุดด้อยแล้ว และเราเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค สิ่งที่เราควรจะทำคือ นำจุดเด่นจุดนั้นเข้ามาเชื่อมกัน ลากจุดเด่นเข้าไปถึงจุดที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้และนำจุดนั้นมาเป็นจุดขายของสินค้า ออกแบบโฆษณา ทีนี้ก็ถึงคราวเอาสิ่งที่เราวิเคราะห์กันมาตั้งแต่ต้น เอามาทำโฆษณา โดยที่เราสามารถนำเอาจุดเด่นและจุดขายของสินค้ามาโฆษณาได้ โดยไม่ว่าจะทำ แบนเนอร์ โปสเตอร์ ใบปลิว แผ่นพับ หรือแม้แต่ทำโฆษณาวิทยุ โทรทัศน์ และรวมถึงการทำโฆษณาแบบออนไลน์ด้วยเช่นกัน เลือกสื่อโฆษณา เมื่อเราทำโฆษณาแล้ว มีสื่อโฆษณาในมือแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการเลือกสื่อ เพราะการเลือกสื่อที่ดีนั้น จะทำให้กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มลูกค้าเราเห็นโฆษณาของเรา และเมื่อกลุ่มลูกค้าของเราเห็นโฆษณาสินค้าของเราก็ทำให้เรามีสิทธิ์ขายของได้มากขึ้น และเนื่องจากสื่อโฆษณามีให้เลือกอยู่มาก โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ต่างทั่วโลก รวมถึง social media อย่าง facebook เราจำเป็นต้องรู้จักผู้บริโภคให้ดีจึงทำให้เราเลือกสื่อโฆษณาได้ตรงเป้าและสามารถสื่อสารที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำการโฆษณา เมื่อโฆษณาพร้อมแล้ว เลือกสื่อได้แล้ว ก็ทำการโฆษณาได้เลย แต่การทำโฆษณานั้นสามารถทำได้สองทาง หนึ่ง คือทำเอง ติดต่อกับสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น tv วิทยุ หรือสร้าง account ผ่าน google facebook เพื่อโฆษณาได้เลย และอีกทางหนึ่งคือให้ทาง media agency เป็นคนติดต่อและลงสื่อให้ ปรับปรุงโฆษณาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อทำการโฆษณาไปเรียบร้อยแล้ว เราก็นำตัวเลขต่างๆมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายของเราว่า ได้ลูกค้าที่ต้องการมั้ย คนเห็นโฆษณาเยอะน้อยแค่ไหน คนเข้าเว็บไซต์เรามากน้อยแค่ไหน รวมถึงตัวเลขต่างๆ และก็นำตัวเลขต่าง ๆ มาวิเคราะห์และประเมินแล้วจึงนำมาปรับปรุงให้ผลลัพท์ดีขึ้นๆ เข้าเป้ากับเป้าหมายธุรกิจ วิธีโปรโมตหนังสือผ่านแพลตฟอร์มอย่าง FACEBOOK เข้าใจความต่างระหว่าง personal account ของตัวเองใน facebook กับ facebook fanpage เวลาเรามี account ของเราเองใน facebook มีข้อดีคือ เราสามารถไปเปิด fanpage ได้ ซึ่งตัว fanpage นั้นดีกว่า account ตรงที่สามารถทำโฆษณาแบบเสียตังค์ได้ (facebook ad) ตั้งเวลาโพสต์ได้ ย้อนหลังก็ได้ แต่ข้อเสียคือ โอกาสที่คนที่ Like page จะเห็นโพสต์ของเราทั้งหมด หรือเรียกว่า organic reach จะน้อยกว่าโพสต์มาจาก account ของเราเองค่ะ ดังนั้น ที่ใช้กันบ่อย ๆ คือใช้ควบคู่กันไประหว่าง account ของเราเองและ facebook fanpage โพสต์ไหนเป็นเรื่องของธุรกิจล้วน ๆ ก็ใช้ fanpage ไป โพสต์ไหนไม่ได้โฆษณาแบบเน้น ๆ เขียนแบบซอฟท์หน่อยๆ ไม่ได้ hard sales มากก็ใช้ account ของเราเองสลับกันไปได้ ใช้รูปปกหนังสือโปรโมต ถ้าเป็นนักเขียน เราสามารถใช้รูปหน้าปกหนังสือในการโปรโมตโพสต์ได้ ข้อแนะนำคือ ถ้าเรามีผลิตภัณฑ์ที่หลายอย่าง หรือ หนังสือหลายเล่ม ควรทำการโปรโมตผ่าน facebook เรื่องเดียวหรือเล่มเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง อย่าทำหลายเรื่อง ๆ หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะคนซื้อจะงงว่า จะซื้ออะไรดี ซื้ออะไรแน่ เพราะต้องยอมรับว่าถ้าไม่ใช่แฟนพันธ์ุแท้ของเราจริง ๆ สร้าง Group ใน facebook หรือ join ใน Group อื่นๆ เดี๋ยวนี้เราจะเห็น Group ใน facebook เยอะแยะมาก ไม่ว่าเป็น Group ตลาดซื้อขายบทความ E-book หรือ Group งานเขียน ebook อีกเทคนิคนึงที่ใช้การสร้าง connection คือ สร้าง Group พวกนี้ขี้นมาเองเลยค่ะ ถ้าทำแล้ว Group ประสบความสำเร็จ ก็จะมีนักเขียนคอเดียวกันมาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ผลงานตัวเอง แล้วก็ได้โฆษณาหนังสือของเราไปด้วย แต่ถ้าคิดว่าสร้าง Group ขึ้นมาแล้วคิดว่าไม่สามารถดูแลได้ ใช้วิธีไป join ใน Group อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนของเราก็ได้เช่นเดียวกัน เพียงหมั่น active บ่อย ๆ จะช่วยสร้าง connection ให้กับเราได้อีกทางหนึ่งด้วย โฆษณาอย่างมีลิมิต แน่นอนเมื่อเราทำโฆษณาผ่าน fanpage ได้ อย่าทุ่มโฆษณาเยอะมาก ๆ หรือเนื้อหาซ้ำกันบ่อย ๆ ในทุก ๆ โพสต์ เพราะว่าจะสร้างความรำคาญให้กับคนอ่านมากกว่าสร้างความอยากซื้อ เราจะอาจจะเจอ Unlike ได้ ควรมีจังหวะการลงโฆษณา จังหวะที่ไม่ลง เว้นวรรคด้วยลงโพสต์ที่มีประโยชน์กับคนอ่าน เลือกกลุ่มเป้าหมายในการลงโฆษณาให้ถูก เวลาเราลงโฆษณาแบบเสียเงินใน fanpage เราสามารถตั้งค่าให้คนอ่านเห็นโฆษณาของเราได้ ยิ่งถ้าตัวเลขประมาณการคนเห็นเยอะ เงินเราก็จะเสียเยอะหรือหมดเร็วด้วย สุดท้ายนี้ การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เรารู้จักสินค้าของเรา และสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนได้ เพียงเท่านี้สินค้าของเราก็สามารถเป็นที่รู้จัก และสร้างยอดขายในโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย ที่มา : https://nipa.co.th/th/article/digital-marketing/การตลาดออนไลน์-online-marketing-คืออะไร http://ebookmakerich.blogspot.com/2016/01/5-facebook.html
E-Learning อีเลิร์นนิง ระบบการสอนรูปแบบใหม่ในห้องเรียนออนไลน์ E-Learning อีเลิร์นนิง ระบบการสอนรูปแบบใหม่ในห้องเรียนออนไลน์ ปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ มีการพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนในสังคม แม้แต่เรื่องการศึกษา เทคโนโลยีก็เข้ามามีบทบาทที่ช่วยให้ความรู้และทักษะต่าง ๆ ถ่ายทอดออกไปได้ไกลมากขึ้น ระบบ E-Learning จึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาไทย ไม่ว่าจะใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนการสอนในห้องเรียน เป็นความรู้เพิ่มเติม ไปจนถึงเป็นสื่อการเรียนการสอนหลักสำหรับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกจะเข้าเรียนในห้องเรียน E-Learning คืออะไร ? E-Learning (อีเลิร์นนิง) ย่อมาจาก Electronics Learning โดยศัพท์บัญญัติภาษาไทยของคำนี้ คือ “การเรียนอิเล็กทรอนิกส์” เป็นการศึกษาทางไกลรูปแบบหนึ่งที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องไปเรียนในห้องเรียน แต่เรียนตามความถนัด ความสนใจในช่วงเวลาที่สะดวก โดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สัญญาณดาวเทียม เป็นตัวเชื่อมผู้เรียนและผู้สอนเข้าด้วยกัน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนบนเว็บไซต์ (Web-Based Learning) โดยที่ผู้สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางแช็ต อีเมล ไปจนถึงสื่อโซเชียลมีเดีย ทำให้ E-Learning เป็นวิธีการเรียนที่ครบวงจรเพราะผู้สอนสามารถทดสอบประเมินผลหลังเรียนจบได้เช่นกัน องค์ประกอบของ E-Learning ที่ขาดไม่ได้ ระบบจัดการการศึกษา (Education Management System) ไม่ว่าระบบใดในโลกก็ต้องมีการจัดการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง องค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน และทำให้แผนทั้งหมด ดำเนินไปอย่างถูกต้อง รวมถึงการประเมิน และตรวจสอบ กระบวนการต่าง ๆ ในระบบ และนำหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปด้วยดี และไม่หยุดชะงัก เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents) หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอน คือ การเขียนคำอธิบายรายวิชา วางแผนการสอน ให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบท มีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Communication) ทุกคนในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกัน เพื่อหาข้อมูล ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือตอบข้อซักถาม เพื่อให้การศึกษาได้ประสิทธิผลสูงสุด สื่อที่ใช้อาจเป็น E-mail, โทรศัพท์, Chat board, WWW board หรือ ICQ เป็นต้น ผู้สอนสามารถตรวจงานของผู้เรียน พร้อมแสดงความคิดเห็นต่องานของผู้เรียน อย่างสม่ำเสมอ และเปิดเผยผลการตรวจงาน เพื่อให้ทุกคนทราบว่า งานแต่ละแบบมีจุดบกพร่องอย่างไร เมื่อแต่ละคนทราบจุดบกพร่องของตน จะสามารถกลับไปปรับปรุง หรืออ่านเรื่องใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษได้ วัดผลการเรียน (Evaluation) งานที่ผู้สอนมอบหมาย หรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์ แก้ปัญหาในอนาคตได้ แต่การจะผ่านวิชาใดไป จะต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวัดผลการเรียน ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ จากสถาบันใด ถ้าไม่มีการสอบก็บอกไม่ได้ว่าผ่านหรือไม่ เพียงแต่เข้าเรียนอย่างเดียว จะไม่ได้รับความเชื่อถือมากพอ เพราะเรียนอย่างเดียว ผู้สอนอาจสอนดี สอนเก่ง สื่อการสอนยอดเยี่ยม แต่ผู้เรียนนั่งหลับ หรือโดดเรียน ก็ไม่สามารถนำการรับรองว่าเข้าเรียนนั้น ได้มาตรฐาน เพราะผ่านการอบรม มิใช่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากการสอบ การวัดผลการเรียน จึงเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่จะนำผลการสอบไปใช้งานได้ ดังนั้น E-learning ที่ดีควรมีการสอบ ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ รูปแบบการเรียนการสอน 3 ประเภท ที่น่าติดตาม 1) การใช้เว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอน (Web Facilitated) เป็นการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีบนเว็บไซต์เพื่ออำนวยความสพดวกในการสอน โดยเทคโนโลยีที่ใช้อาจอยุ่ในรูปแบบของระบบบริหารจัดการวิชา (Course Management System) สัดส่วนของการนำเสนอเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตจะอยู่ที่ ร้อยละ 1 – 29 2) ผสมผสาน (Blended / Hybrid) เป็นการเรียนการสอนที่มีการใช้เทคโนโลยีบนเว็บไซต์เพื่อนำเสนอเนื้อหาโดยวิธีการสอนแบบผสมผสาน(Blended Online)โดยการนำเอาวิธีการสอนแบบออนไลน์กับวีพบปะผุ้เรียนในห้องเรียน (Face to Face) มาใช้ด้วยกันภายในวิชาเรียนเดียวกัน สัดส่วนของการนำเสนอเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตจะอยู่ที่ ร้อยละ 30 – 79 3) ออนไลน์ (online) เป็นการเรียนการสอนที่นำเสนอเนื้อหาทั้งหมดผ่านการเรียนออนไลน์ชนิดเต็มรูปแบบ และโดยทั่วไปรูปแบบการเรียนแบบนี้จะไม่มีการพบปะกับผู้เรียนในห้องเรียนเลย (No Face to Face) สัดส่วนของการนำเสนอเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตจะมากกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้การใช้อีเลิร์นนิงยังสามารถแบ่งรูปแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงโดยการแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ทางการเรียนการสอนโดยสามารถแบ่งรูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงเป็นอีก 3 รูปแบบ คือ อีเลิร์นนิงเพื่อเสริมการเรียน (Supplement) เป็นการใช้อีเลิร์นนิงเพื่อเสริมจากการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยยังคงใช้วิธีการสอนแบบเดิมในชั้นเรียนเป็นหลักและใช้อีเลิร์นนิงเป็นการเสริมการเรียน เช่น เป็นบทเรียนทบทวน เป็นเว็ปความรู้เพิ่มเติม หรือเป็นแบบทดสอบความรู้ที่มีเฉลยและข้อมูลป้อนกลับ (feed back) เป็นต้น อีเลิร์นนิงเพื่อการสอนแบบผสมผสาน (blended / hybrid learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง และแบบเดิมในชั้นเรียนร่วมกัน โดยมีสัดส่วนการแบ่งจำนวนครั้ง หรือหน่วยการเรียนที่จะเรียนด้วยวิธีใด ใช้อีเลิร์นนิงลดสัดส่วนเวลาในการสอนแบบเดิมในชั้นเรียน อีเลิร์นนิงที่เป็นทั้งระบบการเรียนการสอน (Comprehensive replacement) เทียบเคียงได้กับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) การใช้อีเลิร์นนิงรูปแบบนี้สามารถจำแนกตามวิธีการจัดการเรียนการสอนได้เป็น 2 วิธีการ คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self – Paced Learning) เป็นการเรียนอีเลิร์นนิงที่ทดแทนการสอนปกติโดยเรียนเนื้อหาจากสื่อการเรียน เครื่องมือสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต และประเมินผลการเรียนของตัวเองวิธีนี้ผู้เรียนสามารถเลือกเนื้อหา และเวลาเรียนตามที่ตนพร้อมและสะดวก ในบทบาทของการกำหนดให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองจากสื่อ การเรียนด้วยวิธีนี้ผู้สอนมีหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีอีเลิร์นนิงจัดเตรียมสื่อและกิจกรรมการเรียนไว้เท่านั้น ผู้สอนมีบทบาทในขณะที่ผู้เรียนกำลังเรียน ผู้เรียนเรียนจากผู้สอนออนไลน์ เป็นการเรียนอีเลิร์นนิงที่ทดแทนการสอนในระบบชั้นเรียนโดยเรียนผ่านเนื้อหา สื่อการเรียน เครื่องมือสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต และประเมินผลการเรียนในระบบออนไลน์ โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนดกิจกรรมตามระยะเวลา เหมือนการสอนในระบบชั้นเรียน ต่างกันตรงที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่ได้เผชิญหน้ากัน (face to face) การเรียนด้วยวิธีนี้ผู้สอนรับหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีอีเลิร์นนิง จัดเตรียมสื่อ และกิจกรรมการเรียน ร่วมกิจกรรมการเรียนผ่านเครื่องมือสื่อสารการเรียนการสอนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในออนไลน์ ประโยชน์ของ E-Learning ต่อผู้เรียนและผู้สอน การเข้าถึงได้ง่าย ประโยชน์ที่สำคัญของ E-Learning คือ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ง่ายแม้อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล การเรียนด้วย E-Learning จะใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรือสัญญาณดาวเทียม เพียงมีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถเรียนได้แล้ว จึงสะดวกต่อผู้เรียนที่มีปัญหาเรื่องการเดินทาง ไม่ว่าผู้เรียนจะเป็นใครก็สามารถเลือกช่วงเวลาเรียนได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเรียนที่ไหนหรือเวลาใด เป็นการลดช่องว่างทางการศึกษาไม่ได้จำกัดแค่ในตัวเมืองแต่กระจายไปยังท้องถิ่นได้มากขึ้น เรียนรู้ด้วยสื่อที่หลากหลาย เนื่องจากการเรียนการสอนแบบ E-Learning นั้นเป็นการประยุกต์นำเอาเทคโนโลยีที่หลากหลายมาเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ เสียง ภาพกราฟิก ไปจนถึงวีดิทัศน์ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเป็นอิสระและเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในการเรียนได้เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่นสูง ประโยชน์ที่โดดเด่นอีกข้อหนึ่งคือ เรื่องของความยืดหยุ่น ผู้สอนสามารถเข้าไปปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยได้เสมอและยังเข้าไปแก้ไขข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ได้ตลอดไม่ว่าอยู่ที่ใดก็ตาม หากมีข้อมูลใหม่ที่จำเป็นต้องอัปเดตก็ทำได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ผู้สอนยังใส่เกมหรือแบบทดสอบต่าง ๆ ลงไปในสื่อการสอนได้ด้วย นั่นก็เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเรียนซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีให้กับผู้เรียนจนอยากกลับมาเรียนเพิ่มเติมในเนื้อหาใหม่ ๆ ต่อไป ถึงแม้ว่า E-Learning จะมีประโยชน์หลากหลายด้าน และสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเรียนทางออนไลน์เป็นการเลือกเรียนตามที่ผู้เรียนต้องการซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความใส่ใจของตัวผู้เรียนเองด้วย ในขณะเดียวกันผู้สอนเองก็ต้องออกแบบสื่อการสอนให้น่าสนใจ จูงใจผู้เรียน รวมถึงต้องมีเนื้อหาครบถ้วนมากพอที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ด้วย ไม่เช่นนั้นหากไม่ได้ออกแบบให้น่าสนใจก็จะเกิดความเบื่อหน่ายทำให้ไม่อยากเรียนได้นั่นเอง ที่มา : https://www.thaibusinesssearch.com/studying/e-learning/
การผลิตสื่อการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์การเรียนการสอนในยุคออนไลน์ การผลิตสื่อการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์การเรียนการสอนในยุคออนไลน์ สื่อ นับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน และจะสำคัญอย่างยิ่งในอนาคต เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนตรงกับผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น และคำว่า สื่อ (medium, pl.media) เป็นคำมาจาก ภาษาลาติน ว่า “ระหว่าง” สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่ง หรือ แหล่งส่งไปยังผู้รับ เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ในการเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า “สื่อการสอน” และเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้ เรียกว่า “สื่อการเรียน” โดยเรียกรวมกันว่า “สื่อการเรียนการสอน” หรืออาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า “สื่อการสอน” ในการใช้สื่อการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียน การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียนและทําให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบัน มักจะเรียกการนําสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ซึ่งหมายถึง การนําเอาวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการ มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน ประเภทของสื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะ ได้ 4 ประเภท คือ สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สไลด์แผ่นใส เอกสาร ตํารา สารเคมีสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือ การฝึกปฏิบัติ สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ ของจริง หุ่นจําลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่ การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงานการจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จําลอง สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนําเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web) สื่อการสอนสมัยใหม่ในยุคออนไลน์ คือ นวัตกรรมที่จำเป็น เทคโนโลยี คือ นวัตกรรมที่พัฒนามาจากมนุษย์ ดังนั้น เมื่อเราสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสอนได้ สิ่งนี้ก็จะกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้ครูสามารถจัดเตรียมมัลติมีเดีย เพื่อจัดการกับรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น แอนิเมชัน วิดีโอ Live ฯลฯและยังช่วยให้ผู้สอนสร้างหลักสูตรออนไลน์ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในพื้นที่ของตนเองตามโอกาสและตามสไตล์ที่เหมาะสมของตนเอง นอกจากนี้ เทคโนโลยียังทำให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกันได้ เมื่อผู้เรียนรู้สึกเชื่อมต่อกับผู้สอนหรือสิ่งที่เรียน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ก็จะช่วยให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 5 สื่อการสอนสมัยใหม่ทันโลกยุคดิจิทัล พอดแคสต์ (Podcast) พอดแคสต์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ ซึ่งทำผ่านการบันทึกเสียงสนทนาในหัวข้อเฉพาะ มักพบใน iTunes และ Spotify อยู่บ่อย ๆ หรือบนเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยจุดเด่นของพอดแคสต์ คือ ทุกคนสามารถฟังได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะขณะเดินทางไปทำงาน หรือแม้กระทั่งขณะทำงาน เพียงแค่เปิดในมือถือเหมือนกับเปิดเพลงจากแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยแม้ว่า เนื้อหาของพอดแคสต์จะมีความเฉพาะเจาะจงในหัวข้อ แต่ก็ยังมีความหลากหลายและกว้างขวางให้เราเลือกฟังมาก ๆ คุณสามารถเรียนประวัติศาสตร์ ภาษา ธุรกิจ เทรนด์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะเฉพาะของตัวเอง โซเชียลมีเดีย (Social Media) เมื่อนักเรียนทุกคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากมาย โซเชียลมีเดียจึงกลายเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ได้อย่างดี สถาบันการศึกษาหลายแห่งเริ่มใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือสื่อสารที่นักเรียนสามารถโต้ตอบกับผู้อื่นได้อย่างง่าย เช่น ใน Facebook นักเรียนสามารถแชร์สื่อการเรียน พูดคุยกับคนอื่น ๆ ในกลุ่ม หรือแสดงความคิดเห็นในโพสต์ของคนอื่นได้ง่าย ๆ การแบ่งปัน และโพสต์วิดิโอที่เป็นความรู้บน YouTube ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึง ค้นหา และแบ่งปันวิดีโอเพื่อการศึกษากับเพื่อน ๆ ได้ หรือการติดตามข่าวสารบน Twitter ที่หลาย ๆ คนทำมานานแล้ว โซเชียลมีเดียนั้นช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน และการแบ่งปันความรู้ ซึ่งนำไปสู่ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น สตรีมมิ่ง (Streaming) โปรแกรม STEAM คือ การพัฒนา EdTech ใหม่ภายใต้โปรแกรม STEM ซึ่งเป็นเทรนด์ของสื่อการสอนสมัยใหม่ โดยนำเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ที่มีความหมายมาใช้ในการแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติและการออกแบบที่สร้างสรรค์ การสตรีมมิ่ง (Streaming) ช่วยสร้างนิสัยความอยากรู้อยากเห็นให้แก่ผู้เรียนมากขึ้น เกี่ยวกับโลกรอบตัวพวกเขา นอกจากนี้ ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน ในการแสดงความคิด และพัฒนาการคิดนอกกรอบ อีกทั้งความสะดวกสบายของการเรียนรู้ ยังช่วยเอื้อให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ปัจจุบัน AI กำลังมาในตลาด EdTech ของสหรัฐอเมริกา สิ่งแรกและสำคัญที่สุดคือ AI สามารถทำให้กิจกรรมพื้นฐานในการศึกษาเป็นไปโดยอัตโนมัติ เช่น การให้คะแนน ตอนนี้ครูสามารถให้คะแนนคำถามแบบปรนัย และแบบเติมในช่องว่างโดยอัตโนมัติได้แล้ว ดังนั้น การจัดลำดับงานเขียนของนักเรียนแบบอัตโนมัติอาจไม่ล้าหลังนัก นอกจากนี้ ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้รับประโยชน์จากสื่อการสอน AI ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถรับความช่วยเหลือจากผู้สอน AI เมื่อครูมีงานมากเกินกว่าจะดูแลทุกคนได้ นอกจากนี้ โปรแกรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้เรียนและผู้สอน นั่นเป็นเหตุผลที่โรงเรียนบางแห่งในอเมริกาใช้ระบบ AI เพื่อติดตามความคืบหน้าของนักเรียนและเพื่อเตือนครู เมื่ออาจมีปัญหากับการแสดงของนักเรียน ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ AI จะเป็นผู้ช่วยที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับการสอนในชั้นเรียน เกมมิฟิเคชัน (Gamification) หากกำลังมองหาวิธีเปลี่ยนการเรียนรู้ให้เป็นกระบวนการที่สนุกสนาน และมีส่วนร่วมมากขึ้น Gamification เป็นอีกหนึ่งสื่อการสอนที่เหมาะสมที่สุดที่จะสร้าง “แรงจูงใจ” ให้กับผู้เรียน ไม่มีเหตุผลใดที่ผู้เรียนจะไม่มีส่วนร่วมกับการเล่นเกมในห้องเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และฝึกฝนในขณะที่เข้าร่วมกิจกรรมเกมที่น่าตื่นเต้น องค์ประกอบการเล่นเกมช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเป็นบวกสำหรับผู้เรียน การนำ Gamification มาใช้อาจเหมาะกับผู้เรียนที่ยังเป็นเด็ก เนื่องจากอาจยังมีสมาธิจดจ่อกับการเรียนได้น้อยกว่าเด็กโต และด้วยเนื้อหาที่ไม่ได้เข้มข้นมากนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่จะไม่เหมาะกับ Gamification เพราะหลายคนก็อยากที่จะมีส่วนร่วมในเกม หรือรู้สึกสนุกเมื่อได้คะแนนจากการแข่งขัน เหมือนกับว่าเขาไม่ได้เรียนหนังสืออยู่ ซึ่งนั่นคือการแข่งขันการเรียนรู้กับเพื่อน ๆ และตัวผู้เรียนเอง จะเห็นว่า เทคโนโลยีได้แทรกซึมเข้าสู่การศึกษา และได้ปรับปรุงกระบวนการสอนและการเรียนรู้ทั้งหมด โดยเฉพาะ E-Learning ซึ่งเป็นสื่อการสอนที่ไม่เพียงเพิ่มการเข้าถึง และความสะดวกในการศึกษาเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ และความปรารถนาของผู้เรียนในการเรียนรู้อีกด้วย การดึงสื่อยุคใหม่มาใช้ในการเรียนรู้ในบริบทไทยจะตอบโจทย์ต่อการเรียนรู้อย่างยิ่ง สำหรับการนำสื่อการเรียนรู้เข้ามาใช้ในห้องเรียนเพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ของคนไทยยุคใหม่นั้น ผู้สอนจำเป็นจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของคนยุคใหม่ให้ดีก่อน ดูว่าพวกเขาต้องการอะไรในการเรียนรู้ รวมถึงความพร้อมของผู้เรียนเองด้วย แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ดูว่าผู้สอนจะสามารถประยุกต์ใช้ในการสอนได้อย่างไร ในการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขึ้นใช้เองโดยครูผู้สอนนั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะครู ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ถึงความยากง่าย ความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การที่จะผลิตสื่อ ให้มีประสิทธิภาพ ต่อการเรียนรู้นั้นจะต้องมีกระบวนการผลิตที่มีขั้นตอนและมีระบบ เพื่อให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่าต่อการศึกษาสูงสุด ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรพิจารณาปัจจัยเพื่อการผลิตและพัฒนาสื่อดังต่อไปนี้ ปัจจัยทางด้านเนื้อหา สาระเนื้อหามีความซับซ้อน ผู้เรียนมีความเข้าใจแตกต่างกัน สาระเนื้อหาไม่สามารถอธิบายให้เกิดรูปธรรมได้ สาระเนื้อหาวิชานั้นมีขั้นตอน มีกระบวนการที่ใช้เวลานาน สาระเนื้อหาวิชานั้นมีขั้นตอน มีกระบวนการที่ใช้เวลารวดเร็วเกินไป สาระเนื้อหาวิชานั้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนที่ผู้เรียนเมื่อเรียนรู้แล้ว มีความสามารถอะไรบ้าง ปัจจัยทางด้านการผลิต เลือกประเภทหรือรูปแบบของสื่อที่จะผลิต : อาทิ ชุดการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิดีทัศน์ ความพร้อมด้านสาระเนื้อหา ความพร้อมด้านเครื่องมือ และเทคโนโลยี ความพร้อมด้านผู้ผลิต/พัฒนา : อาทิ ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ นักวัดผล ช่างเทคนิค ความพร้อมด้านแผนการผลิต : ความเหมาะสมต่อวัยของการเรียนรู้ ลำดับขั้นตอนการสร้าง กระบวนการถ่ายทอดเนื้อหา การตรึงพฤติกรรม กิจกรรมการเรียนรู้ ความพร้อมด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านการนำไปใช้งาน ความพร้อมของเครื่องมือ และเทคโนโลยีในการเรียนรู้ อุปกรณ์ เครื่องมือที่นำมาใช้ประกอบการเรียนรู้ ความพร้อมของสภาพแวดล้อม เสียง แสง ความพร้อมของผู้เรียนและครูผู้สอน ปัจจัยทางด้านการเรียนรู้ ลักษณะเฉพาะการเรียนรู้ของตัวสื่อ เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือควบคุมพฤติกรรม/ลำดับเนื้อหาโดยครูผู้สอน วิธีการใช้งาน ความ ยาก ง่าย การใช้ประกอบกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นของการใช้สื่อ กระบวนการเรียนรู้ การเข้าถึงและการถ่ายทอดเนื้อหา การซึมซับความรู้ การตรึงพฤติกรรมต่อการเรียนรู้ จากนั้นก็ทำการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดมาใช้เป็นสื่อในการสอน และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยติดตามผล ว่าสื่อเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่อผู้เรียนมากแค่ไหน โดยควรจะมีการประเมินการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ว่า มีข้อบกพร่อง หรือส่วนใดที่ควรปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ดำเนินการวางแผนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป จากนั้นก็ทำการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดมาใช้เป็นสื่อในการสอน และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยติดตามผล ว่าสื่อเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่อผู้เรียนมากแค่ไหน พร้อมทั้งแก้ไขให้ดี ที่มา : https://สื่อการสอนฟรี.com/สื่อการเรียนการสอน-คืออ/ https://www.tot.co.th/sme-tips/SME-tips/2020/06/19/5-สื่อการเรียนรู้สำหรับคนยุคใหม่-ควรเรียนจากสื่อไหนบ้าง
รู้จักห้องสมุดออนไลน์ E-Library คลังความรู้ยุคดิจิทัลที่ทันสมัย รู้จักห้องสมุดออนไลน์ E-Library คลังความรู้ยุคดิจิทัลที่ทันสมัย เมื่อเราต้องการสืบค้นข้อมูล ค้นคว้าหาความรู้ อ่านหนังสือ หรือศึกษาวิจัย สิ่งแรกที่เราจะนึกถึงก็คงหนีไม่พ้นคำว่า ‘ห้องสมุด’ ศูนย์กลางของข้อมูลสารสนเทศ แหล่งรวบรวมข้อมูลมากมายมหาศาลที่เป็นดั่งคลังความรู้ของเหล่าประชาชน แต่ในยุคดิจิทัลนี้ผู้คนสามารถเข้าถึงความรู้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลาทุกสถานที่ผ่านอินเทอร์เน็ตที่ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก ทำให้ความต้องการที่จะพึ่งพาสารสนเทศจากห้องสมุดเริ่มลดลงตามมาไปทุกที ห้องสมุดออนไลน์คืออะไร? ห้องสมุดออนไลน์ หรือ E-Library ย่อมาจากคำว่า Electronic Library คือ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแหล่งความรู้สำหรับการบันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่าย มีความแตกต่างกับห้องสมุดทั่วไปในการให้บริการบางประการ เช่น ห้องสมุดดิจิทัลมีการบริการเนื้อหาข้อมูลโดยตรง เป็นห้องสมุดเสมือนที่เน้นการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่งไว้ด้วยกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานที่ในการจัดเก็บนั่นเอง ความรู้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดอย่างเดียว การเข้าถึงทรัพยากรที่เป็นแหล่งความรู้บนโลกออนไลน์ ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นสิ่งที่สังคมเรานั้นยอมรับ แน่นอนว่า การเข้าถึงความรู้เหล่านั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดเพียงอย่างเดียว เพราะการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตที่มีการแพร่หลายมาก ทำให้ทรัพยากรเนื้อหา แหล่งความรู้ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการแสวงหาความรู้ด้วย เพราะคนไม่จำเป็นต้องเดินเข้ามาในพื้นที่กายภาพ ใช้เพียงแค่อุปกรณ์พวกสมาร์ทดีไวซ์ การคลิก การเสิร์ช ก็สามารถเข้าถึงความรู้ที่มีอยู่อย่างมหาศาลในโลกไซเบอร์ได้แล้วเพียงปลายนิ้วสัมผัส การประยุกต์ใช้ E-Library ตอบโจทย์การศึกษาในยุคปัจจุบัน “การศึกษา คือ ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ให้มีการเติบโตและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง” สำหรับการศึกษาเพื่อสังคมปัจจุบันนั้น ถ้ามองการเตรียมคนเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมโลกทั่วไป คนทุกคนจะต้องมีความสามารถหาความรู้ด้วยตนเองได้ สามารถใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันได้ ความทันสมัยที่เพิ่มเข้ามา เทคโนโลยีที่ขยายกว้าง ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก สังคมกับกลายเป็นสังคมฐานความรู้ คนที่มีความรู้ดี มีความรู้ทันสมัยมักจะได้เปรียบกว่าคนอื่นเสมอ ฉะนั้น การหาความรู้อยู่เสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็นต่อสถาบันศึกษาเป็นอย่างมาก เนื้อหาสาระความรู้จะเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา การสอนจึงจำเป็นต้องสอนให้รู้วิธีหาความรู้ สอนให้รักการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และก็หนีไม่พ้นอีกเช่นเคยที่เครื่องมือในการหาความรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษา การศึกษาในปัจจุบันไปจนถึงการศึกษาในอนาคตจะปรับเปลี่ยนไปสู่ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) ซึ่งหมายถึง การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ที่ออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายกับเรียนในห้องเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียนโดยมีบรรยากาศเสมือนพบกันจริง กระบวนการเรียนการสอนจึงไม่ใช่การเดินทางไปเรียนในห้องเรียน แต่เป็นการเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาของบทเรียนได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์ ห้องสมุดออนไลน์ในประเทศไทย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ >> http://www.lib.ku.ac.th สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น >> http://www.library.kku.ac.th ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย >> http://www.car.chula.ac.th สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ >> http://library.cmu.ac.th สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ >> http://lib.tsu.ac.th สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ >> http://library.tu.ac.th สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร >> http://www.lib.nu.ac.th สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา >> http://www.lib.buu.ac.th สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม >> http://www.library.msu.ac.th หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล >> http://www.li.mahidol.ac.th สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง >> http://www.lib.ru.ac.th ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง >> http://www.lib.ru.ac.th/trang สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร >> http://lib.swu.ac.th หอสมุดสาขาวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร >> http://www.thapra.lib.su.ac.th หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร >> http://www.snamcn.lib.su.ac.th สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี >> http://tanee.psu.ac.th สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ >> http://www.clib.psu.ac.th สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช >> https://library.stou.ac.th/ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี >> http://lib.ubu.ac.th สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ >> http://library.kmutnb.ac.th สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง >> http://www.lib.kmitl.ac.th สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี >> http://www.lib.kmutt.ac.th สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ >> http://library.nida.ac.th ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ >> http://clm.wu.ac.th ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี >> http://library.sut.ac.th สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ >> http://www.library.mju.ac.th ห้องสมุดออนไลน์ในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ >> http://library.bu.ac.th ห้องสมุด มหาวิทยาลัยเอแบค >> http://library.au.ac.th หอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม >> http://library.spu.ac.th หอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ >> http://lib.payap.ac.th ห้องสมุดออนไลน์ในโรงเรียน Digital Library for SchoolNet >> http://www.school.net.th/library/ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ – ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน >> http://elibrary.nfe.go.th/ ห้องสมุดโรงเรียนสวนกุหลาบ >> http://library.sk.ac.th ห้องสมุดโรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล >> http://sglib.cjb.net ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี >> http://www.act.ac.th/service/lib/index.html ห้องสมุดออนไลน์อื่นๆ ที่น่าสนใจ หอสมุดแห่งชาติ >> http://www.nlt.go.th ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ศาลยุติธรรม >> http://www.library.coj.go.th ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงพลังงาน >> http://elibrary.energy.go.th ห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม >> http://library.tisi.go.th ห้องสมุดสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) >> http://elibrary.trf.or.th ห้องสมุดและจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย >> http://www.bot.or.th/Thai/LibraryAndArchives ห้องสมุดรัฐสภา >> http://www.parliament.go.th/library ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย >> http://www.maruey.com ห้องสมุดธรรมะ มูลนิธิบ้านอารีย์ >> http://www.baanaree.net ห้องสมุดธรรมะออนไลน์ >> http://www.dhammaonlinelibrary.com ห้องสมุดไทย >> http://www.thailibrary.co.cc ห้องสมุดทีเคออนไลน์ – TK park >> http://www.tkpark.or.th/tk ห้องสมุดดาราศาสตร์ – สมาคมดาราศาสตร์ไทย >> http://thaiastro.nectec.or.th/library/library.html ห้องสมุดงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) >> http://www.riclib.nrct.go.th ห้องสมุดความรู้การเกษตร – กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ >> http://www.doae.go.th/library ห้องสมุดความรู้ -โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา >> http://web.ku.ac.th/nk40/nk/lib ห้องสมุดการ์ตูน แอนิเมชั่น สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก >> http://www.cartoonthai.in.th/library.html ห้องสมุดกองบัญชาการกองทัพบก >> http://library.rta.mi.th ห้องสมุดกรมทรัพย์สินทางปัญญา >> http://www.ipthailand.go.th/ipl/ ห้องสมุดกฎหมาย สำนักงานกรรมการกฤษฎีกา >> http://www.krisdika.go.th ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข >> http://elib.fda.moph.go.th/library ห้องสมุดออนไลน์ในต่างประเทศ American Library Association (ALA) >> http://www.ala.org Bodleian Library >> http://www.bodleian.ox.ac.uk British Library >> http://www.bl.uk/ Catherwood Library >> http://www.ilr.cornell.edu/library Directory of USA Academic Libraries >> http://www.lib-web.org/Academic_main.html Duke University Libraries >> http://library.duke.edu Library of Congress >> http://www.loc.gov Libraries on the Web USA Special >> http://www.lib-web.org/usa-special.html OhioLINK Central Catalog menu >> http://olc1.ohiolink.edu Public Libraries >> http://www.publiclibraries.com Regional Consortia >> http://www.officialusa.com/stateguides/libraries/ State Libraries >> http://www.publiclibraries.com/state_library.htm The Library of America >> http://www.loa.org UT Library Online >> http://www.lib.utexas.edu World’s Libraries >> http://www.studyweb.com/library Australia and New Zealand >> http://www.caul.edu.au/caul-programs/ulanz Canadian Studies >> http://guides.lib.berkeley.edu/sb.php?subject_id=4498 East Asian Library >> http://www.lib.berkeley.edu/EAL/ European >> http://www.lib.berkeley.edu/doemoff/govinfo/intl/gov_eu.html Latin America: Mexico, the Caribbean, South America >> http://www.lib.berkeley.edu/MRC/LatinAmVid.html Middle East and North African Studies (MENA) >> http://guides.lib.berkeley.edu/sb.php?subject_id=4493 South Asia, South East Asia >> http://www.lib.berkeley.edu/SSEAL/ Hibrary ห้องสมุดออนไลน์สุดเจ๋งของไทย พร้อมให้บริการในรูปแบบ Interactive ไฮบรารี่ (Hibrary) ระบบห้องสมุดออนไลน์องค์กร (E-library) ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทย ถูกจัดทำขึ้นมาเพื่อตอบสนองการใช้งานและการให้บริการห้องสมุดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพแก่เหล่าประชาชนในทุกรุ่นทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น ‘เด็ก’ หรือ ‘ผู้ใหญ่’ ก็สามารถเข้าใช้งานได้ . Hibrary พัฒนาขึ้นจากการศึกษาปัญหาของระบบห้องสมุดออนไลน์ที่มีอยู่ โดยพบว่าส่วนใหญ่ประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการ การใช้งาน และงบประมาณที่มีอยู่ ซึ่งมากกว่า 75% ขององค์กรส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้ทรัพยากรที่ซื้อหรือพัฒนามาอย่างคุ้มค่าและต่อเนื่อง ทั้งที่ใช้งบประมาณเยอะตั้งแต่ 5 แสน – 3 ล้านบาท ในการพัฒนาระบบห้องสมุดออนไลน์ แต่เหลืองบประมาณในการซื้อหนังสืออีบุ๊กที่เป็นทรัพยากรสำคัญเพียง 10 – 20% เท่านั้น ทำให้ E-book ในระบบนั้นน้อยเกินไป ไม่มี E-book ใหม่เพิ่มเติมในแต่ละเดือน และไม่เป็นที่น่าสนใจของผู้ใช้งาน หรือบางครั้งหนังสือที่มีอยู่ก็ไม่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานส่งผลให้ยอดการใช้งานใน E-library ไม่เติบโตอย่างที่ควร บางองค์กรมียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันไม่ถึง 100 ครั้ง ซึ่งสวนทางกับจำนวนบุคคลกร หรืองบประมาณที่ลงทุนไป ด้วยเหตุนี้เอง จุดเด่นของ Hibrary จึงอยู่ที่การสร้างระบบการบริหารงาน การให้บริการและการใช้งาน ที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย Hibrary มีการปรับปรุงระบบผ่านมุมมอง 3 ด้าน คือ ด้านองค์กร – ต้องไม่ใช่งบเยอะในการพัฒนาระบบแต่ให้ความสำคัญกับอีบุ๊ก หรือทรัพยากรที่จะจัดหาเข้ามาให้บริการกับบุคลากรในสังกัด มีระบบบริหารจัดการห้องสมุดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ลดภาระงานของบุคลากร และมีระบบเก็บข้อมูลในเชิงสถิติเพื่อวัดผลความคุ้มค่าของอีบุ๊กที่ให้บริการ ด้านสำนักพิมพ์ – การช่วยหาโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์ เช่น รูปแบบการขายแบบรายปี หรือแบบใช้งานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งเสริมให้ทางสำนักพิมพ์นำเนื้อหาใหม่ ๆ หรือหนังสือขายดี มาให้บริการห้องสมุดออนไลน์ โดยที่ทางสำนักพิมพ์สามารถตรวจสอบได้ว่า สิทธิ์การใช้งานของแต่ละองค์กรเป็นอย่างไร มีระยะเวลาการใช้งานเหลืออยู่เท่าไร ภายใต้ระบบการจัดการลิขสิทธิ์ (DRM) ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ด้านผู้อ่าน – ที่ทางไฮบรารี่พัฒนาระบบห้องสมุดออนไลน์ด้วยการจัดทำแอปพลิเคชันที่เข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย และมีฟีเจอร์ที่ออกแบบสวยงาม คำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก มีระบบรองรับไฟล์ทั้งไฟล์ PDF หรือ E-PUB ครบตามมาตรฐาน โดยที่ไฟล์ E-PUB รองรับการอ่านออกเสียง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานที่มีปัญหาในการอ่านเข้าถึงได้ และรองรับใช้งานทั้งระบบ IOS, แอนดรอยด์ หรือผ่านเว็บไซต์ “Libby” by Overdrive ห้องสมุดออนไลน์ต่างประเทศใช้งานได้ทั่วโลก แอปพลิเคชัน “Libby” by Overdrive แหล่งบริการข้อมูลรูปแบบห้องสมุดออนไลน์ภาษาต่างประเทศบนโทรศัพท์มือถือ, แท็ปเล็ต, คอมพิวเตอร์ เป็นระบบการยืมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาอังกฤษ (eBooks), หนังสือเสียงภาษาอังกฤษ (Audiobooks) จากห้องสมุดสาธารณะ ความพิเศษของแอปพลิเคชันนี้คือ ใครที่อยากอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ หรือ ฟังหนังสือเสียงภาษาอังกฤษ สามารถใช้งานได้ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีให้เลือกหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็น Fiction / Non-Fiction / Literature / YA / Fantasy / Romance / Mystery / Historical Fiction / Self-Improvement เรียกได้ว่าตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เน้นความสะดวกสบาย เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว บวกกับการพกพาห้องสมุดติดตัวไปได้ทุกที่ ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็สามารถหยิบอ่านได้ต่อให้ออฟไลน์อยู่ก็ตาม ติดตั้งฟรี พร้อมรองรับระบบ iOS / Android / Windows OS ที่มา: https://sites.google.com/view/cblibrary2020/รวมเวบไซตหองสมดในประเทศไทย https://www.thestorythailand.com/12/03/2022/58306/ https://intrend.trueid.net/article/แอพดี-บอกต่อ-libby-ห้องสมุดขนาดพกพา-trueidintrend_47348