เขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน เขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน ก่อนจะเรียนรู้วิธีการเขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน เรามารู้จักความหมายของคำนำ กันก่อนค่าา . คำนำ คือ ส่วนแรกที่เราได้เห็นเมื่อเปิดหนังสือหรือเล่มรายงาน ซึ่งจะเล่าถึงวัตถุประสงค์ ทำขึ้นเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร อาจมีการเขียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านอย่างไร ที่สำคัญไม่ควรเขียนยาวหรือสั้นเกินไปด้วย เมื่อเขียนเสร็จ ควรลงท้ายผู้จัดทำหรือคณะผู้จัดทำรายงานด้วย . คำนำที่ดีจะทำให้คนอ่านติดตามเรื่องของเราโดยตลอด ถ้าคำนำไม่ดีเขาจะหยุดอ่าน ดังนั้นในตอนต้นควรมีวิธีการชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราให้จบ โดยต้องสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด . ราชบัณฑิตยสถาน ระบุไว้ว่า “คำนำที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้” 🌟 เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ 🌟 เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ 🌟 เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน 🌟 เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน . . สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ ได้แก่ 🌟 ไม่ควรเอาประวัติศาสตร์ หรือเรื่องพื้นๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเขียนเป็นคำนำ 🌟 ไม่ควรอธิบายคำนำอย่างฟุ้งซ่าน จนไม่มีจุดหมายของเรื่อง 🌟 ไม่ควรขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร 🌟 ไม่ควรเขียนคำนำด้วยการออกตัว เช่น ออกตัวว่าไม่พร้อมหรือไม่เชี่ยวชาญเรื่องที่เขียน อาจทำให้ผู้อ่านไม่สนใจอ่านรายงานก็ได้ 🌟 ไม่ควรเขียนซ้ำกับส่วนสรุป หรือความลงท้าย 🌟 ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ซึ่งนอกจากนี้การเขียนคำนำให้ดี ก็ต้องสามารถดึงประเด็นที่สำคัญออกมาจากเนื้อหาที่เราเขียนลงไปให้ได้ เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักๆ ของหนังสือเล่มนั้นนั่นเองค่า . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.msu.ac.th https://www.krujojotalk.com #สยามจุลละมณฑล #การเขียนคำนำ #คำนำที่ดี #เทคนิคการเขียนคำนำ คำนำ คือ ส่วนแรกที่เราได้เห็นเมื่อเปิดหนังสือหรือเล่มรายงาน ซึ่งจะเล่าถึงวัตถุประสงค์ ทำขึ้นเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร อาจมีการเขียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านอย่างไร ที่สำคัญไม่ควรเขียนยาวหรือสั้นเกินไปด้วย เมื่อเขียนเสร็จ ควรลงท้ายผู้จัดทำหรือคณะผู้จัดทำรายงานด้วย . คำนำที่ดีจะทำให้คนอ่านติดตามเรื่องของเราโดยตลอด ถ้าคำนำไม่ดีเขาจะหยุดอ่าน ดังนั้นในตอนต้นควรมีวิธีการชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราให้จบ โดยต้องสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด . #ราชบัณฑิตยสถาน ระบุไว้ว่า “คำนำที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้” 🌟 เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ 🌟 เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ 🌟 เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน 🌟 เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน . . #สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ ได้แก่ 🌟 ไม่ควรเอาประวัติศาสตร์ หรือเรื่องพื้นๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเขียนเป็นคำนำ 🌟 ไม่ควรอธิบายคำนำอย่างฟุ้งซ่าน จนไม่มีจุดหมายของเรื่อง 🌟 ไม่ควรขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร 🌟 ไม่ควรเขียนคำนำด้วยการออกตัว เช่น ออกตัวว่าไม่พร้อมหรือไม่เชี่ยวชาญเรื่องที่เขียน อาจทำให้ผู้อ่านไม่สนใจอ่านรายงานก็ได้ 🌟 ไม่ควรเขียนซ้ำกับส่วนสรุป หรือความลงท้าย 🌟 ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ซึ่งนอกจากนี้การเขียนคำนำให้ดี ก็ต้องสามารถดึงประเด็นที่สำคัญออกมาจากเนื้อหาที่เราเขียนลงไปให้ได้ เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักๆ ของหนังสือเล่มนั้นนั่นเองค่า . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : จุฑามาศ ภิญโญศรี. (2021). เทคนิคการเขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจ. https://www.msu.ac.th Kru JoJo Talk. (2554). เขียนคำนำ อย่างไรให้ดูดี. https://www.krujojotalk.com
ภาพลักษณ์ใหม่ห้องสมุดประชาชนเมืองเมมฟิสที่น่าจับตามอง #ภาพลักษณ์ใหม่ห้องสมุดประชาชนเมืองเมมฟิส . เมืองเมมฟิสตั้งอยู่ริมแม่น้ำมิสซิสซิปปี ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐเทนเนสซี เป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญด้านการขนส่งทั้งทางน้ำและทางอากาศ สมญานาม ‘เมืองแห่งเพลงบลูส์’ สะท้อนถึงวัฒนธรรมทางดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอเมริกัน-แอฟริกัน ซึ่งมีสัดส่วนประชากรร้อยละ 65 ของเมือง . นักวิจัยได้ทำการสำรวจข้อมูลของห้องสมุดนานแรมปี พบว่า คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับห้องสมุด แต่ภาพลักษณ์ห้องสมุดในทัศนะของพวกเขา คือ สถานที่เงียบงันและมีไว้เพื่อเก็บรักษาสิ่งที่เกี่ยวกับอดีต . มีการวิเคราะห์ว่า ห้องสมุดเต็มไปด้วยบริการและกิจกรรมที่น่าประทับใจ แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้ ดังนั้น ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ แต่ต้องหาวิธีทำให้ผู้ใช้บริการมองห้องสมุดในมุมที่ต่างออกไป ในฐานะพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ในทุกรูปแบบ ไม่ใช่แค่สำหรับการอ่านและยืมหนังสือเท่านั้น . สิ่งแรกที่ง่ายที่สุดคือ การเปลี่ยนบัตรสมาชิกใหม่ จากเดิมที่เป็นบัตรขาวดำไร้การออกแบบ และเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ ‘ราวกับเอกสารทัณฑ์บน’ มีการปรับปรุงขั้นตอนการสมัครและออกแบบการ์ดใหม่ให้ดูเหมือนบัตรสมาชิกสโมสรสุขภาพ ต่อมาห้องสมุดออกแบบเว็บไซต์ใหม่ทั้ง 18 สาขา รวมทั้งผลิตสื่อวีดิทัศน์โฆษณา ชื่อว่า ‘Start Here’ โดยดึงผู้ที่มีชื่อเสียงของเมืองมาเป็นพรีเซนเตอร์ เนื้อเพลงท่อนหนึ่งบรรยายว่าห้องสมุดเป็น “ร้านค้าครบวงจรที่สนับสนุนทุกสิ่งที่คุณอยากทำ” . หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ประสบความสำเร็จมาก คือ การเปลี่ยนตู้ให้เช่าภาพยนตร์ยี่ห้อ ‘Redbox’ ซึ่งตั้งอยู่ตามหน้าร้านขายของชำและร้านขายยาให้กลายเป็นโลโก้ ‘Readbox’ ภายในตู้แทนที่ด้วยหนังสือและข้อมูลเกี่ยวกับการบริการของห้องสมุด แล้วนำไปจัดวางตามสถานที่ต่างๆ ทั่วเมือง . นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดกับผู้คน รวมทั้งทำให้ห้องสมุดเข้าถึงได้และดูเป็นเรื่องน่าสนุกยิ่งขึ้น
รู้จัก วีรพร นิติประภา ผู้เคยคว้ารางวัลซีไรต์ถึง 2 เล่ม รู้จัก วีรพร นิติประภา ผู้เคยคว้ารางวัลซีไรต์ถึง 2 เล่ม “เนื่องจากมันจะเป็นนิยายเรื่องแรก มันจำเป็นต้องหาวิธีการเขียน เอาพล็อตง่ายๆ เอาพล็อตแบบที่ไม่ต้องคิด ไปยุ่งเรื่องเทคนิค เราจะเล่าเรื่องนี้อย่างไร เส้นเรื่องจะเป็นอย่างไร ไทม์ไลน์จะเป็นอย่างไร เราจะทำอย่างไร เป็นการสำรวจมากกว่า เพราะฉะนั้น มันก็เลยเริ่มด้วยพล็อตน้ำเน่าก่อน อันนี้ไอเดียแรกๆ เลย” – วีรพร นิติประภา – จากบทสัมภาษณ์ใน sanook.com . . วีรพร นิติประภา หรือ คุณแหม่ม คือหนึ่งในนักประพันธ์ไทยที่สร้างปรากฏการณ์ในแวดวงวรรณกรรมไทยด้วยการเขียนหนังสือเรื่อง #ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต นวนิยายเล่มแรกของเธอ และคว้ารางวัลซีไรต์มาได้ในปี พ.ศ.2558 ก่อนสร้างงานเขียนวรรณกรรมเนื้อหายาวออกมาอีกเล่มในชื่อ #พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ และคว้ารางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ.2561 ไปครองอีกครั้ง . ผลงานของคุณวีรพรนั้นมีจุดเด่นอยู่ที่การเล่าเรื่องและภาษาที่ละเมียดละไม และเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับการเมืองและสังคม นั่นจึงทำให้หนังสือที่เธอได้เขียนออกมามีคนให้ความสนใจเป็นวงกว้าง . . นอกจากหนังสือ 2 เล่มนี้ที่เธอคว้ารางวัลมา ก็ยังมีผลงานหนังสืออีกมากมายที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น . 📓 #โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก 📓 #ทะเลสาบน้ำตา 📓 #สมิทธิ์อายุ35ปี
5 ข้อสำหรับการเป็นนักเขียนรีไรต์ที่ดี การรีไรต์ ก็เหมือนกับการนำบทความ เนื้อหา ของผู้อื่นมาต่อยอดเป็นงานเขียนของตัวเองให้มีคุณภาพย่ิงขึ้น โดยมีการประยุกต์คำ ประโยคขึ้น ใส่มุมมองใหม่ๆ ของเราให้รูปประโยค เนื้อความกระจ่างขึ้นนั่นเอง แต่เนื้อความในบางจุดยังคงมีเรื่องที่นักเขียนท่านอื่นได้เขียนหรือเล่าเรื่องราวไปบ้างแล้ว . การรีไรต์อาจมองว่าเป็นการก๊อปปี้ผลงานของผู้อื่น แต่ในบางครั้งเราก็มองได้ว่า นี่คือการสร้างสรรค์งานเขียนให้ดีขึ้นกว่าเดิม . แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับนักเขียนทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ที่ถนัดในการเขียนรีไรต์ นั่นคือ บทความที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่นั้นจะต้องไม่เป็นเรื่องที่ล่อแหลม หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นค่ะ . นอกจากนั้น สิ่งที่เราควรตระหนักถึงก็คือ หากเนื้อหาในบทความที่เราได้สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่นั้น เป็นแนวหาในเชิงที่ต้องให้เครดิตแก่ผู้คิดค้น เราไม่ควรละเลยการยกเครดิตให้กับเจ้าของบทความเดิม ผู้ซึ่งเป็นคนคิดค้นไอเดียนั้น หรือถ้อยคำนั้น และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะแอบอ้างเอาชื่อตัวเองใส่ลงไปว่าเราเป็นผู้คิดค้นสิ่งนั้นๆ ด้วยตนเองเป็นอันขาดค่ะ เพราะจะมองได้ว่าเป็นการไม่เคารพผู้อื่น แถมเรายังไม่เคารพตัวเองอีกด้วยนะคะ . . ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูว่า การเป็นนักเขียนรีไรต์ที่ดี ควรทำอย่างไรกันค่ะ . 1 นักเขียนทุกคนจะต้องรับรู้และใส่ใจในรายละเอียดการเขียนบทความที่มีคุณภาพ ด้วยเนื้อหาที่ต้องดีกว่า มากกว่า และลงลึกได้ชัดเจนกว่าต้นฉบับ และยังต้องถูกต้อง รวมถึงมีความน่าเชื่อถือด้วย . 2 สำนวนในการเขียนและสร้างสรรค์ผลงานจะต้องดี อ่านแล้วเข้าใจ ไม่มีคำหยาบ หรือ ดิสเครดิตใคร รวมถึงจะต้องไม่ลอกเลียนสำนวนของผู้อื่น เพราะการที่นักเขียนแต่ละคนมีสำนวนของตัวเอง นับว่าเป็นเสน่ห์ของตัวเองที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้อ่านค่ะ . 3 การรีไรท์บทความที่ดี จะต้องมีเนื้อหาที่ครอบคลุม ตอบโจทย์ทุกความสงสัยของผู้อ่าน นั่นหมายถึง ทุกคำที่เราเขียนลงไปจะต้องเป็นคำตอบที่ผู้อ่านอยากจะรู้ . 4 ที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างที่เราเขียนขึ้นมา หากเป็นเชิงหลักการ ไม่ใช่เชิงแนวความคิด เห็น จะต้องมีแหล่งข้อมูลของเนื้อหาที่เชื่อถือได้ ไม่ตุตะเอาเอง . 5 ต้องรู้จักตรวจเช็กข้อมูลทุกครั้ง ตรวจดูว่าข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการเขียน ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น อายุ พ.ศ. เวลา เป็นต้น เพราะเป็นจุดเล็กที่หลายคนมักจะมองข้าม และทำให้พลาดใส่ข้อมูลผิดลงไปได้ค่ะ
กระดาษข่อย ผลผลิตจากสมัยโบราณ กระดาษข่อย ผลผลิตจากสมัยโบราณ กระดาษข่อยเป็นสมุดเอกสารตัวเขียนแบบพับที่เคยนิยมใช้ในวัฒนธรรมพุทธ ส่วนใหญ่มักใช้เขียนตำราทางโลก เช่น พระราชพงศาวดาร เอกสารทางกฎหมาย และงานวรรณกรรม ในขณะที่เอกสารตัวเขียนใบลานมักใช้กับตำราทางศาสนา นอกจากนี้ สมุดนี้มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น ‘ปะระไบ’ ในภาษาพม่า ‘สะหมุดข่อย’ ในภาษาลาว ‘พับสา’ ในภาษาไทยถิ่นเหนือและลาว และ ‘ไกรง์’ ในภาษาเขมร . กระดาษข่อยถือเป็นกระดาษที่คนไทยผลิตขึ้นใช้เองมาแต่โบราณ แต่เมื่อระบบการผลิตกระดาษแบบอุตสาหกรรมและการพิมพ์เข้ามาการทำกระดาษข่อยก็เริ่มสูญหายไป แม้ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า การทำกระดาษในเมืองไทยเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อใด แต่พบว่าในสมัยอยุธยามีการทำกระดาษข่อยใช้แล้ว โดยหลักฐานสำคัญคือพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ที่บันทึกพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาบนกระดาษข่อยสีดำด้วยตัวอักษรสีขาว (หรือเรียกว่า สมุดไทยดำ) ตามที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงมีรับสั่งให้เรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ.2223 . ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้บันทึกการทำกระดาษและสมุดของชาวกรุงศรีอยุธยาไว้ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ในราว พ.ศ.2223 ว่า “…ชาวสยามทำกระดาษจากผ้าฝ้ายเก่าๆ และยังทำจากเปลือกต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อต้นข่อย (Ton Coe) อีกด้วย ซึ่งต้องนำมาบดย่อยให้ละเอียด เช่น การย่อยผ้าขี้ริ้ว แต่กระดาษเหล่านี้มีความหนาบางไม่สม่ำเสมอ ทั้งเนื้อกระดาษและความขาวผ่องก็หย่อนกว่าของเรา… “…หนังสือของพวกเขาไม่มีการเข้าเล่ม เย็บสัน หากทำเป็นยาวเหยียดไม่ใช้วิธีม้วนเก็บเช่นบรรพบุรุษของเรา หากพับทบไปมาอย่างพับพัดด้ามจิ้ว และทางที่ตีเส้นบรรทัดเขียนตัวอักษรนั้นเป็นไปตามยาวของรอยพับหาได้เขียนทางด้านขวางไม่” . (อ้างอิงจาก จดหมายเหตุลาลูแบร์ราชอาณาจักรสยาม แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร, เล่ม 1, พ.ศ.2510) . . ซึ่งในปัจจุบันเองยังมีการผลิตกระดาษข่อยมาใช้อยู่นะคะ อยู่ที่ #ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทองค่ะ . ทางศูนย์ฯ ใช้ #กระดาษข่อยโบราณ ในการทำหัวโขน ทำตาลปัตรถวายแด่พระสงฆ์ในงานพิธีสงฆ์ของศูนย์ศิลปาชีพต่างๆ และทำเป็นของที่ระลึกจำหน่ายในการแสดงโขนของมูลนิธิ โดยเขียนภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณีไทยลงบนกระดาษข่อย . ซึ่งกว่าจะได้กระดาษข่อย 1 แผ่น สมุดข่อย 1 เล่ม และหัวโขน 1 หัว ต้องผ่านขั้นตอนการทำที่ซับซ้อนบวกกับแรงกาย แรงใจ และทักษะฝีมืออย่างมาก ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทองในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงเป็นแหล่งบ่มเพาะคนรุ่นใหม่เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาของไทยมิให้สูญหาย
กระดาษแผ่นแรกของโลก เรื่องไม่ลับ เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล กระดาษแผ่นแรกของโลก เรื่องไม่ลับ เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล #กระดาษ วัสดุแผ่นบางๆ ผลิตขึ้นมาเพื่อการจดบันทึก 📃 . เรื่องราวของกระดาษนั้นมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากค่ะ ว่ากันว่ากระดาษถูกคิดค้นและมีการใช้กระดาษครั้งแรกจาก #ชาวอียิปต์ และ #ชาวจีนโบราณ จุดประสงค์หลักของกระดาษถูกสร้างขึ้นเพื่อการจดบันทึกด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งในปัจจุบันเรารู้กันดีว่า กระดาษไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ใช้จดบันทึกตัวหนังสือหรือข้อความเท่านั้น แต่ยังใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น กระดาษห่อของขวัญ กระดาษสำหรับทำกล่อง กระดาษชำระ เป็นต้น . #กระดาษแผ่นแรกของโลก ถูกคิดค้นโดยชาวอียิปต์โบราณ เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล 🤩 เรียกกันว่า กระดาษปาปิรุส (Papyrus) ผลิตจากหญ้าที่ชื่อว่า ”ปาปิรุส” หรือต้นกก 🌱 . #กระดาษของชาวอียิปต์โบราณ ซึ่งกรรมวิธีในการทำกระดาษปาปิรุสของอียิปต์นั้น ทำโดยการจัดวางต้นกกปาปิรุสให้เป็นแนวขวางขัดกันและนำมาบทอัดจนแน่นพร้อมทั้งทำให้แห้งโดยการตากแดด เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวัสดุและวิธีการผลิต เพื่อให้ได้กระดาษที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นจนถึงสมัยปัจจุบันที่ใช้ต้นยูคาลิปตัสแทนต้นปาปิรุสนั่นเองค่ะ . นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า มีการใช้งานกระดาษปาปิรุสตั้งแต่ปฐมราชวงศ์ของอียิปต์ (ราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล) . ผู้คนสมัยในโบราณจะใช้วัสดุต่างๆ หลากหลายเพื่อการบันทึก ทั้งแผ่นโลหะ⚙️ ใบลาน📜 เปลือกไม้🪵 แม้กระทั่งหิน🪨 และเมื่อราว ค.ศ.105 สมัยพระเจ้าจักรพรรดิโฮตี่ ชาวจีนได้ประดิษฐ์กระดาษโดยชาวเมืองลีบางชื่อว่า ไซลุง (Ts’ai’Lung) ใช้เปลือกไม้เศษมาต้มจนได้เยื่อกระดาษและมาเกลี่ยบนตระแกรงปล่อยให้แห้งและหลังจากนั้นวิธีผลิตกระดาษเช่นนี้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว . กระดาษถูกนำจากประเทศจีนสู่โลกมุสลิมผ่านสงครามทัลลัส (Tallas) ในปี ค.ศ.751 ที่กองทัพจีนรบกับกองทัพมุสลิม เชลยศึกชาวจีน 2 คนได้เปิดเผยวิธีการทำกระดาษแก่ชาวมุสลิมและได้รับการปล่อยตัวไป จากนั้นมุสลิมได้ทำให้การทำกระดาษเปลี่ยนจากศิลปะไปเป็นอุตสาหกรรมกระดาษ ทำให้มีการพัฒนาการศึกษาในโลกมุสลิมอย่างกว้างขวาง มุสลิมในสมัยกลางจึงเจริญก้าวหน้าด้านศิลปวิทยาการที่สุดในโลก . . ขั้นตอนการผลิตกระดาษปาปิรุส . โจชัว มาร์ก (Joshua Mark) บรรณาธิการสารานุกรมอียิปต์ ระบุว่ากระดาษปาปิรุสเป็นรากฐานของกระดาษสมัยใหม่ โดยทำมาจากต้นกกปาปิรุส (Cyperus papyrus) ซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอียิปต์และตลอดช่วงของหุบเขาแม่น้ำไนล์ในสมัยโบราณ . หลังจากที่รวบรวมลำต้นปาปิรุสแล้ว พวกเขาจะทำการลอกเปลือกของต้นปาปิรุสออก และฝานออกเป็นชิ้นบางๆ เมื่อเสร็จแล้วก็จะนำเนื้อของต้นปาปิรุสที่ถูกฝานไปแช่ในน้ำและกดอยู่ภายใต้หินหนักเป็นเวลา 21 วัน จนกว่าเนื้อของต้นปาปิรุสนั้นจะมีความนุ่ม . เมื่อได้เนื้อของต้นปาปิรุสนุ่มตามที่ต้องการแล้ว ก็จะนำมาวางเรียงกันในตะแกรงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยจะวางเนื้อของต้นปาปิรุสนี้ด้วยกันสองชั้นในทิศทางสลับกัน คือชั้นแรกวางในแนวตั้ง และชั้นที่สองวางในแนวนอน ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงที่อยู่ในพืชจะทำหน้าที่เสมือนกาวช่วยยึดติดเนื้อของต้นปาปิรุสที่ถูกฝานทั้งสองชั้นเข้าด้วยกัน . ในขณะที่เนื้อของต้นปาปิรุสทั้งสองชั้นยังชื้นก็ใช้ค้อนไม้มาทุบเนื้อของต้นปาปิรุสที่ถูกวางเป็นชั้นๆ ให้กลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งก็จะได้กระดาษปาปิรุสออกมาเป็นแผ่นนั่นเองค่ะ . เมื่อกระดาษที่ได้แห้งสนิทแล้ว จะถูกนำมาขัดด้วยวัตถุที่มีลักษณะกลมเช่น หิน เปลือกหอย หรือไม้เนื้อแข็งที่มีลักษณะกลม เป็นต้น . กระดาษปาปิรุสที่ผ่านการขัดแล้วจะมีผิวเรียบน่าเขียนมากขึ้น และเนื่องจากกระดาษปาปิรุสในยุคก่อนมีราคาที่แพงมาก ชาวอียิปต์จึงนำกระดาษที่ใช้แล้วมาล้างคราบหมึกให้สะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ค่ะ . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : thaigoodview.com/node/153727 oknation.net