แบบไหนที่คุณเป็น? 10 ประเภทของนักอ่าน

แบบไหนที่คุณเป็น?
10 ประเภทของนักอ่าน
.
1. The Hate Reader
คุณเป็นคนประเภทอารมณ์ร้าย กระหายในการอ่าน หรือหากจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น คุณคือคนที่อ่านแล้วจะตำหนิติเตียนผู้แต่งตลอดเวลา คุณคาดหวังจะให้เนื้อเรื่องเป็นไปตามใจ อ่านไปแล้วก็ตั้งข้อสงสัยอยู่เสมอ เป็นประเภทที่ยิ่งอ่านยิ่งฉุนเฉียว แต่มันเพิ่มอรรถรสในการอ่านให้คุณอย่างมาก
.
2. The Chronological Reader
คุณเป็นคนประเภทอ่านไปตามลำดับ ค่อยเป็นค่อยไป ช้าแต่มั่นคง คุณเป็นประเภทซื้อหนังสือมาแล้วไม่ตั้งกองไว้เฉยๆ แต่จะอ่านมันทุกเล่ม คุณอ่านหนังสือแต่ละเล่มอย่างมีแบบแผนและเหตุผล แต่ถ้าคุณเกิดเบื่อขึ้นมาทิ้งมันไว้เฉยๆ ลึกๆ ในใจคุณจะไม่สบายใจ จนในที่สุดก็จะไปหยิบมันมาอ่านจนจบ
.
3. The Book-Buster
ห้องของคุณเต็มไปด้วยหนังสือ แต่ก็ไม่ได้ถูกจัดวางในที่ที่มันควรอยู่ แต่คุณคือคนที่ชอบอ่านหนังสือและรักหนังสือมากคนหนึ่ง คุณอาจจะนอนกอดหนังสือ เอามันไปอ่านในห้องน้ำ อ่านไปซะทุกที่ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตาม
.
4. Delayed Onset Reader 1
คุณเป็นประเภทที่เดินผ่านร้านหนังสือไม่ได้ จะต้องเข้าไปดูและซื้อมันอย่างน้อยหนึ่งเล่ม แล้วพอถึงบ้านคุณก็เก็บมันไว้ แล้วก็อาจลืมไปเลยว่าเคยซื้อเล่มนี้มา คุณมองหนังสือเป็นเหมือนเฟอร์นิเจอร์ประดับห้อง คุณอยากอ่านมัน แต่พอหยิบมาอ่านทีไรคุณก็มีเหตุผลทุกทีว่าฉันยุ่ง ฉันไม่ว่าง ฉันไม่มีเวลาอ่านมัน สุดท้ายหนังสือที่ซื้อมาก็กองอยู่ตรงนั้นไม่ได้อ่านสักที แต่ถ้าวันไหนคุณตัดสินใจหยิบมันขึ้นมาคุณก็พบว่ามันสนุกจนวางไม่ลงเลยทีเดียว เป็นผู้อ่านประเภทที่ต้องบิ้วอารมณ์ตัวเองนานหน่อย
.
5. Delayed Onset Reader 2
คุณไม่ใช่นักอ่าน แต่คุณซื้อหนังสือมาเพื่อที่จะโชว์ว่าคุณมีนะ หากคุณเป็นคนที่ร่ำรวยคุณอาจทำห้องสมุดสวยๆ ขึ้นมาเพื่อไว้โชว์หนังสือต่างๆ ที่คุณมีเลยก็ว่าได้ แต่จะซื้อมาโชว์ทำไมถ้าคุณไม่ได้อ่าน หนังสือก็หมดความหมายหรือเปล่า พิจารณาให้ดีว่าคุณได้อ่านมันบ้างหรือยัง อ่านเถอะ หนังสือรอคุณเปิดมันอยู่
.
6. The Bookphile
ไม่ใช่แค่รักการอ่าน แต่คุณเป็นคนที่รักหนังสือ กลิ่นของหนังสือเก่าๆ มันยั่วยวนจิตใจของคุณมาก คุณรักหนังสือมากกว่าสิ่งอืนใด ชอบที่ได้สะสมหนังสือเก่าๆ ใครพับมุมกระดาษของหนังสือที่ยืมคุณไป คุณอาจโกรธอยู่หลายวันหลายคืนทีเดียวล่ะ
.
7. The Anti-Reader
คุณคือคนประเภทที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ด้วยเหตุผลที่ว่ามันยาวเกินไป คุณกลัวการอ่านอะไรยาวๆ แม้กระทั่งพวกบล็อกหรือบทความต่างๆ แต่คุณรู้ไหมว่า ชีวิตที่ขาดการอ่านหนังสือมันเป็นชีวิตที่น่าเศร้าจริงๆ นะ เราแนะนำให้คุณเริ่มต้นด้วยการอ่านอะไรสั้นๆ ง่ายๆ ลองเข้าไปในร้านหนังสือ หยิบหนังสือเล่มบางๆ ขึ้นมาพลิกดู เปิดผ่านหน้าแต่ละหน้าแล้วคุณจะพบว่ามันก็จะมีอีกด้านของชีวิตที่น่าสนใจรออยู่
.
8. The Cross-Under
คุณเป็นคนที่โตมากับการอ่านหนังสือเด็ก หรือไม่ก็เป็นเด็กที่อ่านหนังสือผู้ใหญ่ คุณไม่มีกฏเกณฑ์ในการอ่าน ตอนสมัยคุณเด็กๆ เวลาที่คุณไปยืมหนังสือในห้องสมุด บรรณารักษ์อาจเคยกล่าวกับคุณว่าหนังสือเล่มนี้มันยากเกินกว่าที่เธอจะเข้าใจนะ แต่ก็เหอะใช่ว่าคุณจะสนใจคำตักเตือนนั้น นำมันไปอ่านทั้งๆ ท้ายที่สุดอาจไม่ได้อะไรจากมันก็ตามที หากคุณเป็นคนประเภทนี้คุณคือผู้ที่มีความคิดเป็นอิสระอย่างแท้จริง
.
9. The Multi-Tasker
คุณเป็นนักอ่านหนังสือนะ แต่จะอ่านมันไม่เคยจบเล่มเลย คุณอาจเตรียมหนังสือดีๆ สักเล่มไว้อ่านแต่อ่านไปอ่านมาคุณอาจจะต้องไปทำงานที่ค้างอยู่ หรือกำลังอ่านอยู่ดีๆ ก็ต้องไปกินข้าว ซักผ้า หรือทำอะไรสารพัดอย่างจนขัดจังหวะการอ่านของตัวเอง ทำให้เกิดอาการต่อไม่ติด ไม่อินกับคาแรคเตอร์ สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนเล่มใหม่ทั้งที่ยังอ่านไม่ทันจะจบเล่มเลย วิธีการอ่านเรื่องยาวอาจไม่เหมาะกับคุณ แต่หากคุณมีลักษณะการอ่านแบบนี้คุณจะเป็นคนที่สามารถทำเรื่องงานและเรื่องรักให้ดีได้ในเวลาเดียวกัน
.
10. The Sleepy Bedtime Reader
ช่วงเวลาก่อนนอนเป็นเวลาเดียวที่คุณอยากจะอ่านหนังสือ มีหนังสือวางอยู่ข้างเตียงตลอดเวลา แต่เมื่อคุณเริ่มเปิดอ่านทีไร คุณก็จะหลับไปอย่างไม่รู้ตัว และตื่นมาพร้อมกับมีหนังสือกองอยู่ที่เตียง หรือไม่ก็วางอยู่บนหน้าของคุณ เป็นเรื่องที่น่าอายอยู่เหมือนกัน อย่าให้ใครรู้เชียวล่ะว่าหนังสือที่มีอยู่เต็มบ้านนั้นคุณอ่านไม่จบสักที
.
แล้วคุณล่ะคะ เป็นแบบไหนใน 10 ข้อนี้

รู้จักประเภทกระดาษที่นิยมใช้การพิมพ์หนังสือ

หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า กระดาษที่ใช้ในการผลิตหนังสือมีกี่ประเภท อะไรบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกันค่ะ
.
กระดาษปอนด์
เป็นกระดาษที่มีความหนาอยู่ที่ 80 – 120 แกรม มีสีขาว เนื้อเรียบ เป็นประเภทกระดาษมาตรฐานที่นิยมนำมาใช้พิมพ์หนังสือโดยทั่วไป ราคาไม่แพงมาก เหมาะกับงานพิมพ์หนังสือหลายประเภท
.
กระดาษถนอมสายตา
เรามักจะได้เห็นกระดาษถนอมสายตาในหนังสือนิยาย หรือหนังสือที่มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ เพราะกระดาษประเภทนี้เป็นกระดาษที่ช่วยถนอมสายตาขณะอ่าน และยังช่วยลดแสงสะท้อนที่เป็นการรบกวนสายตาอีกด้วย เนื้อกระดาษเป็นสีเหลืองนวลอ่อนๆ ทำให้รู้สึกสบายตา ความหนามาตรฐานของกระดาษถนอมสายตาจะอยู่ที่ 75 แกรม ราคาสูงกว่ากระดาษปอนด์ไม่มาก
.
กระดาษอาร์ต
เป็นกระดาษที่มีราคาแพงกว่ากระดาษปอนด์และกระดาษถนอมสายตา เพราะเป็นกระดาษที่มีคุณสมบัติดีที่สุด เหมาะกับการนำไปใช้พิมพ์หนังสือ ปกหนังสือ โบรชัวร์ โปสเตอร์ ฯลฯ มีความหนาตั้งแต่ 85 – 190 แกรมขึ้นไป โดยกระดาษอาร์ตจะแบ่งออกเป็นอาร์ตมัน อาร์ตด้าน และอาร์ตการ์ด
• กระดาษอาร์ตมัน มีความหนาตั้งแต่ 85 – 160 แกรม ผิวกระดาษจะเป็นมันเงา ทำให้งานที่พิมพ์ออกมามีความใกล้เคียงกับสีจริง
• กระดาษอาร์ตด้าน มีความหนาตั้งแต่ 85 – 160 แกรม ผิวกระดาษเรียบและมีความด้าน ไม่มันเงา เมื่อพิมพ์งานออกมาสีที่ได้จะไม่สดเท่ากับกระดาษอาร์ตมัน
• กระดาษอาร์ตการ์ดแบบ 1 หน้า มีความหนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้พิมพ์หนังสือที่ต้องการความหนาเป็นพิเศษ สามารถพิมพ์อาร์ตหน้าเดียวได้
• กระดาษอาร์ตการ์ดแบบ 2 หน้า มีความหนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้พิมพ์หนังสือที่ต้องการความหนาเป็นพิเศษ สามารถพิมพ์อาร์ตได้ทั้ง 2 หน้า (หน้า-หลัง)
.
ทั้งหมดคือกระดาษที่นิยมใช้ในการพิมพ์หนังสือ ซึ่งกระดาษแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป หากต้องการพิมพ์หนังสือก็สามารถเลือกกระดาษได้ตามจุดประสงค์ของการใช้งานและตามความต้องการได้ค่ะ
 

ว่าด้วยเรื่อง ‘ดินสอ’ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้ประวัติ

‘ดินสอ’ หนึ่งในเครื่องเขียนต้นๆ ที่เราต่างเคยใช้ขีดเขียน วาดภาพ แรเงา คอยให้ความสะดวกสบายแก่เราในหลายๆ เรื่อง
.
แต่จะมีใครในที่นี้รู้บ้างล่ะคะว่า ดินสอนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากตรงไหน มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง จนพัฒนามาเป็นเครื่องเขียนให้เราใช้ขีดเขียน จดบันทึก มาจนถึงทุกวันนี้
.
ถ้าอยากรู้… สยามจุลละมณฑลจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
.
.
#จุดกำเนิดและประวัติของดินสอ เริ่มเมื่อประมาณ 400 กว่าปีก่อน
.
ในปี ค.ศ.1564 เกิดเหตุพายุใหญ่ในทุ่งเลี้ยงแกะ ที่ประเทศอังกฤษ ต้นไม้ถูกพายุพัดถอนรากถอนโคนเป็นจำนวนมาก เมื่อพายุสงบ ชาวบ้านพบหินสีดำอยู่ใต้ดิน ณ บริเวณรากของต้นไม้ที่โค่นล้ม หลังจากทดลองนำมาขีดเขียน ปรากฏว่ามีความคมชัดดี ไม่ต่างจากน้ำหมึก คนเลี้ยงแกะจึงนำมาเขียนสัญลักษณ์ลงบนตัวแกะ จากนั้นจึงมีการนำมาใช้เรื่อยๆ ไม่ว่าจะทำเครื่องหมายบนสินค้าเพื่อบอกรายละเอียดอย่างชนิด จำนวน และราคาของสินค้านั้นๆ
.
ซึ่งหินสีดำที่ค้นพบในครั้งนั้นคือ แกรไฟต์ (Graphite เป็นคาร์บอนชนิดหนึ่ง) จึงเรียกได้ว่านี่เป็นการค้นพบวัสดุที่ใช้ทำไส้ดินสอได้ดีโดยบังเอิญก็ว่าได้
.
.
แกรไฟต์ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งใช้เขียนใช้วาด หรือแม้แต่เป็นส่วนผสมในกระสุนปืนใหญ่ เนื่องจากช่วงเวลานั้นมีสงครามน้อยใหญ่มากมายเกิดขึ้นในยุโรป จนในที่สุดแกรไฟต์ก็ขาดตลาด
.
กระทั่งในปี ค.ศ.1795 นิโคลาส แจ็ก คอนเต้ หัวหน้านักเคมีและนักประดิษฐ์ชั้นแนวหน้าของฝรั่งเศส ค้นพบวิธีการบดแกรไฟต์โดยนำมันมาผสมเข้ากับดินเหนียวและน้ำ ทำให้คล้ายก้อนแป้งเปียก ก่อนจะนำไปกดลงแม่พิมพ์แล้วเผา
.
ซึ่งในยุคแรกแท่งแกรไฟต์จะถูกใช้แบบเพียวๆ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความสกปรกเลอะเทอะ คนยุคนั้นจึงมักใช้เชือก กระดาษ หรือผ้า พันแกรไฟต์ไว้ก่อนจะเขียน ภายหลังมีการคิดค้นวิธีการนำไม้มาประกบเข้ากับไส้ดินสอ มนุษย์จึงเริ่มมีดินสอไม้ที่กลายเป็นต้นตำรับของดินสอมาจนถึงปัจจุบัน
.
.
และนี่เป็นสรุปสั้นๆ ที่ทางเรานำมาเล่าให้ทุกคนได้รู้ถึงจุดกำเนิด ที่มาที่ไปของเจ้าดินสอที่เราใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ

สรุป 11 ขั้นตอน เขียนหนังสือเริ่มต้น สำหรับมือใหม่

หนังสือเรื่อง How to Write A Book ของ David Kadavy เป็นหนังสือสั้นๆ ที่อธิบายวิธีการเขียนหนังสือแบบเป็นขั้นตอนสำหรับมือใหม่ สยามจุลละมณฑลจึงขอสรุปเนื้อหาสำคัญมาให้อ่านกันค่ะ
.
สรุป 11 ขั้นตอน เขียนหนังสือเริ่มต้นสำหรับมือใหม่ จากหนังสือ How to Write A Book
.
1. สร้างนิสัยการเขียนแบบน้อยๆ
เริ่มด้วยการเขียนทุกวันหรือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยแบ่งเวลา 10 นาทีในการเขียนทุกวัน จนกระทั่งเป็นนิสัย
*สิ่งสำคัญคือ เริ่มต้นน้อยๆ ก่อน อย่าฝืนตัวเอง เพราะการเขียนน้อยๆ จะทำให้เราไม่มีข้อแก้ตัวในการไม่เขียน
.
2. รู้ว่าหนังสือคืออะไร
หนังสือคือผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่ง ผลิตภัณฑ์คือสิ่งของที่ลูกค้าซื้อเพื่อทำงานบางอย่าง ดังนั้นนักเขียนควรเข้าใจหนังสืออย่างแท้จริง
.
3. สร้างนิสัยการเผยแพร่งานเขียน
หลังจากที่เขียนจนเป็นนิสัยแล้ว ก็เริ่มเผยแพร่งานเขียนของตนเองด้วยการ publish งานเขียนใน Medium.com
.
4. สร้าง Email List
การสร้าง email list จะทำให้เรามีกลุ่มผู้อ่านที่จะติดตามงานเขียนของเราทาง email โดยอาจมีของขวัญมอบให้ผู้สมัครใน mailing list เช่น บทความพิเศษ หนังสือแจกฟรี
.
5. ตั้งชื่อหนังสือที่ขายได้
การตั้งชื่อหนังสือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมีสิ่งที่ต้องพิจารณา เช่น เป็นคำที่เข้าใจง่ายหรือไม่ ชื่อเรื่องมีความหมายแอบแฝงหรือไม่ คนอ่านกล้าหยิบหนังสือเรื่องนี้มาอ่านหรือบอกคนอื่นว่าอ่านเรื่องนี้หรือไม่
.
6. เขียนโครงร่างหนังสือ
เขียนโครงร่างหรือบทต่างๆ ของหนังสือ ซึ่งอาจต้องลองเขียนหลายครั้ง จนกว่าจะได้โครงร่างหนังสือที่เหมาะสมในที่สุด เราจะได้โครงร่างหนังสือที่พร้อมจะเขียนเป็นฉบับร่าง
.
7. เขียนฉบับร่างครั้งแรก
วางแผนว่า แต่ละวันจะเขียนกี่คำ กำหนดตารางเวลาที่แน่นอน และทำตามกำหนดการให้ได้ในฉบับร่างครั้งแรก อาจเขียนบทละ 250 – 500 คำ ซึ่งสำหรับคนที่เขียนสม่ำเสมอแล้ว จะไม่ใช่เรื่องยาก
.
8. อ่านฉบับร่างครั้งแรก
เมื่อเขียนฉบับร่างครั้งแรกเสร็จแล้วก็พิมพ์บนกระดาษ จะทำให้เราภูมิใจที่ได้เห็นงานเขียนของเราเป็นรูปธรรมหรือจับต้องได้ จากนั้น อ่านงานเขียนทั้งหมดเพื่อให้เห็นภาพรวมของการเขียนทั้งหมด แล้วหยุดไปทำอย่างอื่น โดยไม่แตะต้องต้นฉบับอีกหลายวันหรือหลายสัปดาห์
.
9. ปรับปรุงโครงร่างหนังสือ
เมื่อกลับมาดูฉบับร่างอีกครั้ง เราอาจเกิดไอเดียใหม่ในการปรับปรุงโครงร่างหนังสืออีกครั้ง อาจตัดบางอย่างหรือเพิ่มเนื้อหาบางอย่าง
.
10. เขียนฉบับร่างครั้งที่สอง
ถึงเวลาปรับปรุงฉบับร่างครั้งแรกอีกครั้ง โดยดูที่โครงร่างของหนังสือ ประโยคของแต่ละบทและเรื่องเล่าประกอบของแต่ละบท เพื่อทำให้หนังสือน่าสนใจมากขึ้น
.
11. เขียนฉบับร่างครั้งสุดท้าย
หาบรรณาธิการเพื่อช่วยตรวจหนังสือ หาคำผิดต่างๆ และถึงเวลาของนักเขียนที่ต้องยอมรับว่า หนังสือที่เขียนอาจจะไม่สมบูรณ์ 100 % แต่แทนที่จะเสียเวลาอีกหลายเดือนในการปรับปรุงหนังสือ การตีพิมพ์หรือเผยแพร่หนังสือตอนนี้อาจจะดีกว่าเพราะเรายังเขียนหนังสือเล่มอื่นที่ดีกว่านี้ได้เสมอ

ใครอยากมีหนังสือเป็นของตัวเองต้องอ่าน!!

ใครอยากมีหนังสือเป็นของตัวเองต้องอ่าน!!

หากคุณเป็นนักเขียนที่ต้องการสร้างรายได้ผ่านงานเขียน หรือนักวิชาการที่กำลังทำผลงานเพื่อตำแหน่งทางวิชาการ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรให้ผลงานออกไปสู่สายตาประชาชน เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี!!

หนังสือเล่มหนึ่งนั้นกว่าจะสามารถออกไปสู่สายตายของสาธารณชนได้ ล้วนแล้วแต่จำเป็นต้องผ่านการดูแลจากผู้มีประสบการณ์ในวงการนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่า ‘ผลงาน’ ที่ถูกตีแผ่ออกไปอยู่ในระดับคุณภาพที่สูง เพื่อสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือและองค์ความรู้ของเจ้าของผลงานชิ้นนั้นด้วย

นอกจากนี้การสร้างงานเขียนที่ดีนั้น หากขาดการสื่อสารที่ตรงจุด หรือรายละเอียดที่ตรงประเด็นแล้ว จะเป็นงานเขียนที่สมบูรณ์แบบได้อย่างไร ?

เราเชื่อว่า มีนักเขียน หรือ ผู้ที่ใฝ่ฝันอยากมีหนังสือของตัวเองจำนวนไม่น้อย มีความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถในการบอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวอักษร แต่…ยังขาดสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการผลิตผลงานออกมาให้สมบูรณ์แบบ นั่นก็เท่ากับว่างานเขียนนั้นยังมีช่องว่างอยู่

เราอยากให้ทุกท่านเข้าใจว่า งานเขียนจำเป็นต้องเขียนสื่อสารได้ตรงตามหลักจุดประสงค์ สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิด และอารมณ์ใส่ลงไปในงานเขียนได้อย่างครบถ้วน และงานเขียนที่ดีก็ควรจะเขียนรูปคำให้ถูกต้อง ไม่มีคำที่เขียนผิด นั่นก็เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ

การใช้คำให้ตรงความหมายก็เช่นเดียวกัน คำในภาษาไทยบางคำนั้นมีหลายคำหลายความหมาย ทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง ผู้เขียนจะต้องศึกษาเรื่องการใช้คำให้ดีก่อนลงมือเขียน แล้วจึงเรียบเรียงคำเข้าประโยคให้ถูกต้องและสละสลวย

สิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าการสื่อสารผ่านข้อความ นั่นคือการตรวจทานเพื่อความถูกต้อง เพราะงานเขียนที่สมบูรณ์แบบไม่ได้มาจากการเขียนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

สำหรับท่านที่ต้องการทำผลงานเพื่อตำแหน่งทางวิชาการ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่า 20 ปีด้วยกัน คอยให้คำปรึกษาและการดูแลด้วยความใส่ใจ ตลอดจนผลงานของท่านนั้นออกมาเสร็จสมบูรณ์

เราและทีมงานมืออาชีพพร้อมสนับสนุน แต่งเติมสีสัน ปั้นแต่งให้งานเขียนของคุณ ให้น่าสนใจ! และ ขายได้! ครบ จบในที่เดียว

#สิ่งอำนวยความสะดวกเริ่มต้น

หนังสือขนาด A5 จำนวน 200+ หน้า รวมปก

ปก กระดาษอาร์ตการ์ด 260 แกรม

เนื้อใน กระดาษ 80 แกรม

เข้าเล่ม แบบไสกาว

ฟรี E-book

ฟรี ค่าจัดส่ง (ภายในกรงเทพฯ และปริมณฑล)

ส่วนลด 10% สำหรับงานพิมพ์ในครั้งถัดไป

เริ่มต้นเพียง 33,500 บาท

ไม่ว่า​งานเขียนของคุณจะอยู่ในความคิด​ ในกระดาษ​ หรือไฟล์​คอมพิวเตอร์​ #​เราพร้อม​ ที่จะแปลงสิ่งที่คุณมีให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และนำเสนอสู่สาธารณชน

มาสร้างหนังสือของตัวเองกันครับ