ขอเชิญเข้าร่วมประกวดการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ ในหัวข้อ Moving Forward: 45 years of the S.E.A. Write Award ขอเชิญเข้าร่วมประกวดการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ ในหัวข้อ Moving Forward: 45 years of the S.E.A. Write Award ขอเชิญเข้าร่วมประกวดการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษในหัวข้อ Moving Forward: 45 years of the S.E.A. Write Awardเพื่อเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงความรู้และทรรศนะเกี่ยวกับพัฒนาการก้าวต่อไปของรางวัลวรรณกรรมซีไรต์ในมุมมองต่างๆ ความประทับใจที่มีต่อวรรณกรรมซีไรต์จากความคิดของเยาวชนรุ่นใหม่ ฟรี ✨ไม่มีค่าใช้จ่าย✨ ตลอดโครงการ ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประกวดได้ที่: https://forms.gle/rM3e64Gjh8cVbpJy6คลิกดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่:https://shorturl.at/bcDJ3 รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2566 ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วม: นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดอายุและเพศ สถานที่จัดประกวด:✨ รอบที่ 1 ส่งคลิปประกวดในหัวข้อ “ความประทับใจในหนังสือซีไรต์”👉🏻 ผ่านทาง 📧 E-mail: [email protected]📍 พร้อมระบุหัวเรื่อง “ส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมครบรอบ 45 ปีซีไรต์มาไกลมาก”🗓️ ส่งภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ✨ รอบที่ 2 กล่าวสุนทรพจน์ ในหัวข้อ “Moving Forward: 45 years of the S.E.A. Write Award”👉🏻 ผ่านทาง Zoom Cloud Meeting ✨ รอบตัดสิน ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในรอบที่ 2 จะต้องมากล่าวสุนทรพจน์บทเดิมในรอบที่สองบนเวทีเพื่อคัดผู้ชนะลำดับที่ 1 – 3📍 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 🗓️ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่👉🏻 บริษัท สยามจุลละมณฑล จํากัด🌐 Website: www.siamclmt.com📱 Line OA: @siamclmt 📲 FB: สยามจุลละมณฑล📞 Tel.063 451 9359, 061 519 3641, 092 425 5229 ************************************ จัดโดย สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด และนิตยสารออนไลน์โซเซเล็บ สนับสนุนโดย สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ธนาคารออมสิน แอปพลิเคชันสอบติดจูเนียร์ #สยามจุลละมณฑล #สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ #หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล #นิตยสารออนไลน์โซเซเล็บ #กิจกรรมครบรอบ45ปีซีไรต์มาไกลมาก #ซีไรต์ #รางวัลซีไรต์ #กิจกรรมพิเศษ #อบรม #Online #ซีไรต์ศึกษา #SEAWriteAward #Award #SEAWriteQuiz #ภาษาและการอ่าน #วรรณกรรม
ขอเชิญเข้าร่วมประกวดการจัดโปสเตอร์นิทรรศการ “45 ปีซีไรต์มาไกลมาก” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ซีไรต์ใน “ภาพจำ” กับ “จินตนาการ” ของฉัน ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป เข้าร่วมประกวดการจัดโปสเตอร์นิทรรศการ “45 ปีซีไรต์มาไกลมาก” ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป เข้าร่วม‘กิจกรรมพิเศษในวาระครบรอบ 45 ปีซีไรต์มาไกลมาก’45 Years of S.E.A. Write: The Journey is Long and Rewarding ร่วมประกวดการจัดโปสเตอร์นิทรรศการ “45 ปีซีไรต์มาไกลมาก”ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ซีไรต์ใน “ภาพจำ” กับ “จินตนาการ” ของฉัน ฟรี ✨ไม่มีค่าใช้จ่าย✨ ตลอดโครงการ ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมอบรมได้ที่: https://forms.gle/Kcbc581XCNZkvjQu5คลิกดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่:https://shorturl.at/bcDJ3 รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 15 มิถุนายน 2566 โดยส่งผลงานภาพถ่ายหรือไฟล์โปสเตอร์นิทรรศการได้ทาง📧 E-mail: [email protected]📍 พร้อมระบุหัวเรื่อง “ส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมครบรอบ 45 ปีซีไรต์มาไกลมาก”🗓️ ส่งผลงานภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่👉🏻 บริษัท สยามจุลละมณฑล จํากัด🌐 Website: www.siamclmt.com📱 Line OA: @siamclmt 📲 FB: สยามจุลละมณฑล📞 Tel.063 451 9359, 061 519 3641, 092 425 5229 ***************************************** จัดโดย สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด และนิตยสารออนไลน์โซเซเล็บ สนับสนุนโดย สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ธนาคารออมสิน แอปพลิเคชันสอบติดจูเนียร์ #สยามจุลละมณฑล #สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ #หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล #นิตยสารออนไลน์โซเซเล็บ #กิจกรรมครบรอบ45ปีซีไรต์มาไกลมาก #ซีไรต์ #รางวัลซีไรต์ #กิจกรรมพิเศษ #อบรม #Online #ซีไรต์ศึกษา #SEAWriteAward #Award #SEAWriteQuiz #ภาษาและการอ่าน #วรรณกรรม
ขอเชิญเข้าร่วม ‘กิจกรรมพิเศษในวาระครบรอบ 45 ปีซีไรต์มาไกลมาก’ ‘กิจกรรมพิเศษในวาระครบรอบ 45 ปีซีไรต์มาไกลมาก’ 45 Years Of S.E.A. Write: The Journey Is Long And Rewarding ใครที่กำลังมองหากิจกรรม มองหาความท้าทาย มองหาความสนุก ห้ามพลาด!!! สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท สยามจุลละมณฑล จํากัด และ นิตยสารออนไลน์โซเซเล็บ ขอเชิญเข้าร่วม ‘กิจกรรมพิเศษในวาระครบรอบ 45 ปีซีไรต์มาไกลมาก’ 45 Years of S.E.A. Write: The Journey is Long and Rewarding เพื่อเฉลิมฉลองการก่อตั้งรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ในโอกาสครบรอบ 45 ปี 💸 พร้อมรางวัลมูลค่ารวมมากกว่า 300,000 บาท 💸 🗓️ ระยะเวลาการจัดกิจกรรม: พฤษภาคม – สิงหาคม 2566📍ลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ✨ฟรี✨ ไม่มีค่าใช้จ่าย คลิกดูรายละเอียดกิจกรรมทั้งหมดและลงทะเบียนได้ที่นี่ 👇🏻https://shorturl.at/bcDJ3 ************************************* รายละเอียดกิจกรรมพิเศษ 📌 กิจกรรมที่ 1: อบรม Online “ซีไรต์ศึกษา”ผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับรางวัลวรรณกรรมซีไรต์ในมิติต่างๆ เห็นถึงพัฒนาการของวรรณกรรมซีไรต์ ได้อ่านโลกทั้งใบที่ซ่อนอยู่ในวรรณกรรมซีไรต์ และร่วมกันค้นหาล่า ”ไข่อีสเตอร์” สาระความรู้ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่ซ่อนตัวในวรรณกรรมซีไรต์ช่องทางจัดอบรม: Zoom Cloud Meetingระยะเวลาการอบรม: พฤษภาคม – มิถุนายน 2566 (จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง)สนใจคลิก 👉🏻 https://forms.gle/Xa1Dk8tX5Z5ZL4hW7 ************************************* 📌 กิจกรรมที่ 2: ประกวดจัดโปสเตอร์นิทรรศการ “45 ปีซีไรต์มาไกลมาก”ร่วมประกวดการจัดโปสเตอร์นิทรรศการ “45 ปีซีไรต์มาไกลมาก” ซึ่งสะท้อนความรู้สึกและความคิดเห็น ในฐานะผู้อ่านที่มีต่อวรรณกรรมรางวัลซีไรต์ตลอด 45 ปีที่ผ่านมา รวมถึงความมุ่งหวังที่ต้องการเห็นพัฒนาการของวรรณกรรมรางวัลซีไรต์ผ่านการจัดนิทรรศการ “45 ปีซีไรต์มาไกลมาก” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ซีไรต์ใน “ภาพจํา” กับ “จินตนาการ” ของฉันสถานที่จัดประกวดนิทรรศการ: รอบตัดสินที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาการประกวด: มิถุนายน – กรกฎาคม 2566สนใจคลิก 👉🏻 https://forms.gle/Kcbc581XCNZkvjQu5 ************************************* 📌 กิจกรรมที่ 3: ประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษการประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษในหัวข้อ Moving Forward: 45 years of the S.E.A. Write Award เพื่อเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงความรู้และทรรศนะเกี่ยวกับพัฒนาการก้าวต่อไปของรางวัลวรรณกรรมซีไรต์ในมุมมองต่างๆ ความประทับใจที่มีต่อวรรณกรรมซีไรต์จากความคิดของเยาวชนรุ่นใหม่สถานที่จัดประกวดนิทรรศการ: รอบตัดสินที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครระยะเวลาการประกวด: กรกฎาคม 2566สนใจคลิก 👉🏻 https://forms.gle/rM3e64Gjh8cVbpJy6 ************************************* 📌 กิจกรรมที่ 4: แข่งขัน S.E.A. Write Quizใครก็ได้ อยู่ที่ไหนก็ได้ มาร่วมแข่งขันตอบคําถามรางวัลวรรณกรรมซีไรต์ผ่านระบบออนไลน์ ท้าทายความรู้ ความสามารถในการอ่านวรรณกรรมอย่างละเอียดยิ่งกว่ารายการแฟนพันธุ์แท้ ชิงความเป็นกูรูตัวตึงรางวัลวรรณกรรมซีไรต์ สถานที่จัดประกวด: ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันสอบติดจูเนียร์ และ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครช่วงเวลาการจัดการแข่งขัน: 27 สิงหาคม 2566 สนใจคลิก 👉🏻 https://forms.gle/sQ2e4ZD1HqxPxUtt8 ************************************* 📌 กิจกรรมที่ 5: ประกวดคอสเพลย์ “ใครเป็นใครในวรรณกรรมซีไรต์”ร่วมสนุกกับกิจกรรมแต่งกายตามแบบตัวละครจากวรรณกรรมซีไรต์ ผู้เข้าประกวดจะได้ใช้ความคิด สร้างสรรค์ในการตีความตัวละครจากวรรณกรรมซีไรต์เล่มใดก็ได้ โดยอธิบายแนวความคิดของการตกแต่งเสื้อผ้าและนําเสนอบุคลิกลักษณะของตัวละครออกมาได้อย่างน่าสนใจ สถานที่จัดประกวด: หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครช่วงเวลาการจัดการประกวด: 27 สิงหาคม 2566สนใจคลิก 👉🏻 https://forms.gle/aJrSoDKYXDGjYWYz9 ************************************* สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่👉🏻 บริษัท สยามจุลละมณฑล จํากัด🌐 Website: www.siamclmt.com📱 Line OA: @siamclmt 📲 FB: สยามจุลละมณฑล📞 Tel.063 451 9359, 061 519 3641, 092 425 5229 #สยามจุลละมณฑล #สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ #หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล #นิตยสารออนไลน์โซเซเล็บ #กิจกรรมครบรอบ45ปีซีไรต์มาไกลมาก #ซีไรต์ #รางวัลซีไรต์ #กิจกรรมพิเศษ #อบรม #Online #ซีไรต์ศึกษา #ประกวดการจัดโปสเตอร์นิทรรศการ #45ปีซีไรต์มาไกลมาก #ประกวดการกล่าวสุนทรพจน์ #Speech #SEAWriteAward #Award #SEAWriteQuiz #ประกวดการแต่งกายคอสเพลย์ #ใครเป็นใครในวรรณกรรมซีไรต์ #Cosplay #ภาษาและการอ่าน #วรรณกรรม #หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
MOU 3 หน่วยงาน เดินหน้าผลักดันโครงการ “พันธกิจสัมพันธ์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม” สู่เส้นทางการเติบโตในยุคดิจิทัลอย่างไร้ขีดจำกัด MOU 3 หน่วยงาน ร่วมมือจัดงาน 45 ปี ซีไรต์มาไกลมาก พร้อมเดินหน้าผลักดันโครงการ “พันธกิจสัมพันธ์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม” สู่เส้นทางการเติบโตในยุคดิจิทัลอย่างไร้ขีดจำกัด เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๖ ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ นางสาวจุฑาทิพย์ สุกาญจนาเศรษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “พันธกิจสัมพันธ์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม” โดยภาคีทั้งสามฝ่ายมีความประสงค์ที่จะส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกันในทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล (ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ) และการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและภาษาเพื่อการสื่อสาร ตลอดจนเสริมสร้างการเรียนการสอนการพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่านและการเขียนเพื่อการสื่อสารและอาชีพ รวมไปถึงโครงการและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของครูและนักเรียน ในด้านภาษาและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การอ่านและการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กๆ เยาวชนไทย และเมื่อพอได้รู้ว่าจะมีโครงการ 45 ปี ซีไรต์มาไกลมาก ยิ่งทำให้เห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี สามารถนำมาพัฒนาเด็กๆ ให้มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้และสร้างจินตนาการจากการอ่าน จากการใช้ทรัพยากรในห้องสมุดให้เป็นประโยชน์ได้ ซึ่งเราก็ยังเห็นอีกว่าการอ่านวรรณกรรมเหล่านี้ถือเป็นอาหารสมองที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์หรือพัฒนาสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตัวเด็กๆ ได้ในอนาคตต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า เราอยู่ในสังคมดิจิทัลที่เปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมของพวกเราไปเป็นอันมาก กล่าวเฉพาะการอ่าน พฤติกรรมการอ่านของคนในสังคมปัจจุบันเปลี่ยนจากการอ่านหนังสือเล่มไปสู่การอ่านในแพลตฟอร์มต่างๆ ในโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้ผู้คนในสังคมมีข้อจำกัดในการอ่าน ไม่อ่านข้อความยาว หรือข้อความที่มีความคิดซับซ้อน ล่วงไปถึงการเขียนที่เขียนกันสั้นๆ เขียนยาวไม่มีใครอ่าน เขียนยากยิ่งไม่มีใครอ่าน ถ้ายังเชื่อว่าวรรณกรรมมีบทบาทในการยกระดับความคิด โครงการนี้ นอกจากจะช่วยเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรางวัลวรรณกรรมซีไรต์สู่สังคมวงกว้างแล้ว ยังช่วยสร้างพื้นฐานการอ่านแก่เยาวชนให้แข็งแรงยิ่งขึ้น นางสาวจุฑาทิพย์ สุกาญจนาเศรษฐ์ กรรมการผู้จัดการและบรรณาธิการบริหาร บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด กล่าวว่า ในปัจจุบันการเรียนรู้ของผู้คนนั้นสำคัญมาก อีกทั้งห้องสมุดก็ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้คนยังคงใช้ในการเข้ามาศึกษาหาความรู้กันอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งการร่วมมือกันในการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล (ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ) ในครั้งนี้ก็เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานการศึกษาสามารถพัฒนาและปรับปรุงระบบได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในหลากหลายด้านมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูล การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ หรือแม้แต่การลดต้นทุนในการบริหารจัดการห้องสมุดเองก็ตาม ที่สำคัญการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ไปกว่าเรื่องอื่นใด เพราะสิ่งนี้มีผลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีและภาษามีบทบาทสำคัญในการทำงานและการสื่อสารระหว่างบุคคล องค์กร และประเทศชาติ ซึ่งถือเป็นตัวกลางในการสร้างความเข้าใจให้แก่ของทุกๆ ฝ่าย ทุกๆ อาชีพ ทั้งในเรื่องการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่านและการเขียน รวมไปถึงโครงการและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของครูและนักเรียนในด้านภาษาและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เราจึงเล็งเห็นว่าโครงการ 45 ปี ซีไรต์ มาไกลมากนี้เอง จะเป็นเหมือนพื้นที่ในการพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่านและการเขียนให้แก่นักเรียน นักศึกษา คุณครู องค์กรต่างๆ และต่อยอดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและภาษาเพื่อการสื่อสารในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน การประชุมในวันนี้ นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาทางด้านการศึกษาในยุคสมัยที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทมากกว่าแต่ก่อน ของหน่วยงานจาก ๓ ภาคส่วนที่สำคัญได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพทั้งหมดนี้เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกันในทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล เสริมสร้างการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่านและการเขียนเพื่อการสื่อสารและอาชีพ รวมไปถึงโครงการและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของครูและนักเรียน ในด้านภาษาและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์สืบต่อไป
ไฮเท็คซ์ อินเตอร์แอคทีฟ ร่วม สยามจุลละมณฑล ต่อยอดความสำเร็จห้องสมุดประชาชนออนไลน์ ส่งมอบนวัตกรรมเครือข่ายห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ แก่ สำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ ช่วยสร้างการศึกษาอย่างเท่าเทียม ไร้พรมแดน พร้อมเปิดให้อ่าน อีบุ๊ก ฟรี 1,500 รายการ ไฮเท็คซ์ อินเตอร์แอคทีฟ ร่วมกับ สยามจุลละมณฑล ต่อยอดความสำเร็จห้องสมุดประชาชนออนไลน์ ส่งมอบนวัตกรรมเครือข่ายห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ แก่ สำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ ช่วยสร้างการศึกษาอย่างเท่าเทียม ไร้พรมแดน พร้อมเปิดให้อ่าน อีบุ๊ก ฟรี 1,500 รายการ ไฮเท็คซ์ อินเตอร์แอคทีฟ และ สยามจุลละมณฑล ร่วมพัฒนาระบบห้องสมุดออนไลน์ ช่วยสร้างการศึกษาอย่างเท่าเทียม ล่าสุดต่อยอดความสำเร็จจากระบบห้องสมุดประชาชนออนไลน์ ส่งมอบนวัตกรรมเครือข่ายห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ ต้นแบบ แก่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเข้าถึงแหล่งความรู้แบบไร้พรมแดนด้วยสื่อดิจิตอลและระบบออนไลน์ พร้อมเปิดให้ประชาชนอ่าน อีบุ๊ก แบบถูกลิกสิทธิ์ ฟรี กว่า 1,500 รายการ นายอเล็กซองด์ ฮัมเมล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไฮเท็คซ์ อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ผู้นำด้านการพัฒนาระบบห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ กล่าวถึง การพัฒนาข้อมูลความรู้สู่รูปแบบดิจิทัลและการเผยแพร่ด้วยระบบออนไลน์ว่า เป็นเรื่องสำคัญสำหรับโลกยุคใหม่ ซึ่งเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยให้สามารถรับ-ส่งองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้นำข้อมูลมาประมวลผลปรับใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง โดยประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้สื่อดิจิทัล และ อีบุ๊ก เพื่อการศึกษาและความบันเทิงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากพฤติกรรมการรับสื่อที่เปลี่ยนไป สอดคล้องกับการเติบโตของตลาดอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ แท๊ปเล็ต และเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยฝั่งผู้ผลิตสื่อและสำนักพิมพ์ก็ปรับตัวผลิตสื่อในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงเป็นปัจจัยเร่งเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบเร็วขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ห้องสมุดปรับตัวได้ทันต่อโลกยุคใหม่ ระบบห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ จึงถูกพัฒนาขึ้นด้วยแนวคิดที่องค์กรไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาและดูแลระบบห้องสมุดออนไลน์ที่สูงและใช้เวลานาน แต่เน้นการใช้งบประมาณไปเพื่อจัดหา อีบุ๊ก และสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ มาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้บริการอย่างทั่วถึงแทน โดยคอนเทนต์ที่ให้บริการนั้น มีทั้ง อีบุ๊ก อีเทกซ์บุ๊ก (E-Textbook) นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Magazine) หรือ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Newspaper) ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ ทั้งที่เป็นอีบุ๊กออกใหม่ ขายดี มีคุณภาพและถูกลิขสิทธิ์จำนวกว่า 10,000 รายชื่อ จากสำนักพิมพ์กว่า 100 แห่ง ระบบห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ จึงเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับสำนักพิมพ์หรือผู้ผลิตคอนเทนต์ได้อย่างต่อเนื่อง มีความโปร่งใส่ และมีระบบจัดการลิขสิทธิ์ที่ได้มาตรฐาน สำนักพิมพ์สามารถตรวจสอบองค์กรและระยะเวลาการใช้สิทธิ์อีบุ๊กของตนเองได้ รวมถึงยังสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ให้องค์กรใช้ อีบุ๊ก ถูกลิขสิทธิ์เพื่อสนับสนุนผู้ผลิตคอนเทนต์อีกด้วยสำหรับจุดเด่นของระบบห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ นั้น ในส่วนผู้ใช้งานหรือผู้อ่านสามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชันที่ได้รับการออกแบบที่สวยงาม ง่าย และสะดวก มีฟีเจอร์การอ่านไฟล์ทั้งแบบ PDF หรือ E-PUB รองรับการอ่านออกเสียง ช่วยอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มผู้ใช้งานที่มีปัญหาด้านการอ่าน รองรับการใช้งานทั้งระบบ IOS Android และผ่านเว็บไซต์ ส่วนในฝั่งผู้ดูแลระบบห้องสมุดก็สามารถบริหารจัดการได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ มีระบบอัปโหลดทรัพยากรขององค์กรเอง ทั้ง อีบุ๊ก วิดีโอ หรือ พอดคาสต์ สามารถเรียกดูข้อมูลสถิติโดยเฉพาะเวลาการอ่าน เพื่อนำมาวิเคราะห์วัดผลความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ไม่มีค่าดูแลและค่าบำรุงรักษาระบบ (Maintenance Agreement) รายปี และแอปพลิเคชันรองรับ OS ใหม่ล่าสุด มีฟีเจอร์อัปเดตการใช้งานอย่างต่อเนื่องและปรับเปลี่ยนได้ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งระบบห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ มียอดการเติบโตขององค์กรที่ใช้งานอย่างก้าวกระโดด แม้จะเริ่มให้บริการมาเพียง 1 ปี โดยมีจำนวนยอดการเข้าใช้งานและความพึงพอใจในการใช้สูงที่สุดมาเป็นอันดับที่ 1 ในขณะนี้ รวมถึงมีคอนเทนต์ใหม่ๆ ให้บรรณารักษ์หรือผู้ดูแลระบบเลือกทุกสัปดาห์ ทำให้เกิดการแนะนำแบบปากต่อปากไปยังองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงมีจำนวนองค์กรที่ใช้งานระบบห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรใช้งานระบบห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ ครอบคลุมทั้ง หน่วยงานรัฐ บริษัทเอกชน สถาบันอุดมศึกษา โรงเรียน และห้องสมุดประชาชน อาทิ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักหอสมุดแห่งชาติ สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ โรงเรียนสตรีภูเก็ต ฯลฯ ส่วนการส่งมอบนวัตกรรมเครือข่ายห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ แก่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ ในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาและขยายผลความสำเร็จจากโครงการ 35 ห้องสมุดประชาชนออนไลน์ ที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วประเทศอ่าน อีบุ๊ก ฟรี ซึ่งมีผู้ใช้บริการอ่านหนังสือในระบบมากถึง 13,500 ครั้ง มีการยืม อีบุ๊ก มากกว่า 4,500 ครั้ง และมีจำนวนการอ่านมากว่า 80,000 นาที ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทางบริษัทฯ จึงร่วมกับ สยามจุลละมณฑล พัฒนานวัตกรรมเครือข่ายห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ เพื่อส่งมอบแก่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำไปเป็นต้นแบบขยายการใช้งานสู่อีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทำให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน เข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายขึ้น ทั่วถึงขึ้น ในทุกที่ ทุกเวลา และเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ด้าน นายพสิษฐ์สัทคุณ จุลละมณฑล กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด กล่าวถึงที่มาของการส่งมอบนวัตกรรมเครือข่ายห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ ครั้งนี้ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการดำเนินชีวิตและการศึกษา ทำให้ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในสถานศึกษาทุกแห่ง ต้องปรับตัวสู่ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ รวมไปถึงการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้สำคัญอย่างห้องสมุดที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นห้องสมุดจึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาการให้บริการและปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบห้องสมุดออนไลน์ (E-library) เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น โดยบริษัทฯ ในฐานะผู้ให้บริการด้านการผลิต จัดจำหน่าย และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเพื่อการศึกษาครบวงจร ได้มีผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและประชาชนมีความเข้าใจถึงการใช้งานเครือข่ายห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ ผ่านหลักสูตรอบรมระบบการบริหารงานห้องสมุด และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านร่วมกับห้องสมุดประชาชนแต่ละแห่งจนประสบความสำเร็จจากโครงการ 35 ห้องสมุดประชาชนออนไลน์ที่ผ่านมา ดังนั้นเพื่อเป็นการขยายผลต่อยอดความสำเร็จ จึงได้มีการนำเสนอนวัตกรรมเครือข่ายห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ แก่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนอย่างทั่วถึง โดยหน่วยงานได้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะได้รับจากนวัตกรรมฯ ดังกล่าว จึงได้มีการรับมอบและทดลองใช้นวัตกรรมเครือข่ายห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ เป็นโครงการต้นแบบที่ ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (สพร.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงนักเรียน นักศึกษา และประชาชนบริเวณใกล้เคียงได้ร่วมทดลองใช้ ซึ่งจะมีอีบุ๊กให้อ่าน ฟรี มากถึง 1,500 รายการ และคาดว่าจะมีผู้ใช้งานมากถึง 3,000 คน สำหรับการขยายผลการใช้นวัตกรรมเครือข่ายห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่ ไปสู่พื้นที่และหน่วยงานอื่นเพิ่มเติมนั้น คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากนโยบายของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนการใช้สินค้าลิขสิทธิ์ ห้องสมุดแต่ละแห่งจึงเลือกใช้ อีบุ๊ก ที่ถูกลิขสิทธิ์มาให้บริการตามรูปแบบห้องสมุดออนไลน์ต้นแบบ รวมถึงโลกของการศึกษายุคใหม่จำเป็นต้องพัฒนาไปสู่ยุคดิจิตอลที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเรียนรู้และการศึกษาของประชาชนทุกคนแบบไร้พรมแดน สำหรับหน่วยงาน องค์กร ผู้ประกอบการบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ที่สนใจ ทดลองใช้งานห้องสมุดออนไลน์ หรือต้องการโอนย้ายอีบุ๊กจากระบบ E-library มาใช้งานร่วมกับระบบห้องสมุดออนไลน์ ไฮบรารี่
การอ้างอิงมีดีอย่างไร การอ้างอิงมีดีอย่างไร การอ้างอิงสำคัญแค่ไหน? แล้วจะดีอย่างไร? มาดูกัน!! โดยทั่วไป “การอ้างอิง” ก็คือ การอ้างถึงบางสิ่ง หรือการอธิบายบางสิ่งบางอย่าง หรือสิ่งที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างสองสิ่ง ความเกี่ยวข้องกันระหว่างสองสิ่งนั้นอาจจะเป็น หนังสือ สถานที่ บุคคล เช่น ข้อมูล ความคิด ความจำ สิ่งที่เป็นสิ่งอ้างอิง เรียกว่า ผู้ถูกอ้างอิง เมื่อใดก็ตามที่เราอ้างโดยตรง สรุป หรือ ถอดความ ความคิดของผู้เขียนคนอื่นในเนื้อหาของเรา จำเป็นต้องอ้างอิงถึงพวกเขาอย่างยิ่งค่ะ ซึ่งการอ้างอิงถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเลยนะคะ เพราะมันอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้สืบค้นในภายหลังได้ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นมันมีข้อดีมากไปกว่านั้นอีกค่ะ เราลองมาดูกันว่า การอ้างอิงนั้นมีข้อดีและมีความสำคัญอย่างไรกับงานของเราบ้าง การอ้างอิงส่งผลให้เราเป็นนักเขียนที่ดีขึ้น การอ้างอิงทำให้เราเป้นนักเขียนที่ดีได้ยังไง หลายๆ คนคงจะสงสัยกันใช่ไหมล่ะคะ เราอยากบอกว่าการอ้างอิงทำให้เราเป็นนักเขียนที่ดีขึ้นได้จริงๆ นะคะ ก็เพราะว่ายิ่งเราอ้างอิงเป็นเท่าไร มีนิสัยการอ้างอิงที่ดีมากเท่าไร สิ่งนี้นี่แหละค่ะที่จะสร้างรากฐานแข็งแกร่งในงานเขียนเราได้ การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อเท็จจริงจะช่วยขจัดความคิดคลุมเครือ การเขียนสะเปะสะปะ และการกล่าวอ้างเท็จ เมื่อเรามีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องในเนื้อหา ผู้อ่านจะไม่มีคำถามเกี่ยวกับประเด็นที่เรานำเสนอนั่นเองค่ะ การอ้างอิงสร้างความน่าเชื่อถือ ทุกคนล้วนต้องการความน่าเชื่อถือใช่ไหมล่ะคะ ยิ่งข้อมูลแน่นๆ เนื้อหาเยอะๆ หากขาดความน่าเชื่อถือไปล่ะก็ งานชิ้นนั้นก็กลายเป็นว่าไม่มีข้อเท็จจริงมาสอดรับไว้เลย แต่เมื่อเราอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง สิ่งนี้จะบอกผู้อ่านว่าเราได้ทำการวิจัย ได้ศึกษามา และรู้ว่าคนอื่นพูดถึงหัวข้อของเราอย่างไร การอ้างอิงช่วยส่งเสริมให้บริบทในการเขียนของเรา และให้ความน่าเชื่อถือและอำนาจแก่การอ้างสิทธิ์ที่เราทำในข้อความได้ การอ้างอิงช่วยให้เราห่างไกลจากการลอกเลียนแบบ เหตุผลที่สำคัญที่สุดหนึ่งข้อในการอ้างถึงงานอย่างถูกต้อง ก็คือ การหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบ เมื่อเรานำงานหรือข้อมูลของคนอื่นมาใช้ อย่าลืมเขียนใหม่ด้วยคำพูดของเราแล้วอ้างอิงงานนั้น ซึ่งจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบได้นั่นเองค่ะ การอ้างอิงเป็นการเคารพความคิดคนอื่น ตรงนี้สำคัญมาก!! การอ้างอิงทำให้แยกแยะออกได้ว่า ส่วนไหนมาจากที่เราคิด ส่วนไหนมาจากบุคคลอื่น การอ้างอิงโดยนัยนี้จึงแสดงให้เห็นถึง “ความมีจรรยาบรรณ” ของเรานั่นเองค่ะ การอ้างอิงแสดงว่าเราค้นคว้ามามาก ค้นคว้ามามาก แต่ต้องอ้างอิงให้ถูกนะคะ ไม่ใช่อ้างจากแหล่งงานเดียว เราต้องหาเก็บข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ด้วย ทั้งไทยก็ดี ต่างประเทศก็ดีค่ะ จะช่วยเสริมให้งานเราดูดีมีคุณภาพขึ้น
ชิเน็น มิกิโตะ นักเขียนในคราบแพทย์หนุ่มญี่ปุ่น เผยกฎเหล็ก 3 ข้อที่ช่วยให้เขียนนิยายอย่างมีประสิทธิภาพ ชิเน็น มิกิโตะ นักเขียนในคราบแพทย์หนุ่มญี่ปุ่น เผยกฎเหล็ก 3 ข้อที่ช่วยให้เขียนนิยายอย่างมีประสิทธิภาพ ชิเน็น มิกิโตะ คือนักเขียนที่เขียนนิยายออกมาแล้วมากกว่า 20 เล่ม โดยหนังสือสือนิยายที่เขาเขียนถูกสร้างเป็นซีรีส์ลึกลับถึง 3 เรื่อง ได้แก่ Takao Ameku’s Deductive Medical Charts, Shinigami และ Cheers at Miki Clinic ซึ่งเขาทุ่มเทเวลาเพียง 8 ปี ในการสร้างผลงานผ่านตัวหนังสืออันน่าประทับใจนี้ และเขาไม่ได้ทำแค่อาชีพนักเขียนเท่านั้น ในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นนายแพทย์แผนกอายุรกรรมอีกด้วย แล้วอะไรกันที่ทำให้คุณชิเน็นสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้มากมาย และยังคงทำงานแพทย์ไปด้วยได้กันล่ะ สยามจุลละมณฑลมีคำตอบค่าา ความลับจริงๆ ของการมีไอเดียใหม่ๆ ออกมาเขียนได้ตลอดของคุณชิเน็นนั้น มาจากกฎ 3 ข้อที่เขาตั้งขึ้นมาใช้กับตัวเอง ซึ่งเขาได้โพสต์กฎทั้งสามข้อนี้ให้ผู้ติดตามได้อ่านกันบนทวิตเตอร์ของเขา (@MIKITO_777) ไว้ด้วยว่า “นี่ก็ 8 ปีมาแล้วนับตั้งแต่ผมได้เริ่มเป็นนักเขียนนิยาย และในช่วงที่เริ่มต้นนั้นผมก็ได้ตั้งกฎสามข้อขึ้นมาสำหรับตนเอง” 1. นอนให้มากเท่าที่จะมากได้ 😴 2. เวลาที่เริ่มเขียนงานให้ปิดสมาร์ตโฟน และปิดอินเทอร์เน็ตของคอมพิวเตอร์ 🌐 3. ทุกๆ วันให้คอยบันทึกไว้ว่าตัวเองเขียนไปทั้งหมดกี่คำ ✍🏻 และคุณชิเน็นก็บอกว่า “ตั้งแต่ผมเริ่มทำตามกฎเหล่านี้ ความเร็วในการเขียนของผมก็เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก” ซึ่งกลยุทธ์นี้เรียกได้ว่าสมเหตุสมผลมากเลยทีเดียวค่ะ เพราะแน่นอนว่านักเขียนเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก และไม่ว่าคุณจะมีทักษะการเขียนที่คมคายแค่ไหน แต่ถ้าคุณเหนื่อยล้าและรู้สึกง่วงก็คงจะไม่สามารถเขียนงานที่ดีออกมาได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นคนที่ต้องทำงานหลักในช่วงกลางวันเหมือนกับคุณชิเน็น หากคุณรู้ตัวว่าต้องตื่นเช้าไปทำงานล่ะก็ ปิดสวิชช์ความเป็นนักเขียนในยามที่คุณควรจะพักผ่อนไปได้เลย คุณควรไปนอนพักเพื่อให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เช่นเดียวกันค่ะ การปิดโทรศัพท์มือถือก็จะช่วยให้คุณมีสมาธิ ไม่มัวไปจดจ่อกับการหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูข้อความ หรือเช็กหน้าโซเชียลมีเดีย หรือการหาอะไรดูผ่อนคลายบนอินเทอร์เน็ต สุดท้ายก็ไม่ได้เขียนอะไรสักอย่าง ซึ่งในจุดนี้คุณชิเน็นก็มีข้อได้เปรียบอยู่ เพราะอย่างที่บอกไปว่านิยายของเขาเป็นแนวเรื่องลึกลับเกี่ยวกับการแพทย์ ซึ่งเขามีความรู้ในเรื่องนี้มากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นั่นจึงช่วยลดเวลาที่ใช้ในการหาข้อมูลเพื่อเขียนนิยายของเขาเป็นอย่างมากทำให้เขาสามารถทุ่มเวลาไปกับขั้นตอนการเขียนได้อย่างเต็มที่ จึงไม่ใช่เรื่องลำบากอะไรหากเขาจะต้องตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตในระหว่างที่เขาเริ่มเขียนงาน และด้วยความที่เขาเป็นนักเขียน ไม่ใช่การเขียนนิยายผ่านเว็บไซต์ หรือบล็อกส่วนตัวยิ่งทำให้เขาไม่ต้องเขาสู่โลกอินเทอร์เน็ตเลยแม้แต่น้อย แต่สำหรับนักเขียนบางท่านที่ต้องหาข้อมูลสำหรับงานเขียน การแบ่งเวลาหาข้อมูลและการเขียนออกจากกันก็อาจจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้เช่นกัน เพราะเมื่อคุณมีข้อมูลที่ต้องการเพียงพอแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องกลับไปค้นหาข้อมูลทุกห้านาที และสามารถเพ่งสมาธิลงไปกับการเขียนได้อย่างเต็มที่ และข้อสุดท้ายการบันทึกจำนวนคำที่ได้เขียนไปในแต่ละวันจะช่วยให้เรามองเห็นว่าเราทำงานในแต่ละวันไปได้มากน้อยแค่ไหน และจากนั้นมันจะกลายเป็นขั้นต่ำในการทำงานที่เราตั้งเป้าจะไปให้ถึงในแต่ละวัน และถ้ามันมีแนวโน้มว่าเราเริ่มทำงานช้าลงเรื่อยๆ เราอาจจะต้องกลับไปดูอีกครั้งว่าเราทำตามกฎข้อ 1 และ 2 ได้ดีพอแล้วหรือยัง ผู้ติดตามทางออนไลน์ของคุณชิเน็น ก็รู้สึกเห็นด้วยกับคำแนะนำของเขาเป็นอย่างมากและได้เขียนข้อความตอบกลับกันมาไม่น้อยเลย “ฉันเป็นนักเรียนม.ปลาย และคิดว่านี่น่าจะเป็นกลยุทธ์ในการเรียนที่ดีเลย” “ฉันรู้สึกนับถือในความพยายาม และความมีวินัยที่คุณทุ่มให้กับนิยายของคุณจริงๆ” “บางคนอาจจะบอกว่ากฎพวกนี้มันก็เป็นของตายอยู่แล้ว แต่มีไม่กี่คนหรอกที่ทำตามกฎเหล่านี้ได้อย่างจริงจัง” “ฉันเป็นนักวาด และฉันว่าจะลองทำตามกฎพวกนี้ดูบ้าง” แต่แล้วคุณชิเน็นก็ปิดท้ายทวิตด้วยข้อความใหม่ไปว่า “และนี่ถึงเวลาที่ผมจะต้องกลับไปเขียนนิยายแล้ว ผมคงต้องขอตัดขาดจากอินเตอร์เน็ตไปก่อน วันนี้ผมยังต้องเขียนอีก 10 หน้า…” 5555 ต้องกลับไปทำหน้าที่นักเขียนอย่างจริงจังแล้วสินะ ถือเป็นกฎเหล็ก 3 ข้อที่ทำตามได้ง่ายมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความอดทนด้วยใช่ไหมล่ะคะทุกคน ลองนำ 3 กฎดีๆ แบบนี้ไปใช้กันน้าา🥰 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Twitter/@MIKITO_777 SoraNews24 https://akibatan.com
เขียนเค้าโครงหนังสือก่อนเขียนเนื้อหา ช่วยให้งานราบรื่นกว่าที่คิด เขียนเค้าโครงหนังสือก่อนเขียนเนื้อหา ช่วยให้งานราบรื่นกว่าที่คิด #การเขียนเค้าโครงเรื่องดีอย่างไร เรามาหาคำตอบกันค่ะ ‘โครงเรื่อง’ เป็นการกำหนดแนวทางการเขียน การเรียบเรียงข้อมูล การจัดลำดับความคิด และการจัดลำดับหัวข้อ หลังจากที่เรารวบรวมข้อมูลมาแล้ว การเขียนโครงเรื่องจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในงานเขียน แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้เขียนจะต้องเขียนตามโครงเรื่องที่วางไว้เสมอ เพราะเมื่อลงมือเขียนจริงอาจมีการปรับเปลี่ยนโครงได้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้การเขียนโครงเรื่องยังช่วยให้เราไม่สับสนเวลาเขียน หรือเขียนหัวข้อใดข้อหนึ่งยาวเกินไป และอาจจะลืมเขียนบางหัวข้อ ดังนั้น การเขียนโครงเรื่องก่อนที่จะลงมือเขียนเนื้อหาอย่างจริงจัง จะทำให้งานเขียนมีความสมบูรณ์มากที่สุด และงานนั้นก็จะออกมาอย่างราบรื่นอีกด้วยค่าา #ประโยชน์ของโครงเรื่อง การเขียนโครงเรื่องมีประโยชน์ในการเขียนของเราอยู่หลายประการ ดังนี้ค่ะ 1. โครงเรื่องช่วยในการนำเสนอเนื้อหา ทำให้ผู้เขียนเตรียมเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายในการเขียน รู้จักกำหนดขอบข่ายของเนื้อหา รวมทั้งช่วยให้เห็นแนวทางการเรียบเรียงความคิด ว่าควรจะใช้แบบใด และมีเนื้อหาในประเด็นหรือหัวข้อใดที่เรายังไม่รู้ดีพอหรือยังหารายละเอียดไม่ได้ เราก็สามารถเตรียมความรู้เหล่านี้เพิ่มเติมได้อีกจนเพียงพอ 2. โครงเรื่องช่วยแบ่งหัวข้อได้ชัดเจน การแบ่งหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยอย่างชัดเจนทำให้ผู้เขียนสามารถจัดลำดับเพื่อเชื่อมโยงหัวข้อย่อยกับหัวข้อย่อย หัวข้อใหญ่กับหัวข้อย่อยได้ง่าย 3. โครงเรื่องช่วยเขียนเรื่องอย่างมีเหตุผล ทำให้ผู้เขียนมองเห็นความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ ในเนื้อหาจากโครงเรื่องได้ชัดเจน ว่ามีประเด็นหรือหัวข้อใดเกี่ยวข้องกันบ้าง และความคิดของประเด็นต่างๆ เหล่านั้นเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร จึงจะทำให้เนื้อหามีน้ำหนักและสมเหตุสมผล 4. โครงเรื่องช่วยในการวางสัดส่วนของเรื่องได้เหมาะสม โครงเรื่องช่วยให้ทราบว่าควรเขียนในประเด็นอะไรบ้าง มีประเด็นใดที่ไม่ควรเขียน หรือประเด็นใดควรนำความคิดหรือรายละเอียดมาสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน จึงจะพอเหมาะกับความยาว ซึ่งจะช่วยให้สัดส่วนของเรื่องเหมาะสม 5. โครงเรื่องช่วยไม่ให้ลืมหัวข้อเรื่องที่จะเขียน ในขณะเขียนเราอาจจะจดจ่อกับเรื่องที่เขียนจนลืมเขียนหัวข้ออื่นๆ ได้ แต่การเขียนโครงเรื่องจะช่วยเตือนความจำให้เราไม่ลืมเขียนหัวข้อ 6. โครงเรื่องช่วยไม่ให้สับสนเวลาเขียน การเขียนโครงเรื่องก่อนลงมือเขียนเปรียบเสมือนการเขียนฉบับร่างของงานเขียน เมื่อลงมือเขียนจึงสามารถเขียนตามหัวข้อต่างๆ ที่ผู้เขียนได้วางโครงเรื่องไว้ทำให้ไม่เกิดความสับสนเวลาเขียน ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://ajsurat.blogspot.com
เขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน เขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน ก่อนจะเรียนรู้วิธีการเขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน เรามารู้จักความหมายของคำนำ กันก่อนค่าา . คำนำ คือ ส่วนแรกที่เราได้เห็นเมื่อเปิดหนังสือหรือเล่มรายงาน ซึ่งจะเล่าถึงวัตถุประสงค์ ทำขึ้นเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร อาจมีการเขียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านอย่างไร ที่สำคัญไม่ควรเขียนยาวหรือสั้นเกินไปด้วย เมื่อเขียนเสร็จ ควรลงท้ายผู้จัดทำหรือคณะผู้จัดทำรายงานด้วย . คำนำที่ดีจะทำให้คนอ่านติดตามเรื่องของเราโดยตลอด ถ้าคำนำไม่ดีเขาจะหยุดอ่าน ดังนั้นในตอนต้นควรมีวิธีการชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราให้จบ โดยต้องสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด . ราชบัณฑิตยสถาน ระบุไว้ว่า “คำนำที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้” 🌟 เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ 🌟 เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ 🌟 เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน 🌟 เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน . . สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ ได้แก่ 🌟 ไม่ควรเอาประวัติศาสตร์ หรือเรื่องพื้นๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเขียนเป็นคำนำ 🌟 ไม่ควรอธิบายคำนำอย่างฟุ้งซ่าน จนไม่มีจุดหมายของเรื่อง 🌟 ไม่ควรขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร 🌟 ไม่ควรเขียนคำนำด้วยการออกตัว เช่น ออกตัวว่าไม่พร้อมหรือไม่เชี่ยวชาญเรื่องที่เขียน อาจทำให้ผู้อ่านไม่สนใจอ่านรายงานก็ได้ 🌟 ไม่ควรเขียนซ้ำกับส่วนสรุป หรือความลงท้าย 🌟 ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ซึ่งนอกจากนี้การเขียนคำนำให้ดี ก็ต้องสามารถดึงประเด็นที่สำคัญออกมาจากเนื้อหาที่เราเขียนลงไปให้ได้ เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักๆ ของหนังสือเล่มนั้นนั่นเองค่า . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.msu.ac.th https://www.krujojotalk.com #สยามจุลละมณฑล #การเขียนคำนำ #คำนำที่ดี #เทคนิคการเขียนคำนำ คำนำ คือ ส่วนแรกที่เราได้เห็นเมื่อเปิดหนังสือหรือเล่มรายงาน ซึ่งจะเล่าถึงวัตถุประสงค์ ทำขึ้นเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร อาจมีการเขียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านอย่างไร ที่สำคัญไม่ควรเขียนยาวหรือสั้นเกินไปด้วย เมื่อเขียนเสร็จ ควรลงท้ายผู้จัดทำหรือคณะผู้จัดทำรายงานด้วย . คำนำที่ดีจะทำให้คนอ่านติดตามเรื่องของเราโดยตลอด ถ้าคำนำไม่ดีเขาจะหยุดอ่าน ดังนั้นในตอนต้นควรมีวิธีการชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราให้จบ โดยต้องสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด . #ราชบัณฑิตยสถาน ระบุไว้ว่า “คำนำที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้” 🌟 เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ 🌟 เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ 🌟 เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน 🌟 เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน . . #สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ ได้แก่ 🌟 ไม่ควรเอาประวัติศาสตร์ หรือเรื่องพื้นๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเขียนเป็นคำนำ 🌟 ไม่ควรอธิบายคำนำอย่างฟุ้งซ่าน จนไม่มีจุดหมายของเรื่อง 🌟 ไม่ควรขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร 🌟 ไม่ควรเขียนคำนำด้วยการออกตัว เช่น ออกตัวว่าไม่พร้อมหรือไม่เชี่ยวชาญเรื่องที่เขียน อาจทำให้ผู้อ่านไม่สนใจอ่านรายงานก็ได้ 🌟 ไม่ควรเขียนซ้ำกับส่วนสรุป หรือความลงท้าย 🌟 ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ซึ่งนอกจากนี้การเขียนคำนำให้ดี ก็ต้องสามารถดึงประเด็นที่สำคัญออกมาจากเนื้อหาที่เราเขียนลงไปให้ได้ เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักๆ ของหนังสือเล่มนั้นนั่นเองค่า . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : จุฑามาศ ภิญโญศรี. (2021). เทคนิคการเขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจ. https://www.msu.ac.th Kru JoJo Talk. (2554). เขียนคำนำ อย่างไรให้ดูดี. https://www.krujojotalk.com
ภาพลักษณ์ใหม่ห้องสมุดประชาชนเมืองเมมฟิสที่น่าจับตามอง #ภาพลักษณ์ใหม่ห้องสมุดประชาชนเมืองเมมฟิส . เมืองเมมฟิสตั้งอยู่ริมแม่น้ำมิสซิสซิปปี ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐเทนเนสซี เป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญด้านการขนส่งทั้งทางน้ำและทางอากาศ สมญานาม ‘เมืองแห่งเพลงบลูส์’ สะท้อนถึงวัฒนธรรมทางดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอเมริกัน-แอฟริกัน ซึ่งมีสัดส่วนประชากรร้อยละ 65 ของเมือง . นักวิจัยได้ทำการสำรวจข้อมูลของห้องสมุดนานแรมปี พบว่า คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับห้องสมุด แต่ภาพลักษณ์ห้องสมุดในทัศนะของพวกเขา คือ สถานที่เงียบงันและมีไว้เพื่อเก็บรักษาสิ่งที่เกี่ยวกับอดีต . มีการวิเคราะห์ว่า ห้องสมุดเต็มไปด้วยบริการและกิจกรรมที่น่าประทับใจ แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้ ดังนั้น ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ แต่ต้องหาวิธีทำให้ผู้ใช้บริการมองห้องสมุดในมุมที่ต่างออกไป ในฐานะพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ในทุกรูปแบบ ไม่ใช่แค่สำหรับการอ่านและยืมหนังสือเท่านั้น . สิ่งแรกที่ง่ายที่สุดคือ การเปลี่ยนบัตรสมาชิกใหม่ จากเดิมที่เป็นบัตรขาวดำไร้การออกแบบ และเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ ‘ราวกับเอกสารทัณฑ์บน’ มีการปรับปรุงขั้นตอนการสมัครและออกแบบการ์ดใหม่ให้ดูเหมือนบัตรสมาชิกสโมสรสุขภาพ ต่อมาห้องสมุดออกแบบเว็บไซต์ใหม่ทั้ง 18 สาขา รวมทั้งผลิตสื่อวีดิทัศน์โฆษณา ชื่อว่า ‘Start Here’ โดยดึงผู้ที่มีชื่อเสียงของเมืองมาเป็นพรีเซนเตอร์ เนื้อเพลงท่อนหนึ่งบรรยายว่าห้องสมุดเป็น “ร้านค้าครบวงจรที่สนับสนุนทุกสิ่งที่คุณอยากทำ” . หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ประสบความสำเร็จมาก คือ การเปลี่ยนตู้ให้เช่าภาพยนตร์ยี่ห้อ ‘Redbox’ ซึ่งตั้งอยู่ตามหน้าร้านขายของชำและร้านขายยาให้กลายเป็นโลโก้ ‘Readbox’ ภายในตู้แทนที่ด้วยหนังสือและข้อมูลเกี่ยวกับการบริการของห้องสมุด แล้วนำไปจัดวางตามสถานที่ต่างๆ ทั่วเมือง . นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดกับผู้คน รวมทั้งทำให้ห้องสมุดเข้าถึงได้และดูเป็นเรื่องน่าสนุกยิ่งขึ้น