การอ้างอิงมีดีอย่างไร การอ้างอิงมีดีอย่างไร การอ้างอิงสำคัญแค่ไหน? แล้วจะดีอย่างไร? มาดูกัน!! โดยทั่วไป “การอ้างอิง” ก็คือ การอ้างถึงบางสิ่ง หรือการอธิบายบางสิ่งบางอย่าง หรือสิ่งที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างสองสิ่ง ความเกี่ยวข้องกันระหว่างสองสิ่งนั้นอาจจะเป็น หนังสือ สถานที่ บุคคล เช่น ข้อมูล ความคิด ความจำ สิ่งที่เป็นสิ่งอ้างอิง เรียกว่า ผู้ถูกอ้างอิง เมื่อใดก็ตามที่เราอ้างโดยตรง สรุป หรือ ถอดความ ความคิดของผู้เขียนคนอื่นในเนื้อหาของเรา จำเป็นต้องอ้างอิงถึงพวกเขาอย่างยิ่งค่ะ ซึ่งการอ้างอิงถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเลยนะคะ เพราะมันอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้สืบค้นในภายหลังได้ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นมันมีข้อดีมากไปกว่านั้นอีกค่ะ เราลองมาดูกันว่า การอ้างอิงนั้นมีข้อดีและมีความสำคัญอย่างไรกับงานของเราบ้าง การอ้างอิงส่งผลให้เราเป็นนักเขียนที่ดีขึ้น การอ้างอิงทำให้เราเป้นนักเขียนที่ดีได้ยังไง หลายๆ คนคงจะสงสัยกันใช่ไหมล่ะคะ เราอยากบอกว่าการอ้างอิงทำให้เราเป็นนักเขียนที่ดีขึ้นได้จริงๆ นะคะ ก็เพราะว่ายิ่งเราอ้างอิงเป็นเท่าไร มีนิสัยการอ้างอิงที่ดีมากเท่าไร สิ่งนี้นี่แหละค่ะที่จะสร้างรากฐานแข็งแกร่งในงานเขียนเราได้ การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อเท็จจริงจะช่วยขจัดความคิดคลุมเครือ การเขียนสะเปะสะปะ และการกล่าวอ้างเท็จ เมื่อเรามีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องในเนื้อหา ผู้อ่านจะไม่มีคำถามเกี่ยวกับประเด็นที่เรานำเสนอนั่นเองค่ะ การอ้างอิงสร้างความน่าเชื่อถือ ทุกคนล้วนต้องการความน่าเชื่อถือใช่ไหมล่ะคะ ยิ่งข้อมูลแน่นๆ เนื้อหาเยอะๆ หากขาดความน่าเชื่อถือไปล่ะก็ งานชิ้นนั้นก็กลายเป็นว่าไม่มีข้อเท็จจริงมาสอดรับไว้เลย แต่เมื่อเราอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง สิ่งนี้จะบอกผู้อ่านว่าเราได้ทำการวิจัย ได้ศึกษามา และรู้ว่าคนอื่นพูดถึงหัวข้อของเราอย่างไร การอ้างอิงช่วยส่งเสริมให้บริบทในการเขียนของเรา และให้ความน่าเชื่อถือและอำนาจแก่การอ้างสิทธิ์ที่เราทำในข้อความได้ การอ้างอิงช่วยให้เราห่างไกลจากการลอกเลียนแบบ เหตุผลที่สำคัญที่สุดหนึ่งข้อในการอ้างถึงงานอย่างถูกต้อง ก็คือ การหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบ เมื่อเรานำงานหรือข้อมูลของคนอื่นมาใช้ อย่าลืมเขียนใหม่ด้วยคำพูดของเราแล้วอ้างอิงงานนั้น ซึ่งจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบได้นั่นเองค่ะ การอ้างอิงเป็นการเคารพความคิดคนอื่น ตรงนี้สำคัญมาก!! การอ้างอิงทำให้แยกแยะออกได้ว่า ส่วนไหนมาจากที่เราคิด ส่วนไหนมาจากบุคคลอื่น การอ้างอิงโดยนัยนี้จึงแสดงให้เห็นถึง “ความมีจรรยาบรรณ” ของเรานั่นเองค่ะ การอ้างอิงแสดงว่าเราค้นคว้ามามาก ค้นคว้ามามาก แต่ต้องอ้างอิงให้ถูกนะคะ ไม่ใช่อ้างจากแหล่งงานเดียว เราต้องหาเก็บข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ด้วย ทั้งไทยก็ดี ต่างประเทศก็ดีค่ะ จะช่วยเสริมให้งานเราดูดีมีคุณภาพขึ้น
ชิเน็น มิกิโตะ นักเขียนในคราบแพทย์หนุ่มญี่ปุ่น เผยกฎเหล็ก 3 ข้อที่ช่วยให้เขียนนิยายอย่างมีประสิทธิภาพ ชิเน็น มิกิโตะ นักเขียนในคราบแพทย์หนุ่มญี่ปุ่น เผยกฎเหล็ก 3 ข้อที่ช่วยให้เขียนนิยายอย่างมีประสิทธิภาพ ชิเน็น มิกิโตะ คือนักเขียนที่เขียนนิยายออกมาแล้วมากกว่า 20 เล่ม โดยหนังสือสือนิยายที่เขาเขียนถูกสร้างเป็นซีรีส์ลึกลับถึง 3 เรื่อง ได้แก่ Takao Ameku’s Deductive Medical Charts, Shinigami และ Cheers at Miki Clinic ซึ่งเขาทุ่มเทเวลาเพียง 8 ปี ในการสร้างผลงานผ่านตัวหนังสืออันน่าประทับใจนี้ และเขาไม่ได้ทำแค่อาชีพนักเขียนเท่านั้น ในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นนายแพทย์แผนกอายุรกรรมอีกด้วย แล้วอะไรกันที่ทำให้คุณชิเน็นสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้มากมาย และยังคงทำงานแพทย์ไปด้วยได้กันล่ะ สยามจุลละมณฑลมีคำตอบค่าา ความลับจริงๆ ของการมีไอเดียใหม่ๆ ออกมาเขียนได้ตลอดของคุณชิเน็นนั้น มาจากกฎ 3 ข้อที่เขาตั้งขึ้นมาใช้กับตัวเอง ซึ่งเขาได้โพสต์กฎทั้งสามข้อนี้ให้ผู้ติดตามได้อ่านกันบนทวิตเตอร์ของเขา (@MIKITO_777) ไว้ด้วยว่า “นี่ก็ 8 ปีมาแล้วนับตั้งแต่ผมได้เริ่มเป็นนักเขียนนิยาย และในช่วงที่เริ่มต้นนั้นผมก็ได้ตั้งกฎสามข้อขึ้นมาสำหรับตนเอง” 1. นอนให้มากเท่าที่จะมากได้ 😴 2. เวลาที่เริ่มเขียนงานให้ปิดสมาร์ตโฟน และปิดอินเทอร์เน็ตของคอมพิวเตอร์ 🌐 3. ทุกๆ วันให้คอยบันทึกไว้ว่าตัวเองเขียนไปทั้งหมดกี่คำ ✍🏻 และคุณชิเน็นก็บอกว่า “ตั้งแต่ผมเริ่มทำตามกฎเหล่านี้ ความเร็วในการเขียนของผมก็เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก” ซึ่งกลยุทธ์นี้เรียกได้ว่าสมเหตุสมผลมากเลยทีเดียวค่ะ เพราะแน่นอนว่านักเขียนเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก และไม่ว่าคุณจะมีทักษะการเขียนที่คมคายแค่ไหน แต่ถ้าคุณเหนื่อยล้าและรู้สึกง่วงก็คงจะไม่สามารถเขียนงานที่ดีออกมาได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นคนที่ต้องทำงานหลักในช่วงกลางวันเหมือนกับคุณชิเน็น หากคุณรู้ตัวว่าต้องตื่นเช้าไปทำงานล่ะก็ ปิดสวิชช์ความเป็นนักเขียนในยามที่คุณควรจะพักผ่อนไปได้เลย คุณควรไปนอนพักเพื่อให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เช่นเดียวกันค่ะ การปิดโทรศัพท์มือถือก็จะช่วยให้คุณมีสมาธิ ไม่มัวไปจดจ่อกับการหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูข้อความ หรือเช็กหน้าโซเชียลมีเดีย หรือการหาอะไรดูผ่อนคลายบนอินเทอร์เน็ต สุดท้ายก็ไม่ได้เขียนอะไรสักอย่าง ซึ่งในจุดนี้คุณชิเน็นก็มีข้อได้เปรียบอยู่ เพราะอย่างที่บอกไปว่านิยายของเขาเป็นแนวเรื่องลึกลับเกี่ยวกับการแพทย์ ซึ่งเขามีความรู้ในเรื่องนี้มากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นั่นจึงช่วยลดเวลาที่ใช้ในการหาข้อมูลเพื่อเขียนนิยายของเขาเป็นอย่างมากทำให้เขาสามารถทุ่มเวลาไปกับขั้นตอนการเขียนได้อย่างเต็มที่ จึงไม่ใช่เรื่องลำบากอะไรหากเขาจะต้องตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตในระหว่างที่เขาเริ่มเขียนงาน และด้วยความที่เขาเป็นนักเขียน ไม่ใช่การเขียนนิยายผ่านเว็บไซต์ หรือบล็อกส่วนตัวยิ่งทำให้เขาไม่ต้องเขาสู่โลกอินเทอร์เน็ตเลยแม้แต่น้อย แต่สำหรับนักเขียนบางท่านที่ต้องหาข้อมูลสำหรับงานเขียน การแบ่งเวลาหาข้อมูลและการเขียนออกจากกันก็อาจจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้เช่นกัน เพราะเมื่อคุณมีข้อมูลที่ต้องการเพียงพอแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องกลับไปค้นหาข้อมูลทุกห้านาที และสามารถเพ่งสมาธิลงไปกับการเขียนได้อย่างเต็มที่ และข้อสุดท้ายการบันทึกจำนวนคำที่ได้เขียนไปในแต่ละวันจะช่วยให้เรามองเห็นว่าเราทำงานในแต่ละวันไปได้มากน้อยแค่ไหน และจากนั้นมันจะกลายเป็นขั้นต่ำในการทำงานที่เราตั้งเป้าจะไปให้ถึงในแต่ละวัน และถ้ามันมีแนวโน้มว่าเราเริ่มทำงานช้าลงเรื่อยๆ เราอาจจะต้องกลับไปดูอีกครั้งว่าเราทำตามกฎข้อ 1 และ 2 ได้ดีพอแล้วหรือยัง ผู้ติดตามทางออนไลน์ของคุณชิเน็น ก็รู้สึกเห็นด้วยกับคำแนะนำของเขาเป็นอย่างมากและได้เขียนข้อความตอบกลับกันมาไม่น้อยเลย “ฉันเป็นนักเรียนม.ปลาย และคิดว่านี่น่าจะเป็นกลยุทธ์ในการเรียนที่ดีเลย” “ฉันรู้สึกนับถือในความพยายาม และความมีวินัยที่คุณทุ่มให้กับนิยายของคุณจริงๆ” “บางคนอาจจะบอกว่ากฎพวกนี้มันก็เป็นของตายอยู่แล้ว แต่มีไม่กี่คนหรอกที่ทำตามกฎเหล่านี้ได้อย่างจริงจัง” “ฉันเป็นนักวาด และฉันว่าจะลองทำตามกฎพวกนี้ดูบ้าง” แต่แล้วคุณชิเน็นก็ปิดท้ายทวิตด้วยข้อความใหม่ไปว่า “และนี่ถึงเวลาที่ผมจะต้องกลับไปเขียนนิยายแล้ว ผมคงต้องขอตัดขาดจากอินเตอร์เน็ตไปก่อน วันนี้ผมยังต้องเขียนอีก 10 หน้า…” 5555 ต้องกลับไปทำหน้าที่นักเขียนอย่างจริงจังแล้วสินะ ถือเป็นกฎเหล็ก 3 ข้อที่ทำตามได้ง่ายมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความอดทนด้วยใช่ไหมล่ะคะทุกคน ลองนำ 3 กฎดีๆ แบบนี้ไปใช้กันน้าา🥰 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Twitter/@MIKITO_777 SoraNews24 https://akibatan.com
เขียนเค้าโครงหนังสือก่อนเขียนเนื้อหา ช่วยให้งานราบรื่นกว่าที่คิด เขียนเค้าโครงหนังสือก่อนเขียนเนื้อหา ช่วยให้งานราบรื่นกว่าที่คิด #การเขียนเค้าโครงเรื่องดีอย่างไร เรามาหาคำตอบกันค่ะ ‘โครงเรื่อง’ เป็นการกำหนดแนวทางการเขียน การเรียบเรียงข้อมูล การจัดลำดับความคิด และการจัดลำดับหัวข้อ หลังจากที่เรารวบรวมข้อมูลมาแล้ว การเขียนโครงเรื่องจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในงานเขียน แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้เขียนจะต้องเขียนตามโครงเรื่องที่วางไว้เสมอ เพราะเมื่อลงมือเขียนจริงอาจมีการปรับเปลี่ยนโครงได้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้การเขียนโครงเรื่องยังช่วยให้เราไม่สับสนเวลาเขียน หรือเขียนหัวข้อใดข้อหนึ่งยาวเกินไป และอาจจะลืมเขียนบางหัวข้อ ดังนั้น การเขียนโครงเรื่องก่อนที่จะลงมือเขียนเนื้อหาอย่างจริงจัง จะทำให้งานเขียนมีความสมบูรณ์มากที่สุด และงานนั้นก็จะออกมาอย่างราบรื่นอีกด้วยค่าา #ประโยชน์ของโครงเรื่อง การเขียนโครงเรื่องมีประโยชน์ในการเขียนของเราอยู่หลายประการ ดังนี้ค่ะ 1. โครงเรื่องช่วยในการนำเสนอเนื้อหา ทำให้ผู้เขียนเตรียมเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายในการเขียน รู้จักกำหนดขอบข่ายของเนื้อหา รวมทั้งช่วยให้เห็นแนวทางการเรียบเรียงความคิด ว่าควรจะใช้แบบใด และมีเนื้อหาในประเด็นหรือหัวข้อใดที่เรายังไม่รู้ดีพอหรือยังหารายละเอียดไม่ได้ เราก็สามารถเตรียมความรู้เหล่านี้เพิ่มเติมได้อีกจนเพียงพอ 2. โครงเรื่องช่วยแบ่งหัวข้อได้ชัดเจน การแบ่งหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยอย่างชัดเจนทำให้ผู้เขียนสามารถจัดลำดับเพื่อเชื่อมโยงหัวข้อย่อยกับหัวข้อย่อย หัวข้อใหญ่กับหัวข้อย่อยได้ง่าย 3. โครงเรื่องช่วยเขียนเรื่องอย่างมีเหตุผล ทำให้ผู้เขียนมองเห็นความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ ในเนื้อหาจากโครงเรื่องได้ชัดเจน ว่ามีประเด็นหรือหัวข้อใดเกี่ยวข้องกันบ้าง และความคิดของประเด็นต่างๆ เหล่านั้นเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร จึงจะทำให้เนื้อหามีน้ำหนักและสมเหตุสมผล 4. โครงเรื่องช่วยในการวางสัดส่วนของเรื่องได้เหมาะสม โครงเรื่องช่วยให้ทราบว่าควรเขียนในประเด็นอะไรบ้าง มีประเด็นใดที่ไม่ควรเขียน หรือประเด็นใดควรนำความคิดหรือรายละเอียดมาสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน จึงจะพอเหมาะกับความยาว ซึ่งจะช่วยให้สัดส่วนของเรื่องเหมาะสม 5. โครงเรื่องช่วยไม่ให้ลืมหัวข้อเรื่องที่จะเขียน ในขณะเขียนเราอาจจะจดจ่อกับเรื่องที่เขียนจนลืมเขียนหัวข้ออื่นๆ ได้ แต่การเขียนโครงเรื่องจะช่วยเตือนความจำให้เราไม่ลืมเขียนหัวข้อ 6. โครงเรื่องช่วยไม่ให้สับสนเวลาเขียน การเขียนโครงเรื่องก่อนลงมือเขียนเปรียบเสมือนการเขียนฉบับร่างของงานเขียน เมื่อลงมือเขียนจึงสามารถเขียนตามหัวข้อต่างๆ ที่ผู้เขียนได้วางโครงเรื่องไว้ทำให้ไม่เกิดความสับสนเวลาเขียน ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://ajsurat.blogspot.com
เขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน เขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน ก่อนจะเรียนรู้วิธีการเขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจและน่าอ่าน เรามารู้จักความหมายของคำนำ กันก่อนค่าา . คำนำ คือ ส่วนแรกที่เราได้เห็นเมื่อเปิดหนังสือหรือเล่มรายงาน ซึ่งจะเล่าถึงวัตถุประสงค์ ทำขึ้นเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร อาจมีการเขียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านอย่างไร ที่สำคัญไม่ควรเขียนยาวหรือสั้นเกินไปด้วย เมื่อเขียนเสร็จ ควรลงท้ายผู้จัดทำหรือคณะผู้จัดทำรายงานด้วย . คำนำที่ดีจะทำให้คนอ่านติดตามเรื่องของเราโดยตลอด ถ้าคำนำไม่ดีเขาจะหยุดอ่าน ดังนั้นในตอนต้นควรมีวิธีการชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราให้จบ โดยต้องสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด . ราชบัณฑิตยสถาน ระบุไว้ว่า “คำนำที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้” 🌟 เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ 🌟 เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ 🌟 เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน 🌟 เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน . . สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ ได้แก่ 🌟 ไม่ควรเอาประวัติศาสตร์ หรือเรื่องพื้นๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเขียนเป็นคำนำ 🌟 ไม่ควรอธิบายคำนำอย่างฟุ้งซ่าน จนไม่มีจุดหมายของเรื่อง 🌟 ไม่ควรขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร 🌟 ไม่ควรเขียนคำนำด้วยการออกตัว เช่น ออกตัวว่าไม่พร้อมหรือไม่เชี่ยวชาญเรื่องที่เขียน อาจทำให้ผู้อ่านไม่สนใจอ่านรายงานก็ได้ 🌟 ไม่ควรเขียนซ้ำกับส่วนสรุป หรือความลงท้าย 🌟 ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ซึ่งนอกจากนี้การเขียนคำนำให้ดี ก็ต้องสามารถดึงประเด็นที่สำคัญออกมาจากเนื้อหาที่เราเขียนลงไปให้ได้ เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักๆ ของหนังสือเล่มนั้นนั่นเองค่า . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.msu.ac.th https://www.krujojotalk.com #สยามจุลละมณฑล #การเขียนคำนำ #คำนำที่ดี #เทคนิคการเขียนคำนำ คำนำ คือ ส่วนแรกที่เราได้เห็นเมื่อเปิดหนังสือหรือเล่มรายงาน ซึ่งจะเล่าถึงวัตถุประสงค์ ทำขึ้นเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร อาจมีการเขียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านอย่างไร ที่สำคัญไม่ควรเขียนยาวหรือสั้นเกินไปด้วย เมื่อเขียนเสร็จ ควรลงท้ายผู้จัดทำหรือคณะผู้จัดทำรายงานด้วย . คำนำที่ดีจะทำให้คนอ่านติดตามเรื่องของเราโดยตลอด ถ้าคำนำไม่ดีเขาจะหยุดอ่าน ดังนั้นในตอนต้นควรมีวิธีการชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราให้จบ โดยต้องสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด . #ราชบัณฑิตยสถาน ระบุไว้ว่า “คำนำที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้” 🌟 เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ 🌟 เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ 🌟 เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน 🌟 เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง 🌟 เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน . . #สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ ได้แก่ 🌟 ไม่ควรเอาประวัติศาสตร์ หรือเรื่องพื้นๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเขียนเป็นคำนำ 🌟 ไม่ควรอธิบายคำนำอย่างฟุ้งซ่าน จนไม่มีจุดหมายของเรื่อง 🌟 ไม่ควรขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร 🌟 ไม่ควรเขียนคำนำด้วยการออกตัว เช่น ออกตัวว่าไม่พร้อมหรือไม่เชี่ยวชาญเรื่องที่เขียน อาจทำให้ผู้อ่านไม่สนใจอ่านรายงานก็ได้ 🌟 ไม่ควรเขียนซ้ำกับส่วนสรุป หรือความลงท้าย 🌟 ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ซึ่งนอกจากนี้การเขียนคำนำให้ดี ก็ต้องสามารถดึงประเด็นที่สำคัญออกมาจากเนื้อหาที่เราเขียนลงไปให้ได้ เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักๆ ของหนังสือเล่มนั้นนั่นเองค่า . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : จุฑามาศ ภิญโญศรี. (2021). เทคนิคการเขียนคำนำอย่างไรให้น่าสนใจ. https://www.msu.ac.th Kru JoJo Talk. (2554). เขียนคำนำ อย่างไรให้ดูดี. https://www.krujojotalk.com
ภาพลักษณ์ใหม่ห้องสมุดประชาชนเมืองเมมฟิสที่น่าจับตามอง #ภาพลักษณ์ใหม่ห้องสมุดประชาชนเมืองเมมฟิส . เมืองเมมฟิสตั้งอยู่ริมแม่น้ำมิสซิสซิปปี ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐเทนเนสซี เป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญด้านการขนส่งทั้งทางน้ำและทางอากาศ สมญานาม ‘เมืองแห่งเพลงบลูส์’ สะท้อนถึงวัฒนธรรมทางดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอเมริกัน-แอฟริกัน ซึ่งมีสัดส่วนประชากรร้อยละ 65 ของเมือง . นักวิจัยได้ทำการสำรวจข้อมูลของห้องสมุดนานแรมปี พบว่า คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับห้องสมุด แต่ภาพลักษณ์ห้องสมุดในทัศนะของพวกเขา คือ สถานที่เงียบงันและมีไว้เพื่อเก็บรักษาสิ่งที่เกี่ยวกับอดีต . มีการวิเคราะห์ว่า ห้องสมุดเต็มไปด้วยบริการและกิจกรรมที่น่าประทับใจ แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้ ดังนั้น ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ แต่ต้องหาวิธีทำให้ผู้ใช้บริการมองห้องสมุดในมุมที่ต่างออกไป ในฐานะพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ในทุกรูปแบบ ไม่ใช่แค่สำหรับการอ่านและยืมหนังสือเท่านั้น . สิ่งแรกที่ง่ายที่สุดคือ การเปลี่ยนบัตรสมาชิกใหม่ จากเดิมที่เป็นบัตรขาวดำไร้การออกแบบ และเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ ‘ราวกับเอกสารทัณฑ์บน’ มีการปรับปรุงขั้นตอนการสมัครและออกแบบการ์ดใหม่ให้ดูเหมือนบัตรสมาชิกสโมสรสุขภาพ ต่อมาห้องสมุดออกแบบเว็บไซต์ใหม่ทั้ง 18 สาขา รวมทั้งผลิตสื่อวีดิทัศน์โฆษณา ชื่อว่า ‘Start Here’ โดยดึงผู้ที่มีชื่อเสียงของเมืองมาเป็นพรีเซนเตอร์ เนื้อเพลงท่อนหนึ่งบรรยายว่าห้องสมุดเป็น “ร้านค้าครบวงจรที่สนับสนุนทุกสิ่งที่คุณอยากทำ” . หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ประสบความสำเร็จมาก คือ การเปลี่ยนตู้ให้เช่าภาพยนตร์ยี่ห้อ ‘Redbox’ ซึ่งตั้งอยู่ตามหน้าร้านขายของชำและร้านขายยาให้กลายเป็นโลโก้ ‘Readbox’ ภายในตู้แทนที่ด้วยหนังสือและข้อมูลเกี่ยวกับการบริการของห้องสมุด แล้วนำไปจัดวางตามสถานที่ต่างๆ ทั่วเมือง . นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดกับผู้คน รวมทั้งทำให้ห้องสมุดเข้าถึงได้และดูเป็นเรื่องน่าสนุกยิ่งขึ้น
รู้จัก วีรพร นิติประภา ผู้เคยคว้ารางวัลซีไรต์ถึง 2 เล่ม รู้จัก วีรพร นิติประภา ผู้เคยคว้ารางวัลซีไรต์ถึง 2 เล่ม “เนื่องจากมันจะเป็นนิยายเรื่องแรก มันจำเป็นต้องหาวิธีการเขียน เอาพล็อตง่ายๆ เอาพล็อตแบบที่ไม่ต้องคิด ไปยุ่งเรื่องเทคนิค เราจะเล่าเรื่องนี้อย่างไร เส้นเรื่องจะเป็นอย่างไร ไทม์ไลน์จะเป็นอย่างไร เราจะทำอย่างไร เป็นการสำรวจมากกว่า เพราะฉะนั้น มันก็เลยเริ่มด้วยพล็อตน้ำเน่าก่อน อันนี้ไอเดียแรกๆ เลย” – วีรพร นิติประภา – จากบทสัมภาษณ์ใน sanook.com . . วีรพร นิติประภา หรือ คุณแหม่ม คือหนึ่งในนักประพันธ์ไทยที่สร้างปรากฏการณ์ในแวดวงวรรณกรรมไทยด้วยการเขียนหนังสือเรื่อง #ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต นวนิยายเล่มแรกของเธอ และคว้ารางวัลซีไรต์มาได้ในปี พ.ศ.2558 ก่อนสร้างงานเขียนวรรณกรรมเนื้อหายาวออกมาอีกเล่มในชื่อ #พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ และคว้ารางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ.2561 ไปครองอีกครั้ง . ผลงานของคุณวีรพรนั้นมีจุดเด่นอยู่ที่การเล่าเรื่องและภาษาที่ละเมียดละไม และเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับการเมืองและสังคม นั่นจึงทำให้หนังสือที่เธอได้เขียนออกมามีคนให้ความสนใจเป็นวงกว้าง . . นอกจากหนังสือ 2 เล่มนี้ที่เธอคว้ารางวัลมา ก็ยังมีผลงานหนังสืออีกมากมายที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น . 📓 #โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก 📓 #ทะเลสาบน้ำตา 📓 #สมิทธิ์อายุ35ปี
5 ข้อสำหรับการเป็นนักเขียนรีไรต์ที่ดี การรีไรต์ ก็เหมือนกับการนำบทความ เนื้อหา ของผู้อื่นมาต่อยอดเป็นงานเขียนของตัวเองให้มีคุณภาพย่ิงขึ้น โดยมีการประยุกต์คำ ประโยคขึ้น ใส่มุมมองใหม่ๆ ของเราให้รูปประโยค เนื้อความกระจ่างขึ้นนั่นเอง แต่เนื้อความในบางจุดยังคงมีเรื่องที่นักเขียนท่านอื่นได้เขียนหรือเล่าเรื่องราวไปบ้างแล้ว . การรีไรต์อาจมองว่าเป็นการก๊อปปี้ผลงานของผู้อื่น แต่ในบางครั้งเราก็มองได้ว่า นี่คือการสร้างสรรค์งานเขียนให้ดีขึ้นกว่าเดิม . แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับนักเขียนทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ที่ถนัดในการเขียนรีไรต์ นั่นคือ บทความที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่นั้นจะต้องไม่เป็นเรื่องที่ล่อแหลม หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นค่ะ . นอกจากนั้น สิ่งที่เราควรตระหนักถึงก็คือ หากเนื้อหาในบทความที่เราได้สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่นั้น เป็นแนวหาในเชิงที่ต้องให้เครดิตแก่ผู้คิดค้น เราไม่ควรละเลยการยกเครดิตให้กับเจ้าของบทความเดิม ผู้ซึ่งเป็นคนคิดค้นไอเดียนั้น หรือถ้อยคำนั้น และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะแอบอ้างเอาชื่อตัวเองใส่ลงไปว่าเราเป็นผู้คิดค้นสิ่งนั้นๆ ด้วยตนเองเป็นอันขาดค่ะ เพราะจะมองได้ว่าเป็นการไม่เคารพผู้อื่น แถมเรายังไม่เคารพตัวเองอีกด้วยนะคะ . . ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูว่า การเป็นนักเขียนรีไรต์ที่ดี ควรทำอย่างไรกันค่ะ . 1 นักเขียนทุกคนจะต้องรับรู้และใส่ใจในรายละเอียดการเขียนบทความที่มีคุณภาพ ด้วยเนื้อหาที่ต้องดีกว่า มากกว่า และลงลึกได้ชัดเจนกว่าต้นฉบับ และยังต้องถูกต้อง รวมถึงมีความน่าเชื่อถือด้วย . 2 สำนวนในการเขียนและสร้างสรรค์ผลงานจะต้องดี อ่านแล้วเข้าใจ ไม่มีคำหยาบ หรือ ดิสเครดิตใคร รวมถึงจะต้องไม่ลอกเลียนสำนวนของผู้อื่น เพราะการที่นักเขียนแต่ละคนมีสำนวนของตัวเอง นับว่าเป็นเสน่ห์ของตัวเองที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้อ่านค่ะ . 3 การรีไรท์บทความที่ดี จะต้องมีเนื้อหาที่ครอบคลุม ตอบโจทย์ทุกความสงสัยของผู้อ่าน นั่นหมายถึง ทุกคำที่เราเขียนลงไปจะต้องเป็นคำตอบที่ผู้อ่านอยากจะรู้ . 4 ที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างที่เราเขียนขึ้นมา หากเป็นเชิงหลักการ ไม่ใช่เชิงแนวความคิด เห็น จะต้องมีแหล่งข้อมูลของเนื้อหาที่เชื่อถือได้ ไม่ตุตะเอาเอง . 5 ต้องรู้จักตรวจเช็กข้อมูลทุกครั้ง ตรวจดูว่าข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการเขียน ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น อายุ พ.ศ. เวลา เป็นต้น เพราะเป็นจุดเล็กที่หลายคนมักจะมองข้าม และทำให้พลาดใส่ข้อมูลผิดลงไปได้ค่ะ
กระดาษข่อย ผลผลิตจากสมัยโบราณ กระดาษข่อย ผลผลิตจากสมัยโบราณ กระดาษข่อยเป็นสมุดเอกสารตัวเขียนแบบพับที่เคยนิยมใช้ในวัฒนธรรมพุทธ ส่วนใหญ่มักใช้เขียนตำราทางโลก เช่น พระราชพงศาวดาร เอกสารทางกฎหมาย และงานวรรณกรรม ในขณะที่เอกสารตัวเขียนใบลานมักใช้กับตำราทางศาสนา นอกจากนี้ สมุดนี้มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น ‘ปะระไบ’ ในภาษาพม่า ‘สะหมุดข่อย’ ในภาษาลาว ‘พับสา’ ในภาษาไทยถิ่นเหนือและลาว และ ‘ไกรง์’ ในภาษาเขมร . กระดาษข่อยถือเป็นกระดาษที่คนไทยผลิตขึ้นใช้เองมาแต่โบราณ แต่เมื่อระบบการผลิตกระดาษแบบอุตสาหกรรมและการพิมพ์เข้ามาการทำกระดาษข่อยก็เริ่มสูญหายไป แม้ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า การทำกระดาษในเมืองไทยเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อใด แต่พบว่าในสมัยอยุธยามีการทำกระดาษข่อยใช้แล้ว โดยหลักฐานสำคัญคือพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ที่บันทึกพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาบนกระดาษข่อยสีดำด้วยตัวอักษรสีขาว (หรือเรียกว่า สมุดไทยดำ) ตามที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงมีรับสั่งให้เรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ.2223 . ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้บันทึกการทำกระดาษและสมุดของชาวกรุงศรีอยุธยาไว้ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ในราว พ.ศ.2223 ว่า “…ชาวสยามทำกระดาษจากผ้าฝ้ายเก่าๆ และยังทำจากเปลือกต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อต้นข่อย (Ton Coe) อีกด้วย ซึ่งต้องนำมาบดย่อยให้ละเอียด เช่น การย่อยผ้าขี้ริ้ว แต่กระดาษเหล่านี้มีความหนาบางไม่สม่ำเสมอ ทั้งเนื้อกระดาษและความขาวผ่องก็หย่อนกว่าของเรา… “…หนังสือของพวกเขาไม่มีการเข้าเล่ม เย็บสัน หากทำเป็นยาวเหยียดไม่ใช้วิธีม้วนเก็บเช่นบรรพบุรุษของเรา หากพับทบไปมาอย่างพับพัดด้ามจิ้ว และทางที่ตีเส้นบรรทัดเขียนตัวอักษรนั้นเป็นไปตามยาวของรอยพับหาได้เขียนทางด้านขวางไม่” . (อ้างอิงจาก จดหมายเหตุลาลูแบร์ราชอาณาจักรสยาม แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร, เล่ม 1, พ.ศ.2510) . . ซึ่งในปัจจุบันเองยังมีการผลิตกระดาษข่อยมาใช้อยู่นะคะ อยู่ที่ #ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทองค่ะ . ทางศูนย์ฯ ใช้ #กระดาษข่อยโบราณ ในการทำหัวโขน ทำตาลปัตรถวายแด่พระสงฆ์ในงานพิธีสงฆ์ของศูนย์ศิลปาชีพต่างๆ และทำเป็นของที่ระลึกจำหน่ายในการแสดงโขนของมูลนิธิ โดยเขียนภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณีไทยลงบนกระดาษข่อย . ซึ่งกว่าจะได้กระดาษข่อย 1 แผ่น สมุดข่อย 1 เล่ม และหัวโขน 1 หัว ต้องผ่านขั้นตอนการทำที่ซับซ้อนบวกกับแรงกาย แรงใจ และทักษะฝีมืออย่างมาก ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทองในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงเป็นแหล่งบ่มเพาะคนรุ่นใหม่เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาของไทยมิให้สูญหาย
กระดาษแผ่นแรกของโลก เรื่องไม่ลับ เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล กระดาษแผ่นแรกของโลก เรื่องไม่ลับ เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล #กระดาษ วัสดุแผ่นบางๆ ผลิตขึ้นมาเพื่อการจดบันทึก 📃 . เรื่องราวของกระดาษนั้นมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากค่ะ ว่ากันว่ากระดาษถูกคิดค้นและมีการใช้กระดาษครั้งแรกจาก #ชาวอียิปต์ และ #ชาวจีนโบราณ จุดประสงค์หลักของกระดาษถูกสร้างขึ้นเพื่อการจดบันทึกด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งในปัจจุบันเรารู้กันดีว่า กระดาษไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ใช้จดบันทึกตัวหนังสือหรือข้อความเท่านั้น แต่ยังใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น กระดาษห่อของขวัญ กระดาษสำหรับทำกล่อง กระดาษชำระ เป็นต้น . #กระดาษแผ่นแรกของโลก ถูกคิดค้นโดยชาวอียิปต์โบราณ เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล 🤩 เรียกกันว่า กระดาษปาปิรุส (Papyrus) ผลิตจากหญ้าที่ชื่อว่า ”ปาปิรุส” หรือต้นกก 🌱 . #กระดาษของชาวอียิปต์โบราณ ซึ่งกรรมวิธีในการทำกระดาษปาปิรุสของอียิปต์นั้น ทำโดยการจัดวางต้นกกปาปิรุสให้เป็นแนวขวางขัดกันและนำมาบทอัดจนแน่นพร้อมทั้งทำให้แห้งโดยการตากแดด เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวัสดุและวิธีการผลิต เพื่อให้ได้กระดาษที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นจนถึงสมัยปัจจุบันที่ใช้ต้นยูคาลิปตัสแทนต้นปาปิรุสนั่นเองค่ะ . นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า มีการใช้งานกระดาษปาปิรุสตั้งแต่ปฐมราชวงศ์ของอียิปต์ (ราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล) . ผู้คนสมัยในโบราณจะใช้วัสดุต่างๆ หลากหลายเพื่อการบันทึก ทั้งแผ่นโลหะ⚙️ ใบลาน📜 เปลือกไม้🪵 แม้กระทั่งหิน🪨 และเมื่อราว ค.ศ.105 สมัยพระเจ้าจักรพรรดิโฮตี่ ชาวจีนได้ประดิษฐ์กระดาษโดยชาวเมืองลีบางชื่อว่า ไซลุง (Ts’ai’Lung) ใช้เปลือกไม้เศษมาต้มจนได้เยื่อกระดาษและมาเกลี่ยบนตระแกรงปล่อยให้แห้งและหลังจากนั้นวิธีผลิตกระดาษเช่นนี้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว . กระดาษถูกนำจากประเทศจีนสู่โลกมุสลิมผ่านสงครามทัลลัส (Tallas) ในปี ค.ศ.751 ที่กองทัพจีนรบกับกองทัพมุสลิม เชลยศึกชาวจีน 2 คนได้เปิดเผยวิธีการทำกระดาษแก่ชาวมุสลิมและได้รับการปล่อยตัวไป จากนั้นมุสลิมได้ทำให้การทำกระดาษเปลี่ยนจากศิลปะไปเป็นอุตสาหกรรมกระดาษ ทำให้มีการพัฒนาการศึกษาในโลกมุสลิมอย่างกว้างขวาง มุสลิมในสมัยกลางจึงเจริญก้าวหน้าด้านศิลปวิทยาการที่สุดในโลก . . ขั้นตอนการผลิตกระดาษปาปิรุส . โจชัว มาร์ก (Joshua Mark) บรรณาธิการสารานุกรมอียิปต์ ระบุว่ากระดาษปาปิรุสเป็นรากฐานของกระดาษสมัยใหม่ โดยทำมาจากต้นกกปาปิรุส (Cyperus papyrus) ซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอียิปต์และตลอดช่วงของหุบเขาแม่น้ำไนล์ในสมัยโบราณ . หลังจากที่รวบรวมลำต้นปาปิรุสแล้ว พวกเขาจะทำการลอกเปลือกของต้นปาปิรุสออก และฝานออกเป็นชิ้นบางๆ เมื่อเสร็จแล้วก็จะนำเนื้อของต้นปาปิรุสที่ถูกฝานไปแช่ในน้ำและกดอยู่ภายใต้หินหนักเป็นเวลา 21 วัน จนกว่าเนื้อของต้นปาปิรุสนั้นจะมีความนุ่ม . เมื่อได้เนื้อของต้นปาปิรุสนุ่มตามที่ต้องการแล้ว ก็จะนำมาวางเรียงกันในตะแกรงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยจะวางเนื้อของต้นปาปิรุสนี้ด้วยกันสองชั้นในทิศทางสลับกัน คือชั้นแรกวางในแนวตั้ง และชั้นที่สองวางในแนวนอน ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงที่อยู่ในพืชจะทำหน้าที่เสมือนกาวช่วยยึดติดเนื้อของต้นปาปิรุสที่ถูกฝานทั้งสองชั้นเข้าด้วยกัน . ในขณะที่เนื้อของต้นปาปิรุสทั้งสองชั้นยังชื้นก็ใช้ค้อนไม้มาทุบเนื้อของต้นปาปิรุสที่ถูกวางเป็นชั้นๆ ให้กลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งก็จะได้กระดาษปาปิรุสออกมาเป็นแผ่นนั่นเองค่ะ . เมื่อกระดาษที่ได้แห้งสนิทแล้ว จะถูกนำมาขัดด้วยวัตถุที่มีลักษณะกลมเช่น หิน เปลือกหอย หรือไม้เนื้อแข็งที่มีลักษณะกลม เป็นต้น . กระดาษปาปิรุสที่ผ่านการขัดแล้วจะมีผิวเรียบน่าเขียนมากขึ้น และเนื่องจากกระดาษปาปิรุสในยุคก่อนมีราคาที่แพงมาก ชาวอียิปต์จึงนำกระดาษที่ใช้แล้วมาล้างคราบหมึกให้สะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ค่ะ . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : thaigoodview.com/node/153727 oknation.net
ความแตกต่างระหว่าง EPUB และ PDF ที่คุณควรรู้ ทุกคนทราบกันไหมคะ ว่าความแตกต่างของทั้งสองไฟล์นี้อยู่ที่ตรงไหน? ถ้ายังไม่รู้ เราจะบอกให้… . . EPUB เป็นไฟล์ประเภทที่อนุญาตให้ผู้อ่านสามารถปรับเปลี่ยนการจัดเรียงหน้าหนังสือใหม่ได้ตามขนาดของตัวอักษรที่เลือก (reflowable text) นั่นเอง ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้ผู้อ่านสะดวกในการปรับแต่งขนาดของตัวอักษรให้เหมาะสมกับขนาดของจอภาพที่แสดงผล . อยากบอกว่า ไฟล์ EPUB ได้รับความนิยมอย่างสูงอย่างมากกก ในกลุ่มผู้อ่านที่ให้จอภาพที่มีขนาดเล็กอย่างเช่น iPhone, iPod, Android Phone และ BlackBerry โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเครื่องอ่านหนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (eReader) แทบทุกยี่ห้อ . ในขณะที่ไฟล์ PDF นั้นจะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถปรับเปลี่ยนการจัดเรียงหน้าหนังสือใหม่ได้ตามขนาดของตัวอักษรที่เลือก (reflowable) ได้กับอุปกรณ์บางประเภทเท่านั้น . แต่ แต่ แต่… ไฟล์ PDF มีจุดแข็งที่ว่า ความคงสภาพของไฟล์เอกสารที่มีความซับซ้อน เช่น ไฟล์ที่มีตาราง แผนภูมิ และรูปภาพประกอบ ตลอดจนยังหลีกเลี่ยงปัญหาไฟล์ไม่สมบูรณ์ได้อีก เนื่องมาจากไฟล์มีตัวอักษรเป็นภาษาต่างประเทศ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ นั่นเองค่าา . หากชอบข้อมูล ข่าวสาร บทความที่เป็นประโยชน์แบบนี้อีก ทุกท่านสามารถติดตามเว็บไซต์ของเราเพื่อรับข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดได้เรื่อยๆ เลยนะคะ