พัฒนาการเขียนให้ดีขึ้น 7 ข้อเห็นผล! หลายคนอาจมองว่า การเขียนงานหรือการเขียนหนังสือออกมาให้ผู้คนอ่านแล้วเกิดความสนใจนั้นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะว่างานเขียนต้องใช้ทักษะระดับหนึ่ง ต้องมีความรู้ความเข้าใจในภาษา หลักการเขียน หรือแม้แต่โครงสร้างของภาษาเองก็ตาม ต้องสละสลวย อ่านแล้วไม่งง ไม่วกไปวนมา 🧐 . สิ่งนี้เองเลยทำให้เป็นข้อกังวลสำหรับนักเขียนมือใหม่หลายๆ ท่าน เราในฐานะเป็นสื่อช่องทางหนึ่งที่อยากจะช่วยพัฒนางานเขียนของใครหลายๆ คน วันนี้เลยอยากจะมาแชร์เทคนิค 7 ข้อง่ายๆ ที่สามารถทำตามกันได้เลย 😊 . 1. #ต้องรักการอ่าน 🥰 อยากเขียนดี มีคำใหม่เรื่อยๆ สิ่งสำคัญเลยก็คือ การอ่านค่ะ เราอ่านเพื่อหาแรงบันดาลใจในการเขียน อ่านเพื่อให้เราได้เรียนรู้คำใหม่ๆ ในโลกนี้มีคำอยู่หลากหลายประเภทเลยค่ะ แต่ส่วนใหญ่เราจะคุ้นชินกับบางคำที่เราเคยใช้ เคยพูด นั่นเลยกลับทำให้เราเคยชินกับคำเดิมๆ หรือเขียนแต่คำเดิมๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้นต้องหาหนังสือใหม่ๆ มาอ่านอยู่เรื่อยๆ นะคะ . 2. #ค้นคว้าข้อมูลต้องเป็น 🧐 สำหรับงานเขียนบางประเภท จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีแหล่งที่มาชัดเจน ข้อมูลงานนั้นต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดต่อผู้อ่านได้นะคะ เพราะพื้นฐานสำคัยของการเขียนงานออกมาแล้วก็คือ ผู้อ่านอ่านแล้วได้รับข้อมูลที่ถูกต้องนั่นเองค่ะ . 3. #รู้จักทบทวนความรู้พื้นฐาน ✍🏻 เราจะเริ่มเขียนไม่ได้ ถ้าหากว่าเราไม่รู้พื้นฐานในการเขียน การเขียนที่ดีจำเป็นต้องรู้จักการใช้คำ การวางรูปประโยค เข้าใจพื้นฐานหลักไวยากรณ์ของภาษา สามารถเลือกใช้คำได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ใช้โครงสร้างประโยคที่ดี นั่นก็เพื่อให้งานเขียนของเราออกมาแล้วน่าอ่าน อ่านเข้าใจมากขึ้นค่ะ . 4. #รูปแบบลีลาจากนักเขียนคนอื่นก็ช่วยได้ 👩🏻🎨 สิ่งที่เราจะสื่อก็คือ การเลือกหยิบเอาข้อความหรือประโยคจากหนังสือบางเล่ม คัดออกมาเขียนเพื่อทำความเข้าใจวิธีการสร้างสรรค์เรื่องราว ประโยคของนักเขียน ว่ามีโครงสร้างการเขียนเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความรู้ในการเขียนให้กับเราได้ ทำให้เรารู้จักลีลาการเขียนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับสไตล์ของตัวเองค่ะ . 5. #ตรวจทานงานเขียนทุกครั้ง 🔍 การตรวจทาน คือ หนึ่งข้อที่นักเขียนจำเป็นต้องทำมากที่สุดค่ะ และควรตรวจทุกครั้งหลังจากที่เรานั้นเขียนเสร็จ ไม่ควรแก้ไขระหว่างที่เรากำลังเขียน มันจะทำให้เราสูญเสียความคิด และสำคัญที่สุดก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดงานเขียนของเรา ซึ่งเป็นการรีเช็คว่างานของเรานั้นมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น . 6. #สถานที่ช่วยให้เขียนได้ดี 🏝 นอกเหนือจากปัจจัยด้านอารมณ์ แรงบันดาลใจ หรือความคิดที่ต้องการจะถ่ายทอดสู่ผู้อ่าน มีผลต่อประสิทธิภาพในการเขียนของเราแล้ว หนึ่งปัจจัยที่ไม่แพ้กัน คือ สถานที่ที่เราเลือกจะนั่งเขียน ลองเลือกมุมโปรดสักที่ที่ตัวเองชอบ แน่นอนว่างานเขียนของคุณต้องออกมาดีค่ะ . 7. #เข้าคอร์สอบรม 👍🏻 สำหรับคนที่ต้องการเริ่มต้นการเขียนอย่างจริงจัง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นด้วยการเข้าคอร์สการเขียน การมีใครคอยให้คำแนะนำหลักการเขียนที่ถูกต้อง คอยตรวจ แก้ไข รูปประโยค การใช้คำเพื่อสื่อความหมายอย่างเหมาะสมจากครูผู้สอน จะช่วยเสริมสร้างทักษะการเขียนของเราให้ดีขึ้น และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องแบบก้าวกระโดดมากเลยค่ะ . ทั้งหมด 7 ข้อนี้ เราเชื่อว่าจะช่วยพัฒนางานเขียนของทุกท่านได้เยอะเลย ลองนำไปปรับใช้กันนะคะ
ความเหมาะสมของหนังสือ 1 เล่ม ควรมีกี่หน้า สำหรับใครที่สนใจอยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง หรือกำลังเก็บเกี่ยวข้อมูลของการเริ่มทำหนังสือ เพื่อนำหนังสือมาเก็บไว้อ่านเองหรือจะนำไปขายต่อยอดไปเป็นรายได้ แต่ยังไม่รู้ว่าจะออกแบบให้มีจำนวนหน้ามากน้อยเท่าไหร่ดีถึงจะเหมาะกับหนังสือของเรา . วันนี้เราจึงอยากนำข้อมูลว่า ความเหมาะสมของหนังสือ 1 เล่ม ควรมีกี่หน้า มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ . การพิมพ์หนังสือ 1 เล่ม หรือมากกว่า 1 เล่ม ไม่ได้มีกระบวนการผลิตแบบการถ่ายเอกสารออกมาจากเครื่องพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือขนาดใดก็ตาม ซึ่งความจริงแล้วการพิมพ์หนังสือจะนิยมใช้กระดาษขนาดใหญ่มากๆ โดยขนาดแต่ละแผ่นจะประมาณ 24 x 35″ หรือ 31 x 43″ หลังจากนั้นนำเข้าไปในแท่นพิมพ์ในครั้งเดียวเพื่อการผลิตในจำนวนมาก ซึ่งสามารถประหยัดเวลาลงมาได้ . กระดาษขนาดใหญ่มากๆ จะเรียกว่า ยก ซึ่งภายใน 1 ยก หรือ 1 กระดาษแผ่นใหญ่มากๆ จะสามารถแบ่งพื้นที่ให้กับหน้าหนังสือได้มากมาย เช่น ถ้าไซส์ของกระดาษแผ่นเล็ก คือ A5 หรือเทียบเท่ากับขนาด 16 หน้ายกพิเศษ (14.5 x 21 cm) แล้วใน 1 ยกที่ถูกพิมพ์ออกมา จะได้หนังสือ 16 หน้าเล็กๆ ในแผ่นเดียวกัน . แล้วหนังสือควรมีกี่หน้า อย่างแรกเราต้องถามตัวเองก่อนว่า เราจะเขียนหนังสือประเภทอะไร อยากได้หนังสือขนาดเท่าไร อย่างเช่น อยากได้หนังสือแบบนิยายทั่วๆ ไปที่ขายตามท้องตลาด ก็จะเป็นขนาด 16 หน้ายกพิเศษ (14.5×21 cm) . ดังนั้นจำนวนหน้าทั้งหมด ควรเป็นจำนวนที่ 16 หารลงตัว เช่น 16 หน้า 32 หน้า 48 หน้า 64 หน้า ซึ่งเอาสูตรคูณแม่ 16 มาคูณได้เรื่อยๆ เป็นต้น นั่นก็เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างจนกลายเป็นการสิ้นเปลืองกระดาษ และเป็นการเปลืองงบการจัดพิมพ์โดยไม่จำเป็นอีกด้วย . . #วิธีการคำนวณจำนวนหน้ายก จำนวนหน้ายก = จำนวนหน้าเล็กทั้งหมด / ขนาดหน้ายก (โดยเศษจะต้องเหลือ 0 เพื่อความคุ้มค่าของการพิมพ์) . . #ขนาดหน้ายกของหนังสือทั่วไป 1 หน้ายก ขนาดประมาณ 31” X 43” 4 หน้ายก ขนาดประมาณ 14.5” X 22.5” 8 หน้ายก ขนาดประมาณ 7.5” X 10.25” 16 หน้ายก ขนาดประมาณ 5” X 7.25” 32 หน้ายก ขนาดประมาณ 3” X 4.5 . นี่เป็นข้อมูลเบื้องต้นของการทำหนังสือ 1 เล่มค่ะ
9 ข้อ ปลุกพลังในการเขียน ให้ประสบความสำเร็จ โดย ไบรอัน เทรซี่ “แรงจูงใจ คือ พลังขับเคลื่อนให้คุณทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งบรรลุผลสำเร็จ” . . ลองทำตาม 9 ข้อนี้ แล้วคุณจะมีแรงใจในการเขียนงานมากขึ้น 😄 . 1. เขียนให้สม่ำเสมอ 💪🏻 เขียนเวลาเดิมให้สม่ำเสมอ เพราะสมองจะเชื่อมโยงการเขียนจนเป็นนิสัย เหมือนคุณกินข้าวหรือแปรงฟัน 2. สร้างเป้าหมายเล็กๆ ทุกวัน 🎯 เช่น เขียนวันละหนึ่งร้อยคำ เขียนวันละหนึ่งหน้า นั่นหมายความว่า เมื่อครบปี คุณจะได้หนังสือหนา 365 หน้า ถ้าคุณต้องการให้เสร็จเร็วขึ้น อาจต้องเพิ่มเป็นวันละหนึ่งบท ทบทวนเป้าหมายทุกวัน 3. เก็บเวลาแก้ไข ไว้ท้ายสุด ✍🏻 ทุกครั้งที่แก้ไขกลับไปกลับมาทำให้งานเขียนของคุณไม่ไหลลื่น เขียนให้ต่อเนื่องและแก้ไขในขั้นตอนสุดท้าย มันจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้คุณได้ 4. เอาสิ่งรบกวนออกไป 🤯 เมื่อต้องเขียนหนังสือ ปิดมือถือ อยู่ในที่เงียบ และทำจิตใจให้ผ่อนคลาย เป้าหมายของคุณ คือ เขียนอย่างลื่นไหล ไร้สิ่งรบกวน 5. วางสมุดที่คุณใช้เขียนไว้ข้างตัวเสมอ 📚 เมื่อต้องการเขียนให้หยิบขึ้นมาเขียนทันที 6. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับคุณ 🌞 เปลี่ยนบรรยากาศไปหลายๆ ที่ นั่งเขียนนอกบ้านรับแดด รับลมเย็น หรือเปิดแอร์เย็นๆ เมื่อต้องเขียนหนังสือหรือในห้องที่มีสีต่างกัน 7. สร้างบรรยากาศให้สนับสนุนในการเขียนหนังสือของคุณ 🌳 ตัวอย่างหนังสือ “คิดแล้วรวย” นโปเลียน ฮิลล์ เขียนหนังสือผ่านบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับตัวเขาได้ไปนั่งคุย ทำให้มีแรงจูงใจในการเขียนได้ดีขึ้น 8. พูดสิ่งที่ต้องการเขียนออกมา 🗣 คุยกับเพื่อน คุยครอบครัว ว่าคุณกำลังเขียนอะไร และเขียนมันลงไป พูดถึงปัญหาที่คุณต้องการแก้ไขออกมา และเขียนมันลงไป 9. สร้างสรรค์งานเขียนผ่านภาพที่เห็นทันที 👩🏻🎨 เช่น มองออกไปนอกหน้าต่างเห็นอะไร แล้วเขียนบรรยายมันลงไปทันที หรือลองไปที่พจนานุกรม คำแรกที่เจอ ให้เขียนบรรยายออกมาทันที วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีความคิดสร้างสรรค์ผลงานได้ดียิ่งขึ้น วิธีนี้ผมใช้เสมอที่ต้องเขียนผลงานใหม่ๆ . . “คุณสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คุณต้องการ เมื่อเป้าหมายนั่นชัดเจน และคุณยืนหยัดเพียงพอ” . หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีใจรักการเขียนงาน แต่ต้องการงานที่ละเอียดและเนี๊ยบมากขึ้น เรายินดีให้การช่วยเหลือคุณทุกเรื่องราวเกี่ยวกับการทำหนังสือ เขียนหนังสือ ผลิตหนังสือ และดูแลงานเขียนของคุณตั้งแต่ต้นจนจบ
หลักการเขียนหนังสือให้น่าอ่าน นักเขียนหน้าใหม่ต้องรู้ ทุกคนสามารถเป็นนักเขียนได้ เพราะการเขียนไม่มีหลักตายตัว แต่อยู่ที่การเล่าเรื่องเข้าไปในเนื้อหานั้นๆ . #หลักสำคัญในการเขียน . ใช้ภาษาเรียบง่าย ไม่ใช้คำศัพท์ซับซ้อนเกินไป ใช้สำนวนถ้อยคำง่ายๆ ที่คนอ่านต้องการ และตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร . อย่าคิดว่าผู้อื่นรู้เรื่องเดิม จุดบอดคือผู้เขียนมักจะคิดว่า เรื่องที่เรากำลังจะนำเสนอไปนั้น ผู้อื่นทราบมาบ้างแล้ว จึงมักเขียนละความบางประโยคบางตอนไป สิ่งนี้ทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจความเป็นมา . ใช้คำคุ้นเคย การเขียนหนังสือเพื่อสื่อสารเรื่องราวต่างๆ จึงควรใช้คำคุ้นเคยในชีวิตประจำวันจะดีกว่า ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจในทันที . เว้นวรรคตัวหนังสือ ไม่เขียนยาวเป็นพืด ทำให้ไม่มีการพักสายตา เกิดความเมื่อยล้า จนไม่อยากอ่านบรรทัดต่อๆ ไป . ย่อหน้าให้มีความหมาย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้อ่านอยากอ่านเรื่องราวนั้นๆต่อไปอีก . และนี่คือหลักการเขียนง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้ ขอแค่เพียงพัฒนาการเขียนบ่อยๆ เติมความรู้ และคลังข้อมูลต่างๆ ด้วยการอ่านจะทำให้การเขียนคมกริบยิ่งขึ้น . ลองนำไปฝึกพัฒนาการเขียนดูนะคะ
แบบไหนที่คุณเป็น? 10 ประเภทของนักอ่าน แบบไหนที่คุณเป็น? 10 ประเภทของนักอ่าน . 1. The Hate Reader คุณเป็นคนประเภทอารมณ์ร้าย กระหายในการอ่าน หรือหากจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น คุณคือคนที่อ่านแล้วจะตำหนิติเตียนผู้แต่งตลอดเวลา คุณคาดหวังจะให้เนื้อเรื่องเป็นไปตามใจ อ่านไปแล้วก็ตั้งข้อสงสัยอยู่เสมอ เป็นประเภทที่ยิ่งอ่านยิ่งฉุนเฉียว แต่มันเพิ่มอรรถรสในการอ่านให้คุณอย่างมาก . 2. The Chronological Reader คุณเป็นคนประเภทอ่านไปตามลำดับ ค่อยเป็นค่อยไป ช้าแต่มั่นคง คุณเป็นประเภทซื้อหนังสือมาแล้วไม่ตั้งกองไว้เฉยๆ แต่จะอ่านมันทุกเล่ม คุณอ่านหนังสือแต่ละเล่มอย่างมีแบบแผนและเหตุผล แต่ถ้าคุณเกิดเบื่อขึ้นมาทิ้งมันไว้เฉยๆ ลึกๆ ในใจคุณจะไม่สบายใจ จนในที่สุดก็จะไปหยิบมันมาอ่านจนจบ . 3. The Book-Buster ห้องของคุณเต็มไปด้วยหนังสือ แต่ก็ไม่ได้ถูกจัดวางในที่ที่มันควรอยู่ แต่คุณคือคนที่ชอบอ่านหนังสือและรักหนังสือมากคนหนึ่ง คุณอาจจะนอนกอดหนังสือ เอามันไปอ่านในห้องน้ำ อ่านไปซะทุกที่ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตาม . 4. Delayed Onset Reader 1 คุณเป็นประเภทที่เดินผ่านร้านหนังสือไม่ได้ จะต้องเข้าไปดูและซื้อมันอย่างน้อยหนึ่งเล่ม แล้วพอถึงบ้านคุณก็เก็บมันไว้ แล้วก็อาจลืมไปเลยว่าเคยซื้อเล่มนี้มา คุณมองหนังสือเป็นเหมือนเฟอร์นิเจอร์ประดับห้อง คุณอยากอ่านมัน แต่พอหยิบมาอ่านทีไรคุณก็มีเหตุผลทุกทีว่าฉันยุ่ง ฉันไม่ว่าง ฉันไม่มีเวลาอ่านมัน สุดท้ายหนังสือที่ซื้อมาก็กองอยู่ตรงนั้นไม่ได้อ่านสักที แต่ถ้าวันไหนคุณตัดสินใจหยิบมันขึ้นมาคุณก็พบว่ามันสนุกจนวางไม่ลงเลยทีเดียว เป็นผู้อ่านประเภทที่ต้องบิ้วอารมณ์ตัวเองนานหน่อย . 5. Delayed Onset Reader 2 คุณไม่ใช่นักอ่าน แต่คุณซื้อหนังสือมาเพื่อที่จะโชว์ว่าคุณมีนะ หากคุณเป็นคนที่ร่ำรวยคุณอาจทำห้องสมุดสวยๆ ขึ้นมาเพื่อไว้โชว์หนังสือต่างๆ ที่คุณมีเลยก็ว่าได้ แต่จะซื้อมาโชว์ทำไมถ้าคุณไม่ได้อ่าน หนังสือก็หมดความหมายหรือเปล่า พิจารณาให้ดีว่าคุณได้อ่านมันบ้างหรือยัง อ่านเถอะ หนังสือรอคุณเปิดมันอยู่ . 6. The Bookphile ไม่ใช่แค่รักการอ่าน แต่คุณเป็นคนที่รักหนังสือ กลิ่นของหนังสือเก่าๆ มันยั่วยวนจิตใจของคุณมาก คุณรักหนังสือมากกว่าสิ่งอืนใด ชอบที่ได้สะสมหนังสือเก่าๆ ใครพับมุมกระดาษของหนังสือที่ยืมคุณไป คุณอาจโกรธอยู่หลายวันหลายคืนทีเดียวล่ะ . 7. The Anti-Reader คุณคือคนประเภทที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ด้วยเหตุผลที่ว่ามันยาวเกินไป คุณกลัวการอ่านอะไรยาวๆ แม้กระทั่งพวกบล็อกหรือบทความต่างๆ แต่คุณรู้ไหมว่า ชีวิตที่ขาดการอ่านหนังสือมันเป็นชีวิตที่น่าเศร้าจริงๆ นะ เราแนะนำให้คุณเริ่มต้นด้วยการอ่านอะไรสั้นๆ ง่ายๆ ลองเข้าไปในร้านหนังสือ หยิบหนังสือเล่มบางๆ ขึ้นมาพลิกดู เปิดผ่านหน้าแต่ละหน้าแล้วคุณจะพบว่ามันก็จะมีอีกด้านของชีวิตที่น่าสนใจรออยู่ . 8. The Cross-Under คุณเป็นคนที่โตมากับการอ่านหนังสือเด็ก หรือไม่ก็เป็นเด็กที่อ่านหนังสือผู้ใหญ่ คุณไม่มีกฏเกณฑ์ในการอ่าน ตอนสมัยคุณเด็กๆ เวลาที่คุณไปยืมหนังสือในห้องสมุด บรรณารักษ์อาจเคยกล่าวกับคุณว่าหนังสือเล่มนี้มันยากเกินกว่าที่เธอจะเข้าใจนะ แต่ก็เหอะใช่ว่าคุณจะสนใจคำตักเตือนนั้น นำมันไปอ่านทั้งๆ ท้ายที่สุดอาจไม่ได้อะไรจากมันก็ตามที หากคุณเป็นคนประเภทนี้คุณคือผู้ที่มีความคิดเป็นอิสระอย่างแท้จริง . 9. The Multi-Tasker คุณเป็นนักอ่านหนังสือนะ แต่จะอ่านมันไม่เคยจบเล่มเลย คุณอาจเตรียมหนังสือดีๆ สักเล่มไว้อ่านแต่อ่านไปอ่านมาคุณอาจจะต้องไปทำงานที่ค้างอยู่ หรือกำลังอ่านอยู่ดีๆ ก็ต้องไปกินข้าว ซักผ้า หรือทำอะไรสารพัดอย่างจนขัดจังหวะการอ่านของตัวเอง ทำให้เกิดอาการต่อไม่ติด ไม่อินกับคาแรคเตอร์ สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนเล่มใหม่ทั้งที่ยังอ่านไม่ทันจะจบเล่มเลย วิธีการอ่านเรื่องยาวอาจไม่เหมาะกับคุณ แต่หากคุณมีลักษณะการอ่านแบบนี้คุณจะเป็นคนที่สามารถทำเรื่องงานและเรื่องรักให้ดีได้ในเวลาเดียวกัน . 10. The Sleepy Bedtime Reader ช่วงเวลาก่อนนอนเป็นเวลาเดียวที่คุณอยากจะอ่านหนังสือ มีหนังสือวางอยู่ข้างเตียงตลอดเวลา แต่เมื่อคุณเริ่มเปิดอ่านทีไร คุณก็จะหลับไปอย่างไม่รู้ตัว และตื่นมาพร้อมกับมีหนังสือกองอยู่ที่เตียง หรือไม่ก็วางอยู่บนหน้าของคุณ เป็นเรื่องที่น่าอายอยู่เหมือนกัน อย่าให้ใครรู้เชียวล่ะว่าหนังสือที่มีอยู่เต็มบ้านนั้นคุณอ่านไม่จบสักที . แล้วคุณล่ะคะ เป็นแบบไหนใน 10 ข้อนี้
รู้จักประเภทกระดาษที่นิยมใช้การพิมพ์หนังสือ หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า กระดาษที่ใช้ในการผลิตหนังสือมีกี่ประเภท อะไรบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกันค่ะ . กระดาษปอนด์ เป็นกระดาษที่มีความหนาอยู่ที่ 80 – 120 แกรม มีสีขาว เนื้อเรียบ เป็นประเภทกระดาษมาตรฐานที่นิยมนำมาใช้พิมพ์หนังสือโดยทั่วไป ราคาไม่แพงมาก เหมาะกับงานพิมพ์หนังสือหลายประเภท . กระดาษถนอมสายตา เรามักจะได้เห็นกระดาษถนอมสายตาในหนังสือนิยาย หรือหนังสือที่มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ เพราะกระดาษประเภทนี้เป็นกระดาษที่ช่วยถนอมสายตาขณะอ่าน และยังช่วยลดแสงสะท้อนที่เป็นการรบกวนสายตาอีกด้วย เนื้อกระดาษเป็นสีเหลืองนวลอ่อนๆ ทำให้รู้สึกสบายตา ความหนามาตรฐานของกระดาษถนอมสายตาจะอยู่ที่ 75 แกรม ราคาสูงกว่ากระดาษปอนด์ไม่มาก . กระดาษอาร์ต เป็นกระดาษที่มีราคาแพงกว่ากระดาษปอนด์และกระดาษถนอมสายตา เพราะเป็นกระดาษที่มีคุณสมบัติดีที่สุด เหมาะกับการนำไปใช้พิมพ์หนังสือ ปกหนังสือ โบรชัวร์ โปสเตอร์ ฯลฯ มีความหนาตั้งแต่ 85 – 190 แกรมขึ้นไป โดยกระดาษอาร์ตจะแบ่งออกเป็นอาร์ตมัน อาร์ตด้าน และอาร์ตการ์ด • กระดาษอาร์ตมัน มีความหนาตั้งแต่ 85 – 160 แกรม ผิวกระดาษจะเป็นมันเงา ทำให้งานที่พิมพ์ออกมามีความใกล้เคียงกับสีจริง • กระดาษอาร์ตด้าน มีความหนาตั้งแต่ 85 – 160 แกรม ผิวกระดาษเรียบและมีความด้าน ไม่มันเงา เมื่อพิมพ์งานออกมาสีที่ได้จะไม่สดเท่ากับกระดาษอาร์ตมัน • กระดาษอาร์ตการ์ดแบบ 1 หน้า มีความหนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้พิมพ์หนังสือที่ต้องการความหนาเป็นพิเศษ สามารถพิมพ์อาร์ตหน้าเดียวได้ • กระดาษอาร์ตการ์ดแบบ 2 หน้า มีความหนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้พิมพ์หนังสือที่ต้องการความหนาเป็นพิเศษ สามารถพิมพ์อาร์ตได้ทั้ง 2 หน้า (หน้า-หลัง) . ทั้งหมดคือกระดาษที่นิยมใช้ในการพิมพ์หนังสือ ซึ่งกระดาษแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป หากต้องการพิมพ์หนังสือก็สามารถเลือกกระดาษได้ตามจุดประสงค์ของการใช้งานและตามความต้องการได้ค่ะ
ว่าด้วยเรื่อง ‘ดินสอ’ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้ประวัติ ‘ดินสอ’ หนึ่งในเครื่องเขียนต้นๆ ที่เราต่างเคยใช้ขีดเขียน วาดภาพ แรเงา คอยให้ความสะดวกสบายแก่เราในหลายๆ เรื่อง . แต่จะมีใครในที่นี้รู้บ้างล่ะคะว่า ดินสอนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากตรงไหน มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง จนพัฒนามาเป็นเครื่องเขียนให้เราใช้ขีดเขียน จดบันทึก มาจนถึงทุกวันนี้ . ถ้าอยากรู้… สยามจุลละมณฑลจะมาเล่าให้ฟังค่ะ . . #จุดกำเนิดและประวัติของดินสอ เริ่มเมื่อประมาณ 400 กว่าปีก่อน . ในปี ค.ศ.1564 เกิดเหตุพายุใหญ่ในทุ่งเลี้ยงแกะ ที่ประเทศอังกฤษ ต้นไม้ถูกพายุพัดถอนรากถอนโคนเป็นจำนวนมาก เมื่อพายุสงบ ชาวบ้านพบหินสีดำอยู่ใต้ดิน ณ บริเวณรากของต้นไม้ที่โค่นล้ม หลังจากทดลองนำมาขีดเขียน ปรากฏว่ามีความคมชัดดี ไม่ต่างจากน้ำหมึก คนเลี้ยงแกะจึงนำมาเขียนสัญลักษณ์ลงบนตัวแกะ จากนั้นจึงมีการนำมาใช้เรื่อยๆ ไม่ว่าจะทำเครื่องหมายบนสินค้าเพื่อบอกรายละเอียดอย่างชนิด จำนวน และราคาของสินค้านั้นๆ . ซึ่งหินสีดำที่ค้นพบในครั้งนั้นคือ แกรไฟต์ (Graphite เป็นคาร์บอนชนิดหนึ่ง) จึงเรียกได้ว่านี่เป็นการค้นพบวัสดุที่ใช้ทำไส้ดินสอได้ดีโดยบังเอิญก็ว่าได้ . . แกรไฟต์ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งใช้เขียนใช้วาด หรือแม้แต่เป็นส่วนผสมในกระสุนปืนใหญ่ เนื่องจากช่วงเวลานั้นมีสงครามน้อยใหญ่มากมายเกิดขึ้นในยุโรป จนในที่สุดแกรไฟต์ก็ขาดตลาด . กระทั่งในปี ค.ศ.1795 นิโคลาส แจ็ก คอนเต้ หัวหน้านักเคมีและนักประดิษฐ์ชั้นแนวหน้าของฝรั่งเศส ค้นพบวิธีการบดแกรไฟต์โดยนำมันมาผสมเข้ากับดินเหนียวและน้ำ ทำให้คล้ายก้อนแป้งเปียก ก่อนจะนำไปกดลงแม่พิมพ์แล้วเผา . ซึ่งในยุคแรกแท่งแกรไฟต์จะถูกใช้แบบเพียวๆ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความสกปรกเลอะเทอะ คนยุคนั้นจึงมักใช้เชือก กระดาษ หรือผ้า พันแกรไฟต์ไว้ก่อนจะเขียน ภายหลังมีการคิดค้นวิธีการนำไม้มาประกบเข้ากับไส้ดินสอ มนุษย์จึงเริ่มมีดินสอไม้ที่กลายเป็นต้นตำรับของดินสอมาจนถึงปัจจุบัน . . และนี่เป็นสรุปสั้นๆ ที่ทางเรานำมาเล่าให้ทุกคนได้รู้ถึงจุดกำเนิด ที่มาที่ไปของเจ้าดินสอที่เราใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ
สรุป 11 ขั้นตอน เขียนหนังสือเริ่มต้น สำหรับมือใหม่ หนังสือเรื่อง How to Write A Book ของ David Kadavy เป็นหนังสือสั้นๆ ที่อธิบายวิธีการเขียนหนังสือแบบเป็นขั้นตอนสำหรับมือใหม่ สยามจุลละมณฑลจึงขอสรุปเนื้อหาสำคัญมาให้อ่านกันค่ะ . สรุป 11 ขั้นตอน เขียนหนังสือเริ่มต้นสำหรับมือใหม่ จากหนังสือ How to Write A Book . 1. สร้างนิสัยการเขียนแบบน้อยๆ เริ่มด้วยการเขียนทุกวันหรือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยแบ่งเวลา 10 นาทีในการเขียนทุกวัน จนกระทั่งเป็นนิสัย *สิ่งสำคัญคือ เริ่มต้นน้อยๆ ก่อน อย่าฝืนตัวเอง เพราะการเขียนน้อยๆ จะทำให้เราไม่มีข้อแก้ตัวในการไม่เขียน . 2. รู้ว่าหนังสือคืออะไร หนังสือคือผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่ง ผลิตภัณฑ์คือสิ่งของที่ลูกค้าซื้อเพื่อทำงานบางอย่าง ดังนั้นนักเขียนควรเข้าใจหนังสืออย่างแท้จริง . 3. สร้างนิสัยการเผยแพร่งานเขียน หลังจากที่เขียนจนเป็นนิสัยแล้ว ก็เริ่มเผยแพร่งานเขียนของตนเองด้วยการ publish งานเขียนใน Medium.com . 4. สร้าง Email List การสร้าง email list จะทำให้เรามีกลุ่มผู้อ่านที่จะติดตามงานเขียนของเราทาง email โดยอาจมีของขวัญมอบให้ผู้สมัครใน mailing list เช่น บทความพิเศษ หนังสือแจกฟรี . 5. ตั้งชื่อหนังสือที่ขายได้ การตั้งชื่อหนังสือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมีสิ่งที่ต้องพิจารณา เช่น เป็นคำที่เข้าใจง่ายหรือไม่ ชื่อเรื่องมีความหมายแอบแฝงหรือไม่ คนอ่านกล้าหยิบหนังสือเรื่องนี้มาอ่านหรือบอกคนอื่นว่าอ่านเรื่องนี้หรือไม่ . 6. เขียนโครงร่างหนังสือ เขียนโครงร่างหรือบทต่างๆ ของหนังสือ ซึ่งอาจต้องลองเขียนหลายครั้ง จนกว่าจะได้โครงร่างหนังสือที่เหมาะสมในที่สุด เราจะได้โครงร่างหนังสือที่พร้อมจะเขียนเป็นฉบับร่าง . 7. เขียนฉบับร่างครั้งแรก วางแผนว่า แต่ละวันจะเขียนกี่คำ กำหนดตารางเวลาที่แน่นอน และทำตามกำหนดการให้ได้ในฉบับร่างครั้งแรก อาจเขียนบทละ 250 – 500 คำ ซึ่งสำหรับคนที่เขียนสม่ำเสมอแล้ว จะไม่ใช่เรื่องยาก . 8. อ่านฉบับร่างครั้งแรก เมื่อเขียนฉบับร่างครั้งแรกเสร็จแล้วก็พิมพ์บนกระดาษ จะทำให้เราภูมิใจที่ได้เห็นงานเขียนของเราเป็นรูปธรรมหรือจับต้องได้ จากนั้น อ่านงานเขียนทั้งหมดเพื่อให้เห็นภาพรวมของการเขียนทั้งหมด แล้วหยุดไปทำอย่างอื่น โดยไม่แตะต้องต้นฉบับอีกหลายวันหรือหลายสัปดาห์ . 9. ปรับปรุงโครงร่างหนังสือ เมื่อกลับมาดูฉบับร่างอีกครั้ง เราอาจเกิดไอเดียใหม่ในการปรับปรุงโครงร่างหนังสืออีกครั้ง อาจตัดบางอย่างหรือเพิ่มเนื้อหาบางอย่าง . 10. เขียนฉบับร่างครั้งที่สอง ถึงเวลาปรับปรุงฉบับร่างครั้งแรกอีกครั้ง โดยดูที่โครงร่างของหนังสือ ประโยคของแต่ละบทและเรื่องเล่าประกอบของแต่ละบท เพื่อทำให้หนังสือน่าสนใจมากขึ้น . 11. เขียนฉบับร่างครั้งสุดท้าย หาบรรณาธิการเพื่อช่วยตรวจหนังสือ หาคำผิดต่างๆ และถึงเวลาของนักเขียนที่ต้องยอมรับว่า หนังสือที่เขียนอาจจะไม่สมบูรณ์ 100 % แต่แทนที่จะเสียเวลาอีกหลายเดือนในการปรับปรุงหนังสือ การตีพิมพ์หรือเผยแพร่หนังสือตอนนี้อาจจะดีกว่าเพราะเรายังเขียนหนังสือเล่มอื่นที่ดีกว่านี้ได้เสมอ
ใครอยากมีหนังสือเป็นของตัวเองต้องอ่าน!! หากคุณเป็นนักเขียนที่ต้องการสร้างรายได้ผ่านงานเขียน หรือนักวิชาการที่กำลังทำผลงานเพื่อตำแหน่งทางวิชาการ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรให้ผลงานออกไปสู่สายตาประชาชน เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี!! หนังสือเล่มหนึ่งนั้นกว่าจะสามารถออกไปสู่สายตายของสาธารณชนได้ ล้วนแล้วแต่จำเป็นต้องผ่านการดูแลจากผู้มีประสบการณ์ในวงการนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่า ‘ผลงาน’ ที่ถูกตีแผ่ออกไปอยู่ในระดับคุณภาพที่สูง เพื่อสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือและองค์ความรู้ของเจ้าของผลงานชิ้นนั้นด้วย นอกจากนี้การสร้างงานเขียนที่ดีนั้น หากขาดการสื่อสารที่ตรงจุด หรือรายละเอียดที่ตรงประเด็นแล้ว จะเป็นงานเขียนที่สมบูรณ์แบบได้อย่างไร ? เราเชื่อว่า มีนักเขียน หรือ ผู้ที่ใฝ่ฝันอยากมีหนังสือของตัวเองจำนวนไม่น้อย มีความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถในการบอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวอักษร แต่…ยังขาดสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการผลิตผลงานออกมาให้สมบูรณ์แบบ นั่นก็เท่ากับว่างานเขียนนั้นยังมีช่องว่างอยู่ เราอยากให้ทุกท่านเข้าใจว่า งานเขียนจำเป็นต้องเขียนสื่อสารได้ตรงตามหลักจุดประสงค์ สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิด และอารมณ์ใส่ลงไปในงานเขียนได้อย่างครบถ้วน และงานเขียนที่ดีก็ควรจะเขียนรูปคำให้ถูกต้อง ไม่มีคำที่เขียนผิด นั่นก็เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ การใช้คำให้ตรงความหมายก็เช่นเดียวกัน คำในภาษาไทยบางคำนั้นมีหลายคำหลายความหมาย ทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง ผู้เขียนจะต้องศึกษาเรื่องการใช้คำให้ดีก่อนลงมือเขียน แล้วจึงเรียบเรียงคำเข้าประโยคให้ถูกต้องและสละสลวย สิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าการสื่อสารผ่านข้อความ นั่นคือการตรวจทานเพื่อความถูกต้อง เพราะงานเขียนที่สมบูรณ์แบบไม่ได้มาจากการเขียนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น สำหรับท่านที่ต้องการทำผลงานเพื่อตำแหน่งทางวิชาการ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่า 20 ปีด้วยกัน คอยให้คำปรึกษาและการดูแลด้วยความใส่ใจ ตลอดจนผลงานของท่านนั้นออกมาเสร็จสมบูรณ์ เราและทีมงานมืออาชีพพร้อมสนับสนุน แต่งเติมสีสัน ปั้นแต่งให้งานเขียนของคุณ ให้น่าสนใจ! และ ขายได้! ครบ จบในที่เดียว #สิ่งอำนวยความสะดวกเริ่มต้น หนังสือขนาด A5 จำนวน 200+ หน้า รวมปก ปก กระดาษอาร์ตการ์ด 260 แกรม เนื้อใน กระดาษ 80 แกรม เข้าเล่ม แบบไสกาว ฟรี E-book ฟรี ค่าจัดส่ง (ภายในกรงเทพฯ และปริมณฑล) ส่วนลด 10% สำหรับงานพิมพ์ในครั้งถัดไป เริ่มต้นเพียง 33,500 บาท ไม่ว่างานเขียนของคุณจะอยู่ในความคิด ในกระดาษ หรือไฟล์คอมพิวเตอร์ #เราพร้อม ที่จะแปลงสิ่งที่คุณมีให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และนำเสนอสู่สาธารณชน มาสร้างหนังสือของตัวเองกันครับ
สยามจุลละมณฑล ร่วมพิธีเปิดโครงการพัฒนาบุคลากรของ กศน. สยามจุลละมณฑล ร่วมพิธีเปิดโครงการพัฒนาบุคลากรของ กศน. บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการพัฒนาบุคลากร “เทคนิคการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี และการจัดกิจกรรมห้องสมุดออนไลน์” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุมสำนักงาน กศน.จังหวัดตาก และผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting กศน.อำเภอทุกแห่งในสังกัด ที่ผ่านมา นอกจากนี้ทางเรายังมีโอกาสให้อบรมถึงระบบ Hibrary เป็นปีที่ 2 แก่ทาง กศน.จังหวัดตาก ทั้ง 9 อำเภอที่เข้าร่วม เพื่อให้ประชาชนสามารถ “เรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง ทุกที่ ทุกเวลา”