ความแตกต่างระหว่าง EPUB และ PDF ที่คุณควรรู้

ทุกคนทราบกันไหมคะ ว่าความแตกต่างของทั้งสองไฟล์นี้อยู่ที่ตรงไหน?
ถ้ายังไม่รู้ เราจะบอกให้…
.
.
EPUB เป็นไฟล์ประเภทที่อนุญาตให้ผู้อ่านสามารถปรับเปลี่ยนการจัดเรียงหน้าหนังสือใหม่ได้ตามขนาดของตัวอักษรที่เลือก (reflowable text) นั่นเอง ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้ผู้อ่านสะดวกในการปรับแต่งขนาดของตัวอักษรให้เหมาะสมกับขนาดของจอภาพที่แสดงผล
.
อยากบอกว่า ไฟล์ EPUB ได้รับความนิยมอย่างสูงอย่างมากกก ในกลุ่มผู้อ่านที่ให้จอภาพที่มีขนาดเล็กอย่างเช่น iPhone, iPod, Android Phone และ BlackBerry โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเครื่องอ่านหนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (eReader) แทบทุกยี่ห้อ
.
ในขณะที่ไฟล์ PDF นั้นจะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถปรับเปลี่ยนการจัดเรียงหน้าหนังสือใหม่ได้ตามขนาดของตัวอักษรที่เลือก (reflowable) ได้กับอุปกรณ์บางประเภทเท่านั้น
.
แต่ แต่ แต่… ไฟล์ PDF มีจุดแข็งที่ว่า ความคงสภาพของไฟล์เอกสารที่มีความซับซ้อน เช่น ไฟล์ที่มีตาราง แผนภูมิ และรูปภาพประกอบ ตลอดจนยังหลีกเลี่ยงปัญหาไฟล์ไม่สมบูรณ์ได้อีก เนื่องมาจากไฟล์มีตัวอักษรเป็นภาษาต่างประเทศ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ นั่นเองค่าา
.
หากชอบข้อมูล ข่าวสาร บทความที่เป็นประโยชน์แบบนี้อีก ทุกท่านสามารถติดตามเว็บไซต์ของเราเพื่อรับข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดได้เรื่อยๆ เลยนะคะ

Blockdit แหล่งรวมบทความ ข่าวสาร ที่นักอ่านต้องหลงรัก

มีใครรู้จักแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Blockdit กันบ้างคะ ???
ถ้ารู้จักและเคยใช้ ยกมือขึ้นนน 🙋🏻‍♀️🙋
.
ส่วนถ้าใครยังไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นหน้าตา ไม่เคยใช้เจ้าแอปพลิเคชัน Blockdit ตัวนี้ วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Blockdit กันค่ะ
.
.
Blockdit คืออะไร ?

Blockdit คือ แพลตฟอร์มคลังความรู้ที่มีให้เลือกเสพครบทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ข่าว บทความ วิดีโอ หรือ Podcast ซึ่งโดยรวมแล้วก็จะมีความคล้ายคลึงและรูปแบบการทำงานเหมือนกับ Facebook แต่แอปนี้จะเน้นไปที่นักอ่านซะส่วนใหญ่ เพราะบทความภายในแอปจะเป็นบทความที่เน้นการเขียนมากกว่า โดยคำว่า Blockdit จะมาจากคำว่า Block + Edit ดังนั้น เนื้อหาของบทความที่ลงจะเป็นแบบบล็อกๆ ไม่เขียนยาวติดกันจนเกินไป รวมถึงมีความกระชับเป็นอย่างมากทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านบทความได้แบบเข้าใจง่ายและไม่เบื่อจากหัวข้อที่มีให้เลือกถึง 35 หมวดหมู่ตามเนื้อหาที่สนใจ
.
จุดเด่นของ Blockdit คือ มีระบบคัดกรองข่าวปลอม (fake news) เนื้อหาผิดลิขสิทธิ์ ผิดกฎหมาย รุนแรงและหยาบคาย โดยหลังบ้านจะมีระบบ Algorithm ในการตรวจจับการ Report ซึ่งหากพบว่า บทความที่ถูก Report นั้นมีเนื้อหาเข้าข่ายตามที่กล่าวไปข้างต้นจริง ระบบก็จะทำการตรวจสอบอีกครั้ง หลังจากนั้นก็จะลบเนื้อหาออกจากระบบในทันที ทำให้ผู้ที่เข้าไปอ่านมั่นใจได้ว่าจะได้รับข่าวสารที่มีแต่แบบสาระเน้นๆ
.
.
หากเพื่อนๆ สนใจในงานเขียนก็สามารถเขียนบทความเพื่อสร้างรายได้ได้อีกด้วย แต่ที่สำคัญนั้นต้องมีผู้ติดตามอย่างน้อย 1,000 คนขึ้นไป และบทความที่จะได้รับเงินนั้นต้องเป็นโพสต์ที่ได้รับการติดดาวจึงสามารถสร้างรายได้ ได้ค่ะ โดยรายได้ที่ได้รับ เริ่มต้นตั้งแต่ 0 – 500 บาท ต่อโพสต์ (ที่ได้รับการติดดาว) กันเลยทีเดียว
.
รูปแบบภายในเว็บก็จะเป็นการรวบรวมบทความแนวต่างๆ ส่วนใหญ่จะเน้นแนววิชาการ แนวทฤษฎี แบบหนักๆ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความรู้แบบลึกๆ โดยเนื้อก็จะแบ่งไปตามหมวดหมู่ไป มีตั้งแต่เนื้อหาชิลล์ๆ อย่างการทำอาหาร การแต่งตัว จนไปถึงการเจาะประเด็นกฎหมายต่างๆ วิเคราะห์สถานการณ์การบ้านเมืองในประเทศและต่างประเทศ ตามที่เราสนใจในหมวดหมู่นั้นๆ
.
หากเพื่อนๆ เป็นนักเขียนหรืออยากเขียนเล่าเรื่องราวของเพื่อนๆ เองก็สามารถทำได้โดยทำการสร้างเพจ และเลือกลงเนื้อหาตามหมวดหมู่ที่เราต้องการ โดยกฎของแอปมีอยู่ไม่มาก แค่ไม่ไปคัดลอกบทความของคนอื่นแล้วมาใส่ว่าเป็นบทความของตัวเองก็ถือว่าสามารถโพสต์เนื้อหาได้แล้ว
.
ส่วนการที่จะได้รับโพสต์ที่ติดดาวได้นั้น โพสต์นั้นต้องมีคนเห็นโพสต์นั้นอย่างน้อย 2,000 คน ส่วนเนื้อหาที่เราลงก็อยู่ที่เราว่าจะเลือกลงเนื้อหาแนวไหนและเลือกกลุ่มผู้อ่านกลุ่มไหน หากมีบทความดีๆ หรือมีเทคนิคดีๆ ก็สามารถทำให้โพสต์ได้ติดดาวได้ไม่ยาก และสามารถสร้างได้ ได้ถึง 0 – 500+ บาท กันเลยทีเดียว
.
เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับแอป Blockdit ที่เรานำมาให้ทุกท่านได้รู้จัก ถือเป็นทั้งแหล่งรวบรวมความรู้ดีๆ แล้วยังเป็นพื้นที่สำหรับผู้ที่อยากสร้างรายได้ได้อีกด้วย เป็นแอปที่น่าสนใจไม่น้อยกันเลยทีเดียวนะคะ 😍

หนังสือ 7 เล่ม ที่นักสร้างสรรค์ต้องอ่าน

หนึ่งในแง่มุมที่ท้าทายที่สุดของงานสร้างสรรค์คือการลงมือทำจริง ซึ่งมีหลายวิธีในการแยกแยะความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง
.
นักเขียนบางคนกล่าวว่า “พวกเขารอให้เกิดแรงบันดาลใจ” ในขณะที่คนอื่นๆ เขียนทุกวันเพื่อให้งานที่ดีที่สุดของพวกเขา
.
ศิลปินบางคนยืนกรานที่จะเป็นต้นฉบับ และบางคนเชื่อว่าศิลปินที่เก่งที่สุดคือ ขอ ยืม และขโมยแรงบันดาลใจจากผลงานของศิลปินคนอื่นๆ ครีเอทีฟบางคนต้องทำงานในขณะที่ฟังเพลงหรือนั่งอยู่ในร้านกาแฟที่มีเสียงดัง และบางคนก็ต้องการความเงียบอย่างสมบูรณ์
.
.
วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับหนังสือทั้ง 7 เล่มน่าอ่านสำหรับนักสร้างสรรค์งานเขียน ไปดูกันเลยค่ะ
.
.
📕 1. The War of Art Break Through the Blocks (Steven Pressfield)

หากคุณเคยดิ้นรนกับบล็อกที่สร้างสรรค์ คุณต้องอ่าน The War of Art เป็นแนวทางปฏิบัติที่รวดเร็วและนำไปใช้ได้จริงเพื่อความสำเร็จในความพยายามสร้างสรรค์ของคุณ

นักเขียนนวนิยายขายดีอย่าง Steven Pressfield พูดถึง “ศัตรู” ที่ศิลปินทุกคนต้องเผชิญ นั่นคือเสียงภายในที่หยุดงานของคุณ หากคุณเคยดิ้นรนกับความทะเยอทะยานและวินัยที่สร้างสรรค์ หนังสือเล่มนี้คือคำตอบที่คุณต้องการเพื่อเอาชนะความกลัวและทำงานที่สำคัญที่สุดของคุณต่อไป ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเขียน จิตรกร หรือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี นี่คือการอ่านที่คุ้มค่าและสร้างแรงบันดาลใจ
.
.
📕 2. On Writing: A Memoir of the Craft เวทมนตร์ฉบับพกพา : ชีวิตและเรื่องขีดเขียนของสตีเวน คิง

“เวทมนตร์ฉบับพกพา : ชีวิตและเรื่องขีดเขียนของสตีเวน คิง” ไม่ใช่หนังสือคู่มือฮาวทูสอนการเขียน จากคำกล่าวของผู้เขียนเอง มันคือหนังสือที่เล่าว่า.. ผมมานั่งเขียนหนังสือได้อย่างไร ตอนนี้ผมได้รู้อะไรบ้าง และผมทำอย่างไร นี่คือหนังสือเกี่ยวกับงานที่ผมใช้หาเลี้ยงชีพ และมันเป็นงานเกี่ยวกับภาษา ดังนั้น ใครก็ตามที่กำลังมองหาสูตรสำเร็จรูปสำหรับการเป็นนักเขียน.. คงไม่เจอ แต่ถ้าต้องการแรงบันดาลใจและกำลังใจ แสวงหาความรู้สึกทำนองว่า เฮ้ย เราก็เขียนได้!.. หนังสือเล่มนี้มีให้เปี่ยมล้น
.
.
📕 3. Steal Like An Artist ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน

หนังสือระดับ New York Times Bestseller กับความลับ 10 ข้อที่ไม่เคยมีใครบอกคุณเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ไอเดียที่ไม่ซ้ำใครเลยนั้นไม่มีอยู่จริง ทุกอย่างล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากไอเดียที่มีอยู่แล้ว แม้แต่จิตรกรเอกของโลกอย่างปีกัสโซยังเคยกล่าวไว้ว่า “ศิลปะคือการขโมย” หัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงานคือ การเก็บเล็กผสมน้อยจากความคิดของคนอื่น แล้วนำมาผสมผสานกับความคิดของคุณเอง เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวคุณขึ้นมา ไม่ว่าคุณจะมีอาชีพอะไรหรือทำงานในด้านใดก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้ “Austin Kleon” จะเปิดเผยความลับ 10 ข้อที่ช่วยให้คุณคิดสร้างสรรค์แบบศิลปินเอกของโลกได้ เริ่มต้นจากข้อแรกและข้อที่สำคัญที่สุด ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน
.
.
📕 4. Big Magic พลังวิเศษของคนธรรมดา

ในแต่ละปีมีคนนับล้านสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ แต่ทำไมคนที่มีชื่อเสียงขึ้นมาได้กลับมีไม่ถึง 1% คนเหล่านั้นเก่งกว่าคนอีก 99% ที่เหลือใช่ไหม แล้วคนธรรมดา ๆ อย่างเราจะทำแบบนั้นได้อย่างไร? หนังสือ “พลังวิเศษของคนธรรมดา” เล่มนี้ มีคำตอบ โดย “อลิซาเบธ กิลเบิร์ต” จะมาเผยเคล็ดลับที่ช่วยให้เราดึงพลังวิเศษที่ซ่อนอยู่ในตัวออกมา ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ เธอจึงสามารถสร้างผลงานก้องโลกอย่าง “Eat Pray Love” ขึ้นมาได้ ทั้งที่ตอนนั้นเธอเป็นเพียงคนธรรมดาที่ไม่ได้มีพรสวรรค์หรือชื่อเสียงอะไรเลย ไม่ว่าคุณจะอยู่ในแวดวงไหน เคล็ดลับในหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์งานที่ยอดเยี่ยมออกมาได้ตามที่คุณต้องการ!
.
.
📕 5. Bird by Bird: Some Instructions on Writing and Life – Anne Lamott

ชีวิตกับงานเขียนดูจะเป็นการเรียนรู้ที่เคียงข้างกันไป Anne Lamott เป็นนักเขียนเจ้าของผลงานทั้งนวนิยายและเชิงสารคดี หนังสือ Bird by Bird เป็นหนังสือบันทึกประสบการณ์ชีวิตและข้อแนะนำเรื่องการเขียนขึ้นที่ปรุงด้วยอารมณ์ขัน งานเขียนชิ้นนี้พูดถึงประเด็นและประสบการณ์ที่คนเขียนทุกคนเคยเจอ เป็นคำแนะนำว่าเราจะเริ่มเขียนยังไง ดราฟต์แรกมันทุเรศทุรังแค่ไหน ไปจนถึงเจอปัญหาความตัน เขียนไม่ออกจะแก้ไขอย่างไรดี เป็นงานเขียนที่ทำให้เราเข้าใจว่า เราไม่ได้ดิ้นรนกับการเขียนอยู่คนเดียว
.
.
📕 6. The Artist’s Way
The Artist’s Way เขียนในรูปแบบที่คล้ายกับหลักสูตร ซึ่งจะแนะนำแบบฝึกหัดต่างๆ ในช่วง 12 สัปดาห์ที่จะช่วยให้คุณปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ หากคุณกำลังดิ้นรนกับการบล็อกของนักเขียน นี่เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอ่าน หนังสือเล่มนี้ต้องมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน หากคุณไม่พร้อมสำหรับการออกกำลังกายจริง คุณก็จะไม่ได้ประโยชน์จากแบบฝึกหัดนี้มากนัก แต่ถ้าคุณมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ของคุณอีกครั้ง หนังสือเล่มนี้มีกระบวนการทีละขั้นตอนที่มีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อซึ่งจะช่วยให้คุณทำอย่างนั้นได้
.
.
📕 7. Creative Confidence
“ฉันเป็นคนไม่มีความคิดสร้างสรรค์” “ที่เขาทำได้ ก็เพราะเขามีความคิดสร้างสรรค์ยังไงล่ะ” หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบ คำพูดเหล่านี้จะไม่หลุดจากปากคุณอีกต่อไป เพราะจริง ๆ แล้วเราทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัว

หนังสือ “หลักสูตรคิดสร้างสรรค์สำหรับคุณที่ใช้ความคิด” เล่มนี้ จะช่วยให้คุณดึงมันออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ผ่านหลักการและเครื่องมือที่สอนกันในหลักสูตรสุดฮิตของ d.school แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ซึ่งจะช่วยให้คุณเอาชนะสิ่งที่คอยปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของคุณได้ ในแต่ละบทจะมอบเครื่องมือที่จะทำให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้นในการไล่ตามไอเดียใหม่ ๆ รวมทั้งบอกเล่าเรื่องราว วิธีการ และแนวทางปฏิบัติที่กลั่นจากประสบการณ์หลายสิบปี ที่ผู้เขียนได้ร่วมงานกับนักคิดสร้างสรรค์จากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าคุณจะคิดว่าตัวเองเป็นคนที่ “มีความคิดสร้างสรรค์” หรือไม่ เชื่อว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้คุณปลดปล่อยและดึงเอาศักยภาพในการคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวทุกคนออกมาใช้ได้มากขึ้น!
.
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://medium.com

 

ประเภทการพิมพ์ที่นิยมในปัจจุบัน

การพิมพ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทงานพิมพ์จะมีความเหมาะสมและลักษณะของการพิมพ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ถ้าเราเลือกประเภทงานพิมพ์ให้ตรงกับงานหนังสือของเรา ก็จะทำเราได้งานพิมพ์ที่ดี มีคุณภาพ ออกมาสวยงามตรงตามความต้องการ ถูกใจเรา ถูกใจคนอ่านนั่นเอง
.
ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่า เทคโนโลยีการพิมพ์ในปัจจุบัน มีประเภทงานพิมพ์อะไรบ้างที่ยังคงได้รับความนิยมอยู่ โดยเราหาข้อมูลมาให้ทั้งหมด 7 เทคโนโลยี พร้อมยกตัวอย่างการใช้งานมาให้ค่ะ จะมีงานพิมพ์อะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ 😁
.
1. การพิมพ์ออฟเซ็ต หรือ การพิมพ์พื้นราบ
ใช้หลักการน้ำกับน้ำมันไม่รวมตัวกัน นิยมใช้ในการพิมพ์งานคุณภาพสูง เช่น แผ่นพับ ใบปลิว นิยสาร วารสาร การ์ด หนังสือ เป็นต้น
.
2. การพิมพ์เลตเตอร์เพลส
เป็นการพิมพ์พื้นนูน โดยใช้แม่พิมพ์ทำจากโลหะผสมหรือพอลิเมอร์ ตัวพิมพ์จะมีลักษณะนูนสำหรับรับหมึก พิมพ์ลงบนวัตถุโดยวิธีการกดทับ ใช้ในการพิมพ์นามบัตร ฉลาก กล่อง ป้าย หรืองานพิมพ์ที่ต้องการความละเอียด
.
3. การพิมพ์ซิลค์สกรีน
เป็นการพิมพ์พื้นฉลุ โดยใช้หลักการให้สีรอดผ่านรอยฉลุบนผ้าลงสู่วัสดุ ใช้สำหรับพิมพ์นามบัตร บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ป้าย กระดาษ พลาสติก โลหะ เสื้อผ้า ขวด จานชาม และชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ
.
4. การพิมพ์ดิจิตอล
เป็นการต่อเครื่องพิมพ์และสั่งพิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์ การพิมพ์แบบดิจิตอลได้รับความนิยมมาก เหมาะกับงานพิมพ์ที่มีปริมาณไม่มาก
.
5. การพิมพ์เฟล็กโซกราฟี
เป็นการพิมพ์พื้นนูน โดยใช้แผ่นพอลิเมอร์ที่มีความยืดหยุ่นเป็นแม่พิมพ์ ใช้หลักการคล้ายเลตเตอร์เพลสใช้พิมพ์งานประเภทกล่องลูกฟูก กล่องกระดาษแข็ง ฉลากต่างๆ ป้าย ถุง ซองพลาสติก
.
6. การพิมพ์กราวัวร์
เป็นการพิมพ์พื้นลึกที่ใช้แม่พิมพ์แบบเป็นล่องลึก ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา แต่จะได้งานพิมพ์คุณภาพดี จึงเหมาะกับงานยาวๆ อย่างซองพลาสติกต่างๆ
.
7. การพิมพ์อิงค์เจ็ท
เป็นงานพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก โดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อสั่งพิมพ์ตัวเครื่องจะคำนวณตำแหน่งจุดของภาพรวม และพ่นสีหมึกที่ประมวลผลไว้อย่างแม่นยำตามรูปแบบไฟล์งานที่ใส่เข้าไป ทำให้ภาพออกมาชัดเจนและคมชัด เช่น ป้ายแบนเนอร์ โปสเตอร์ ป้ายโฆษณา บิลบอร์ด โฆษณาติดข้างรถต่างๆ ตลอดจนงานพิมพ์ตกแต่งตามอีเว้นท์ต่างๆ
.
นี่เป็น 7 การพิมพ์ที่ยังนิยมอยู่ในปัจจุบันในงานพิมพ์ค่ะ ซึ่งก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ในส่วนของการทำหนังสือด้วยเช่นกัน อยากให้ทุกท่านได้ลองศึกษากันนะคะ

“หน้ายก” ของหนังสือ คืออะไร รายละเอียดเล็กๆ แต่สำคัญมาก

การพิมพ์หนังสือ 1 เล่ม มีขั้นตอนมากมายที่จะต้องใส่ใจ เพราะหนังสือแต่ละประเภทต่างก็ต้องมีมาตรฐานการพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระดาษที่ได้สัดส่วนของงานพิมพ์ ขนาดกับความหนาที่ต่างกัน และยังรวมไปถึงการใช้ขนาดหน้ายกของหนังสือแต่ละประเภทที่ถูกต้องตรงขนาดของงานพิมพ์
.
ซึ่งเราเชื่อว่า ยังมีหลาย ๆ คน อาจยังไม่รู้ว่า หน้ายก คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรกับงานพิมพ์ วันนี้เราจะพาคุณไปหาคำตอบกันค่ะ
.
.
“หน้ายก” ของหนังสือคืออะไร
หน้ายก คือ ภาษาของการพิมพ์เพื่อแสดงขนาดและความหนาหนังสือตามปริมาณกระดาษ โดยการพิมพ์หนังสือเล่มจะพิมพ์ลงกระดาษแผ่นใหญ่ในแม่พิมพ์หรือเพลททีละกรอบ ซึ่งกระดาษแต่ละแผ่นจัดหน้าจำนวนกี่หน้า ก็นับจำนวนหน้าใน 1 เพลทเป็น 1 ยก ทั้งนี้หน้ายก อาจจะต้องมีตัวเลขนำหน้าเสมอ เพื่อแสดงว่าหนังสือเล่มนั้นมีขนาดเท่าใด เช่น 8 หน้ายก, 16 หน้ายก, 32 หน้ายก, 64 หน้ายก แต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดกระดาษและการพับด้วย
.
การพิมพ์หนังสือในโรงพิมพ์ หน้ายกคือจำนวนหน้าที่ได้จากการพับแผ่นพิมพ์ 1 แผ่น ซึ่งมีขนาด 15.5 x 21.5 นิ้ว หรือ 17.5 x 24 นิ้ว
หากพับ 1 ครั้งได้ 4 หน้า เรียก 4 หน้ายก
หากพับ 2 ครั้งได้ 8 หน้า เรียก 8 หน้ายก
หากพับ 3 ครั้งได้ 16 หน้า เรียก 16 หน้ายก
หากพับ 4 ครั้งได้ 32 หน้า เรียก 32 หน้ายก
.
.
#ขนาดหน้ายกของหนังสือทั่วไป
1 หน้ายก ขนาดคือ 31” x 43”
4 หน้ายก ขนาดคือ 14.5” x 22.5”
8 หน้ายก ขนาดคือ 7.5” x 10.25”
16 หน้ายก ขนาดคือ 5” x 7.25”
32 หน้ายก ขนาดคือ 3” x 4.5”
.
.
#ขนาดของหนังสือ
ขนาด 8 หน้ายก เป็นขนาดที่ใช้กันทั่วไปในการพิมพ์หนังสือเรียน ด้วยการใช้กระดาษขนาด 31 x 43 นิ้วมาตัดลงพิมพ์ และพับได้ลงตัวพอดี

ขนาด A4 เป็นขนาดมาตรฐานตามที่องค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดใช้กระดาษ 24 x 35 นิ้ว พิมพ์ และพับได้ลงตัวพอดี เรียกว่า ขนาด 8 หน้ายกพิเศษ

ขนาด 16 หน้ายก เป็นขนาดที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขนาดพ๊อกเกตบุ๊ค นิยมพิมพ์เป็นคู่มือ ด้วยการใช้กระดาษขนาด 5 x 7 นิ้ว หรือขนาด A5 หรือ A4 พับครึ่ง

ขนาดของวารสาร นิตยสาร มีขนาดไม่แน่นอนนัก อาจใช้ขนาด 8.5 x 11.5 นิ้ว จะมีขนาดใกล้เคียงกับขนาด A4
.
.
นี่ก็คือข้อมูล “หน้ายก” ของหนังสือ ซึ่งเป็นรายละเอียดเล็กๆ แต่สำคัญมากสำหรับการทำหนังสือ ผู้เริ่มเขียนทั้งหลายต้องเรียนรู้ไว้ค่ะ งานของเราจะได้ออกมาอย่างสมบูรณ์มากที่สุดค่ะ

การนับสีในงานพิมพ์เขานับกันอย่างไร

เราจะรู้ได้ยังไงว่า งานที่เราพิมพ์นั้นมีกี่สี บางคนไม่ทราบวิธีนับสีก็จะตกใจ คิดว่ามีสี เยอะมากเป็นสิบเป็นร้อยสี กลัวราคาจะสูงเพราะว่าสีมีผลต่อราคาค่าพิมพ์ต่อหน่วย
.
ดังนั้นวันนี้เราจะพาไปรู้จักวิธีการนับสีในงานพิมพ์ว่า การนับสีในงานพิมพ์เขานับกันอย่างไรค่ะ
.
จริงๆ แล้ว การนับสีมีหลักการอยู่ว่า 1 เพลท คือ 1 สี เพราะภาพต่าง ๆ ที่เราเห็นจะใช้แค่ 4 เพลท หรือที่เรียกกันว่างาน 4 สี โดยใช้หลักเดียวกันกับการผสมสี แม่สี 3 สี และจะมีสีดำอีกหนึ่งเป็น 4 ผสมกันวาดเป็นภาพเหมือนจริงได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีสีพิเศษเพิ่มเข้ามาตามความต้องการการใช้งานอีกด้วย โดยจะประกอบไปด้วย สีเงิน สีทอง ซึ่งจะต้องเพิ่มเพลทมา 1 เพลท หรือนับเพิ่มเป็น 1 สี นั่นเอง
.
พิมพ์ 1 สี หรือ การพิมพ์สีเดียว
ส่วนใหญ่จะเป็นงานพิมพ์ขาว ดำ ซึ่งการพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นสีกันทั่วไป ทั้งนี้งานพิมพ์สีเดียวไม่จำเป็นจะต้องใช้แค่สีขาวกับดำ แต่จะพิมพ์เป็นสีเขียว เหลือง แดง น้ำเงิน ก็ได้เช่นกัน และในสีที่พิมพ์นั้นยังสามารถทำเป็นหลายระดับ ตั้งแต่อ่อนไปจนถึงเข้มทำให้ดูเหมือนว่ามีหลายสี อย่างเช่น การเลือกสีน้ำเงินในการพิมพ์กระดาษขาว ก็จะไล่สีน้ำเงินเข้มไปจนสีอ่อนก็จะดูเหมือนมีสีฟ้า สีคราม ในงานเดียวกันได้ ทั้งนี้งานพิมพ์สีเดียวที่นิยม คือ หนังสือเรียน หนังสือเล่ม พ็อกเก็ตบุ๊ค แต่จะเป็นเนื้อหาข้างใน ไม่ใช่ปก และการพิมพ์ 1 สี จะมีต้นทุนต่ำที่สุด
.
พิมพ์ 2 สี และ 3 สี
เพิ่มความสนใจ ความสวยงามให้งานพิมพ์น่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น ซึ่งพิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี ส่วนใหญ่จะนิยม 2 สี เช่น ดำกับแดง ดำกับน้ำเงิน เขียวกับเหลือง หรือจะเป็นคู่สีอะไรอื่น โดยค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นอีกนิดหนึ่ง เพราะโรงพิมพ์จะต้องเพิ่มเพลทตามจำนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วย งานพิมพ์ที่เหมาะสำหรับพิมพ์สีพิเศษ เช่น สมุดโน้ต สติ๊กเกอร์ทั่วไป ถุงกระดาษ ซองเอกสาร เป็นต้น
.
พิมพ์ 4 สี (แบบสอดสี)
จะทำให้ได้สีที่เหมือนกับรูปแบบหรือต้นฉบับที่เราต้องการ ซึ่งจะเป็นภาพที่มีสีสันสวยงามเหมือนกับที่ตาเราเห็น ในส่วนวิธีการพิมพ์ 4 สี จะใช้สี CMYK (สีดำ แดง เหลือง น้ำเงิน) โดยพิมพ์ผสมกันออกมาจะได้หลายสี แต่จะมีความยุ่งยากกว่าทั้ง 2 แบบแรก จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้เพลท 4 ตัว แล้วต้องพิมพ์ 4 รอบ สิ่งพิมพ์ส่วนมากที่นิยมใช้การพิมพ์ 4 สี อย่างเช่น ทำปกโปสเตอร์ ทำปกวารสาร หน้าแฟชั่นในนิตยสาร ฯลฯ
.
พิมพ์สีพิเศษ
อย่างเช่น สีทอง สีเงิน และสีสะทองแสง ซึ่งสีพิเศษคือสีที่ไม่สามารถผสมระหว่างสีได้ โดยเฉดสีทองและเฉดสีเงินก็จะมีความแตกต่างกัน สีเทาจะให้ความเงาและด้านต่างกัน ในส่วนของสีเงินจะมีเงินมันวาวกับเงินด้าน ดังนั้นการพิมพ์สีพิเศษนั้น จะต้องทำเพลทเพิ่มขึ้นตามจำนวนสีอีกเช่นเดียวกัน งานพิมพ์ที่เหมาะสำหรับพิมพ์สีพิเศษ เช่น ใบปลิว แผ่นพับ หนังสือ กล่องบรรจุภัณฑ์ ปฏิทิน การ์ด โปสเตอร์ ถุงกระดาษ เป็นต้น
.
เมื่อเรารู้วิธีการนับสีในงานพิมพ์แล้ว จะทำให้เราสามารถเลือกการพิมพ์สีได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และสามารถรู้ว่าราคาแต่ละแบบมีความแตกต่างกันเท่าไร ทั้งยังทำให้เราได้งานที่ดี มีคุณภาพ ตามแบบที่เราต้องการอีกด้วยค่ะ

พัฒนาการเขียนให้ดีขึ้น 7 ข้อเห็นผล!

หลายคนอาจมองว่า การเขียนงานหรือการเขียนหนังสือออกมาให้ผู้คนอ่านแล้วเกิดความสนใจนั้นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะว่างานเขียนต้องใช้ทักษะระดับหนึ่ง ต้องมีความรู้ความเข้าใจในภาษา หลักการเขียน หรือแม้แต่โครงสร้างของภาษาเองก็ตาม ต้องสละสลวย อ่านแล้วไม่งง ไม่วกไปวนมา 🧐
.
สิ่งนี้เองเลยทำให้เป็นข้อกังวลสำหรับนักเขียนมือใหม่หลายๆ ท่าน เราในฐานะเป็นสื่อช่องทางหนึ่งที่อยากจะช่วยพัฒนางานเขียนของใครหลายๆ คน วันนี้เลยอยากจะมาแชร์เทคนิค 7 ข้อง่ายๆ ที่สามารถทำตามกันได้เลย 😊
.
1. #ต้องรักการอ่าน 🥰
อยากเขียนดี มีคำใหม่เรื่อยๆ สิ่งสำคัญเลยก็คือ การอ่านค่ะ เราอ่านเพื่อหาแรงบันดาลใจในการเขียน อ่านเพื่อให้เราได้เรียนรู้คำใหม่ๆ ในโลกนี้มีคำอยู่หลากหลายประเภทเลยค่ะ แต่ส่วนใหญ่เราจะคุ้นชินกับบางคำที่เราเคยใช้ เคยพูด นั่นเลยกลับทำให้เราเคยชินกับคำเดิมๆ หรือเขียนแต่คำเดิมๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้นต้องหาหนังสือใหม่ๆ มาอ่านอยู่เรื่อยๆ นะคะ
.
2. #ค้นคว้าข้อมูลต้องเป็น 🧐
สำหรับงานเขียนบางประเภท จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีแหล่งที่มาชัดเจน ข้อมูลงานนั้นต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดต่อผู้อ่านได้นะคะ เพราะพื้นฐานสำคัยของการเขียนงานออกมาแล้วก็คือ ผู้อ่านอ่านแล้วได้รับข้อมูลที่ถูกต้องนั่นเองค่ะ
.
3. #รู้จักทบทวนความรู้พื้นฐาน ✍🏻
เราจะเริ่มเขียนไม่ได้ ถ้าหากว่าเราไม่รู้พื้นฐานในการเขียน การเขียนที่ดีจำเป็นต้องรู้จักการใช้คำ การวางรูปประโยค เข้าใจพื้นฐานหลักไวยากรณ์ของภาษา สามารถเลือกใช้คำได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ใช้โครงสร้างประโยคที่ดี นั่นก็เพื่อให้งานเขียนของเราออกมาแล้วน่าอ่าน อ่านเข้าใจมากขึ้นค่ะ
.
4. #รูปแบบลีลาจากนักเขียนคนอื่นก็ช่วยได้ 👩🏻‍🎨
สิ่งที่เราจะสื่อก็คือ การเลือกหยิบเ­อาข้อความหรือประโยคจากหนังสือบางเล่ม คัดออกมาเขียนเพื่อทำความเข้าใจวิธีการสร้างสรรค์เรื่องราว ประโยคของนักเขียน ว่ามีโครงสร้างการเขียนเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความรู้ในการเขียนให้กับเราได้ ทำให้เรารู้จักลีลาการเขียนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับสไตล์ของตัวเองค่ะ
.
5. #ตรวจทานงานเขียนทุกครั้ง 🔍
การตรวจทาน คือ หนึ่งข้อที่นักเขียนจำเป็นต้องทำมากที่สุดค่ะ และควรตรวจทุกครั้งหลังจากที่เรานั้นเขียนเสร็จ ไม่ควรแก้ไขระหว่างที่เรากำลังเขียน มันจะทำให้เราสูญเสียความคิด และสำคัญที่สุดก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดงานเขียนของเรา ซึ่งเป็นการรีเช็คว่างานของเรานั้นมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
.
6. #สถานที่ช่วยให้เขียนได้ดี 🏝
นอกเหนือจากปัจจัยด้านอารมณ์ แรงบันดาลใจ หรือความคิดที่ต้องการจะถ่ายทอดสู่ผู้อ่าน มีผลต่อประสิทธิภาพในการเขียนของเราแล้ว หนึ่งปัจจัยที่ไม่แพ้กัน คือ สถานที่ที่เราเลือกจะนั่งเขียน ลองเลือกมุมโปรดสักที่ที่ตัวเองชอบ แน่นอนว่างานเขียนของคุณต้องออกมาดีค่ะ
.
7. #เข้าคอร์สอบรม 👍🏻
สำหรับคนที่ต้องการเริ่มต้นการเขียนอย่างจริงจัง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นด้วยการเข้าคอร์สการเขียน การมีใครคอยให้คำแนะนำหลักการเขียนที่ถูกต้อง คอยตรวจ แก้ไข รูปประโยค การใช้คำเพื่อสื่อความหมายอย่างเหมาะสมจากครูผู้สอน จะช่วยเสริมสร้างทักษะการเขียนของเราให้ดีขึ้น และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องแบบก้าวกระโดดมากเลยค่ะ
.
ทั้งหมด 7 ข้อนี้ เราเชื่อว่าจะช่วยพัฒนางานเขียนของทุกท่านได้เยอะเลย ลองนำไปปรับใช้กันนะคะ

ความเหมาะสมของหนังสือ 1 เล่ม ควรมีกี่หน้า

สำหรับใครที่สนใจอยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง หรือกำลังเก็บเกี่ยวข้อมูลของการเริ่มทำหนังสือ เพื่อนำหนังสือมาเก็บไว้อ่านเองหรือจะนำไปขายต่อยอดไปเป็นรายได้ แต่ยังไม่รู้ว่าจะออกแบบให้มีจำนวนหน้ามากน้อยเท่าไหร่ดีถึงจะเหมาะกับหนังสือของเรา
.
วันนี้เราจึงอยากนำข้อมูลว่า ความเหมาะสมของหนังสือ 1 เล่ม ควรมีกี่หน้า มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ
.
การพิมพ์หนังสือ 1 เล่ม หรือมากกว่า 1 เล่ม ไม่ได้มีกระบวนการผลิตแบบการถ่ายเอกสารออกมาจากเครื่องพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือขนาดใดก็ตาม ซึ่งความจริงแล้วการพิมพ์หนังสือจะนิยมใช้กระดาษขนาดใหญ่มากๆ โดยขนาดแต่ละแผ่นจะประมาณ 24 x 35″ หรือ 31 x 43″ หลังจากนั้นนำเข้าไปในแท่นพิมพ์ในครั้งเดียวเพื่อการผลิตในจำนวนมาก ซึ่งสามารถประหยัดเวลาลงมาได้
.
กระดาษขนาดใหญ่มากๆ จะเรียกว่า ยก ซึ่งภายใน 1 ยก หรือ 1 กระดาษแผ่นใหญ่มากๆ จะสามารถแบ่งพื้นที่ให้กับหน้าหนังสือได้มากมาย เช่น ถ้าไซส์ของกระดาษแผ่นเล็ก คือ A5 หรือเทียบเท่ากับขนาด 16 หน้ายกพิเศษ (14.5 x 21 cm) แล้วใน 1 ยกที่ถูกพิมพ์ออกมา จะได้หนังสือ 16 หน้าเล็กๆ ในแผ่นเดียวกัน
.
แล้วหนังสือควรมีกี่หน้า อย่างแรกเราต้องถามตัวเองก่อนว่า เราจะเขียนหนังสือประเภทอะไร อยากได้หนังสือขนาดเท่าไร อย่างเช่น อยากได้หนังสือแบบนิยายทั่วๆ ไปที่ขายตามท้องตลาด ก็จะเป็นขนาด 16 หน้ายกพิเศษ (14.5×21 cm)
.
ดังนั้นจำนวนหน้าทั้งหมด ควรเป็นจำนวนที่ 16 หารลงตัว เช่น 16 หน้า 32 หน้า 48 หน้า 64 หน้า ซึ่งเอาสูตรคูณแม่ 16 มาคูณได้เรื่อยๆ เป็นต้น นั่นก็เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างจนกลายเป็นการสิ้นเปลืองกระดาษ และเป็นการเปลืองงบการจัดพิมพ์โดยไม่จำเป็นอีกด้วย
.
.
#วิธีการคำนวณจำนวนหน้ายก
จำนวนหน้ายก = จำนวนหน้าเล็กทั้งหมด / ขนาดหน้ายก
(โดยเศษจะต้องเหลือ 0 เพื่อความคุ้มค่าของการพิมพ์)
.
.
#ขนาดหน้ายกของหนังสือทั่วไป
1 หน้ายก ขนาดประมาณ 31” X 43”
4 หน้ายก ขนาดประมาณ 14.5” X 22.5”
8 หน้ายก ขนาดประมาณ 7.5” X 10.25”
16 หน้ายก ขนาดประมาณ 5” X 7.25”
32 หน้ายก ขนาดประมาณ 3” X 4.5
.
นี่เป็นข้อมูลเบื้องต้นของการทำหนังสือ 1 เล่มค่ะ

9 ข้อ ปลุกพลังในการเขียน ให้ประสบความสำเร็จ โดย ไบรอัน เทรซี่

“แรงจูงใจ คือ พลังขับเคลื่อนให้คุณทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งบรรลุผลสำเร็จ”
.
.
ลองทำตาม 9 ข้อนี้ แล้วคุณจะมีแรงใจในการเขียนงานมากขึ้น 😄
.
1. เขียนให้สม่ำเสมอ 💪🏻
เขียนเวลาเดิมให้สม่ำเสมอ เพราะสมองจะเชื่อมโยงการเขียนจนเป็นนิสัย เหมือนคุณกินข้าวหรือแปรงฟัน

2. สร้างเป้าหมายเล็กๆ ทุกวัน 🎯
เช่น เขียนวันละหนึ่งร้อยคำ เขียนวันละหนึ่งหน้า นั่นหมายความว่า เมื่อครบปี คุณจะได้หนังสือหนา 365 หน้า ถ้าคุณต้องการให้เสร็จเร็วขึ้น อาจต้องเพิ่มเป็นวันละหนึ่งบท ทบทวนเป้าหมายทุกวัน

3. เก็บเวลาแก้ไข ไว้ท้ายสุด ✍🏻
ทุกครั้งที่แก้ไขกลับไปกลับมาทำให้งานเขียนของคุณไม่ไหลลื่น เขียนให้ต่อเนื่องและแก้ไขในขั้นตอนสุดท้าย มันจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้คุณได้

4. เอาสิ่งรบกวนออกไป 🤯
เมื่อต้องเขียนหนังสือ ปิดมือถือ อยู่ในที่เงียบ และทำจิตใจให้ผ่อนคลาย เป้าหมายของคุณ คือ เขียนอย่างลื่นไหล ไร้สิ่งรบกวน

5. วางสมุดที่คุณใช้เขียนไว้ข้างตัวเสมอ 📚
เมื่อต้องการเขียนให้หยิบขึ้นมาเขียนทันที

6. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับคุณ 🌞
เปลี่ยนบรรยากาศไปหลายๆ ที่ นั่งเขียนนอกบ้านรับแดด รับลมเย็น หรือเปิดแอร์เย็นๆ เมื่อต้องเขียนหนังสือหรือในห้องที่มีสีต่างกัน

7. สร้างบรรยากาศให้สนับสนุนในการเขียนหนังสือของคุณ 🌳
ตัวอย่างหนังสือ “คิดแล้วรวย” นโปเลียน ฮิลล์ เขียนหนังสือผ่านบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับตัวเขาได้ไปนั่งคุย ทำให้มีแรงจูงใจในการเขียนได้ดีขึ้น

8. พูดสิ่งที่ต้องการเขียนออกมา 🗣
คุยกับเพื่อน คุยครอบครัว ว่าคุณกำลังเขียนอะไร และเขียนมันลงไป พูดถึงปัญหาที่คุณต้องการแก้ไขออกมา และเขียนมันลงไป

9. สร้างสรรค์งานเขียนผ่านภาพที่เห็นทันที 👩🏻‍🎨
เช่น มองออกไปนอกหน้าต่างเห็นอะไร แล้วเขียนบรรยายมันลงไปทันที หรือลองไปที่พจนานุกรม คำแรกที่เจอ ให้เขียนบรรยายออกมาทันที วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีความคิดสร้างสรรค์ผลงานได้ดียิ่งขึ้น วิธีนี้ผมใช้เสมอที่ต้องเขียนผลงานใหม่ๆ
.
.
“คุณสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คุณต้องการ เมื่อเป้าหมายนั่นชัดเจน และคุณยืนหยัดเพียงพอ”
.
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีใจรักการเขียนงาน แต่ต้องการงานที่ละเอียดและเนี๊ยบมากขึ้น เรายินดีให้การช่วยเหลือคุณทุกเรื่องราวเกี่ยวกับการทำหนังสือ เขียนหนังสือ ผลิตหนังสือ และดูแลงานเขียนของคุณตั้งแต่ต้นจนจบ

หลักการเขียนหนังสือให้น่าอ่าน นักเขียนหน้าใหม่ต้องรู้

ทุกคนสามารถเป็นนักเขียนได้ เพราะการเขียนไม่มีหลักตายตัว แต่อยู่ที่การเล่าเรื่องเข้าไปในเนื้อหานั้นๆ
.
#หลักสำคัญในการเขียน
.
ใช้ภาษาเรียบง่าย
ไม่ใช้คำศัพท์ซับซ้อนเกินไป ใช้สำนวนถ้อยคำง่ายๆ ที่คนอ่านต้องการ และตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร
.
อย่าคิดว่าผู้อื่นรู้เรื่องเดิม
จุดบอดคือผู้เขียนมักจะคิดว่า เรื่องที่เรากำลังจะนำเสนอไปนั้น ผู้อื่นทราบมาบ้างแล้ว จึงมักเขียนละความบางประโยคบางตอนไป สิ่งนี้ทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจความเป็นมา
.
ใช้คำคุ้นเคย
การเขียนหนังสือเพื่อสื่อสารเรื่องราวต่างๆ จึงควรใช้คำคุ้นเคยในชีวิตประจำวันจะดีกว่า
ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจในทันที
.
เว้นวรรคตัวหนังสือ
ไม่เขียนยาวเป็นพืด ทำให้ไม่มีการพักสายตา เกิดความเมื่อยล้า จนไม่อยากอ่านบรรทัดต่อๆ ไป
.
ย่อหน้าให้มีความหมาย
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้อ่านอยากอ่านเรื่องราวนั้นๆต่อไปอีก
.
และนี่คือหลักการเขียนง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้ ขอแค่เพียงพัฒนาการเขียนบ่อยๆ เติมความรู้ และคลังข้อมูลต่างๆ ด้วยการอ่านจะทำให้การเขียนคมกริบยิ่งขึ้น
.
ลองนำไปฝึกพัฒนาการเขียนดูนะคะ