หนังสือ 7 เล่ม ที่นักสร้างสรรค์ต้องอ่าน

หนึ่งในแง่มุมที่ท้าทายที่สุดของงานสร้างสรรค์คือการลงมือทำจริง ซึ่งมีหลายวิธีในการแยกแยะความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง
.
นักเขียนบางคนกล่าวว่า “พวกเขารอให้เกิดแรงบันดาลใจ” ในขณะที่คนอื่นๆ เขียนทุกวันเพื่อให้งานที่ดีที่สุดของพวกเขา
.
ศิลปินบางคนยืนกรานที่จะเป็นต้นฉบับ และบางคนเชื่อว่าศิลปินที่เก่งที่สุดคือ ขอ ยืม และขโมยแรงบันดาลใจจากผลงานของศิลปินคนอื่นๆ ครีเอทีฟบางคนต้องทำงานในขณะที่ฟังเพลงหรือนั่งอยู่ในร้านกาแฟที่มีเสียงดัง และบางคนก็ต้องการความเงียบอย่างสมบูรณ์
.
.
วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับหนังสือทั้ง 7 เล่มน่าอ่านสำหรับนักสร้างสรรค์งานเขียน ไปดูกันเลยค่ะ
.
.
📕 1. The War of Art Break Through the Blocks (Steven Pressfield)

หากคุณเคยดิ้นรนกับบล็อกที่สร้างสรรค์ คุณต้องอ่าน The War of Art เป็นแนวทางปฏิบัติที่รวดเร็วและนำไปใช้ได้จริงเพื่อความสำเร็จในความพยายามสร้างสรรค์ของคุณ

นักเขียนนวนิยายขายดีอย่าง Steven Pressfield พูดถึง “ศัตรู” ที่ศิลปินทุกคนต้องเผชิญ นั่นคือเสียงภายในที่หยุดงานของคุณ หากคุณเคยดิ้นรนกับความทะเยอทะยานและวินัยที่สร้างสรรค์ หนังสือเล่มนี้คือคำตอบที่คุณต้องการเพื่อเอาชนะความกลัวและทำงานที่สำคัญที่สุดของคุณต่อไป ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเขียน จิตรกร หรือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี นี่คือการอ่านที่คุ้มค่าและสร้างแรงบันดาลใจ
.
.
📕 2. On Writing: A Memoir of the Craft เวทมนตร์ฉบับพกพา : ชีวิตและเรื่องขีดเขียนของสตีเวน คิง

“เวทมนตร์ฉบับพกพา : ชีวิตและเรื่องขีดเขียนของสตีเวน คิง” ไม่ใช่หนังสือคู่มือฮาวทูสอนการเขียน จากคำกล่าวของผู้เขียนเอง มันคือหนังสือที่เล่าว่า.. ผมมานั่งเขียนหนังสือได้อย่างไร ตอนนี้ผมได้รู้อะไรบ้าง และผมทำอย่างไร นี่คือหนังสือเกี่ยวกับงานที่ผมใช้หาเลี้ยงชีพ และมันเป็นงานเกี่ยวกับภาษา ดังนั้น ใครก็ตามที่กำลังมองหาสูตรสำเร็จรูปสำหรับการเป็นนักเขียน.. คงไม่เจอ แต่ถ้าต้องการแรงบันดาลใจและกำลังใจ แสวงหาความรู้สึกทำนองว่า เฮ้ย เราก็เขียนได้!.. หนังสือเล่มนี้มีให้เปี่ยมล้น
.
.
📕 3. Steal Like An Artist ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน

หนังสือระดับ New York Times Bestseller กับความลับ 10 ข้อที่ไม่เคยมีใครบอกคุณเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ไอเดียที่ไม่ซ้ำใครเลยนั้นไม่มีอยู่จริง ทุกอย่างล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากไอเดียที่มีอยู่แล้ว แม้แต่จิตรกรเอกของโลกอย่างปีกัสโซยังเคยกล่าวไว้ว่า “ศิลปะคือการขโมย” หัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงานคือ การเก็บเล็กผสมน้อยจากความคิดของคนอื่น แล้วนำมาผสมผสานกับความคิดของคุณเอง เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวคุณขึ้นมา ไม่ว่าคุณจะมีอาชีพอะไรหรือทำงานในด้านใดก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้ “Austin Kleon” จะเปิดเผยความลับ 10 ข้อที่ช่วยให้คุณคิดสร้างสรรค์แบบศิลปินเอกของโลกได้ เริ่มต้นจากข้อแรกและข้อที่สำคัญที่สุด ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน
.
.
📕 4. Big Magic พลังวิเศษของคนธรรมดา

ในแต่ละปีมีคนนับล้านสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ แต่ทำไมคนที่มีชื่อเสียงขึ้นมาได้กลับมีไม่ถึง 1% คนเหล่านั้นเก่งกว่าคนอีก 99% ที่เหลือใช่ไหม แล้วคนธรรมดา ๆ อย่างเราจะทำแบบนั้นได้อย่างไร? หนังสือ “พลังวิเศษของคนธรรมดา” เล่มนี้ มีคำตอบ โดย “อลิซาเบธ กิลเบิร์ต” จะมาเผยเคล็ดลับที่ช่วยให้เราดึงพลังวิเศษที่ซ่อนอยู่ในตัวออกมา ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ เธอจึงสามารถสร้างผลงานก้องโลกอย่าง “Eat Pray Love” ขึ้นมาได้ ทั้งที่ตอนนั้นเธอเป็นเพียงคนธรรมดาที่ไม่ได้มีพรสวรรค์หรือชื่อเสียงอะไรเลย ไม่ว่าคุณจะอยู่ในแวดวงไหน เคล็ดลับในหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์งานที่ยอดเยี่ยมออกมาได้ตามที่คุณต้องการ!
.
.
📕 5. Bird by Bird: Some Instructions on Writing and Life – Anne Lamott

ชีวิตกับงานเขียนดูจะเป็นการเรียนรู้ที่เคียงข้างกันไป Anne Lamott เป็นนักเขียนเจ้าของผลงานทั้งนวนิยายและเชิงสารคดี หนังสือ Bird by Bird เป็นหนังสือบันทึกประสบการณ์ชีวิตและข้อแนะนำเรื่องการเขียนขึ้นที่ปรุงด้วยอารมณ์ขัน งานเขียนชิ้นนี้พูดถึงประเด็นและประสบการณ์ที่คนเขียนทุกคนเคยเจอ เป็นคำแนะนำว่าเราจะเริ่มเขียนยังไง ดราฟต์แรกมันทุเรศทุรังแค่ไหน ไปจนถึงเจอปัญหาความตัน เขียนไม่ออกจะแก้ไขอย่างไรดี เป็นงานเขียนที่ทำให้เราเข้าใจว่า เราไม่ได้ดิ้นรนกับการเขียนอยู่คนเดียว
.
.
📕 6. The Artist’s Way
The Artist’s Way เขียนในรูปแบบที่คล้ายกับหลักสูตร ซึ่งจะแนะนำแบบฝึกหัดต่างๆ ในช่วง 12 สัปดาห์ที่จะช่วยให้คุณปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ หากคุณกำลังดิ้นรนกับการบล็อกของนักเขียน นี่เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอ่าน หนังสือเล่มนี้ต้องมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน หากคุณไม่พร้อมสำหรับการออกกำลังกายจริง คุณก็จะไม่ได้ประโยชน์จากแบบฝึกหัดนี้มากนัก แต่ถ้าคุณมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ของคุณอีกครั้ง หนังสือเล่มนี้มีกระบวนการทีละขั้นตอนที่มีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อซึ่งจะช่วยให้คุณทำอย่างนั้นได้
.
.
📕 7. Creative Confidence
“ฉันเป็นคนไม่มีความคิดสร้างสรรค์” “ที่เขาทำได้ ก็เพราะเขามีความคิดสร้างสรรค์ยังไงล่ะ” หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบ คำพูดเหล่านี้จะไม่หลุดจากปากคุณอีกต่อไป เพราะจริง ๆ แล้วเราทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัว

หนังสือ “หลักสูตรคิดสร้างสรรค์สำหรับคุณที่ใช้ความคิด” เล่มนี้ จะช่วยให้คุณดึงมันออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ผ่านหลักการและเครื่องมือที่สอนกันในหลักสูตรสุดฮิตของ d.school แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ซึ่งจะช่วยให้คุณเอาชนะสิ่งที่คอยปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของคุณได้ ในแต่ละบทจะมอบเครื่องมือที่จะทำให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้นในการไล่ตามไอเดียใหม่ ๆ รวมทั้งบอกเล่าเรื่องราว วิธีการ และแนวทางปฏิบัติที่กลั่นจากประสบการณ์หลายสิบปี ที่ผู้เขียนได้ร่วมงานกับนักคิดสร้างสรรค์จากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าคุณจะคิดว่าตัวเองเป็นคนที่ “มีความคิดสร้างสรรค์” หรือไม่ เชื่อว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้คุณปลดปล่อยและดึงเอาศักยภาพในการคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวทุกคนออกมาใช้ได้มากขึ้น!
.
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://medium.com

 

ประเภทการพิมพ์ที่นิยมในปัจจุบัน

การพิมพ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทงานพิมพ์จะมีความเหมาะสมและลักษณะของการพิมพ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ถ้าเราเลือกประเภทงานพิมพ์ให้ตรงกับงานหนังสือของเรา ก็จะทำเราได้งานพิมพ์ที่ดี มีคุณภาพ ออกมาสวยงามตรงตามความต้องการ ถูกใจเรา ถูกใจคนอ่านนั่นเอง
.
ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่า เทคโนโลยีการพิมพ์ในปัจจุบัน มีประเภทงานพิมพ์อะไรบ้างที่ยังคงได้รับความนิยมอยู่ โดยเราหาข้อมูลมาให้ทั้งหมด 7 เทคโนโลยี พร้อมยกตัวอย่างการใช้งานมาให้ค่ะ จะมีงานพิมพ์อะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ 😁
.
1. การพิมพ์ออฟเซ็ต หรือ การพิมพ์พื้นราบ
ใช้หลักการน้ำกับน้ำมันไม่รวมตัวกัน นิยมใช้ในการพิมพ์งานคุณภาพสูง เช่น แผ่นพับ ใบปลิว นิยสาร วารสาร การ์ด หนังสือ เป็นต้น
.
2. การพิมพ์เลตเตอร์เพลส
เป็นการพิมพ์พื้นนูน โดยใช้แม่พิมพ์ทำจากโลหะผสมหรือพอลิเมอร์ ตัวพิมพ์จะมีลักษณะนูนสำหรับรับหมึก พิมพ์ลงบนวัตถุโดยวิธีการกดทับ ใช้ในการพิมพ์นามบัตร ฉลาก กล่อง ป้าย หรืองานพิมพ์ที่ต้องการความละเอียด
.
3. การพิมพ์ซิลค์สกรีน
เป็นการพิมพ์พื้นฉลุ โดยใช้หลักการให้สีรอดผ่านรอยฉลุบนผ้าลงสู่วัสดุ ใช้สำหรับพิมพ์นามบัตร บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ป้าย กระดาษ พลาสติก โลหะ เสื้อผ้า ขวด จานชาม และชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ
.
4. การพิมพ์ดิจิตอล
เป็นการต่อเครื่องพิมพ์และสั่งพิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์ การพิมพ์แบบดิจิตอลได้รับความนิยมมาก เหมาะกับงานพิมพ์ที่มีปริมาณไม่มาก
.
5. การพิมพ์เฟล็กโซกราฟี
เป็นการพิมพ์พื้นนูน โดยใช้แผ่นพอลิเมอร์ที่มีความยืดหยุ่นเป็นแม่พิมพ์ ใช้หลักการคล้ายเลตเตอร์เพลสใช้พิมพ์งานประเภทกล่องลูกฟูก กล่องกระดาษแข็ง ฉลากต่างๆ ป้าย ถุง ซองพลาสติก
.
6. การพิมพ์กราวัวร์
เป็นการพิมพ์พื้นลึกที่ใช้แม่พิมพ์แบบเป็นล่องลึก ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา แต่จะได้งานพิมพ์คุณภาพดี จึงเหมาะกับงานยาวๆ อย่างซองพลาสติกต่างๆ
.
7. การพิมพ์อิงค์เจ็ท
เป็นงานพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก โดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อสั่งพิมพ์ตัวเครื่องจะคำนวณตำแหน่งจุดของภาพรวม และพ่นสีหมึกที่ประมวลผลไว้อย่างแม่นยำตามรูปแบบไฟล์งานที่ใส่เข้าไป ทำให้ภาพออกมาชัดเจนและคมชัด เช่น ป้ายแบนเนอร์ โปสเตอร์ ป้ายโฆษณา บิลบอร์ด โฆษณาติดข้างรถต่างๆ ตลอดจนงานพิมพ์ตกแต่งตามอีเว้นท์ต่างๆ
.
นี่เป็น 7 การพิมพ์ที่ยังนิยมอยู่ในปัจจุบันในงานพิมพ์ค่ะ ซึ่งก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ในส่วนของการทำหนังสือด้วยเช่นกัน อยากให้ทุกท่านได้ลองศึกษากันนะคะ

“หน้ายก” ของหนังสือ คืออะไร รายละเอียดเล็กๆ แต่สำคัญมาก

การพิมพ์หนังสือ 1 เล่ม มีขั้นตอนมากมายที่จะต้องใส่ใจ เพราะหนังสือแต่ละประเภทต่างก็ต้องมีมาตรฐานการพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระดาษที่ได้สัดส่วนของงานพิมพ์ ขนาดกับความหนาที่ต่างกัน และยังรวมไปถึงการใช้ขนาดหน้ายกของหนังสือแต่ละประเภทที่ถูกต้องตรงขนาดของงานพิมพ์
.
ซึ่งเราเชื่อว่า ยังมีหลาย ๆ คน อาจยังไม่รู้ว่า หน้ายก คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรกับงานพิมพ์ วันนี้เราจะพาคุณไปหาคำตอบกันค่ะ
.
.
“หน้ายก” ของหนังสือคืออะไร
หน้ายก คือ ภาษาของการพิมพ์เพื่อแสดงขนาดและความหนาหนังสือตามปริมาณกระดาษ โดยการพิมพ์หนังสือเล่มจะพิมพ์ลงกระดาษแผ่นใหญ่ในแม่พิมพ์หรือเพลททีละกรอบ ซึ่งกระดาษแต่ละแผ่นจัดหน้าจำนวนกี่หน้า ก็นับจำนวนหน้าใน 1 เพลทเป็น 1 ยก ทั้งนี้หน้ายก อาจจะต้องมีตัวเลขนำหน้าเสมอ เพื่อแสดงว่าหนังสือเล่มนั้นมีขนาดเท่าใด เช่น 8 หน้ายก, 16 หน้ายก, 32 หน้ายก, 64 หน้ายก แต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดกระดาษและการพับด้วย
.
การพิมพ์หนังสือในโรงพิมพ์ หน้ายกคือจำนวนหน้าที่ได้จากการพับแผ่นพิมพ์ 1 แผ่น ซึ่งมีขนาด 15.5 x 21.5 นิ้ว หรือ 17.5 x 24 นิ้ว
หากพับ 1 ครั้งได้ 4 หน้า เรียก 4 หน้ายก
หากพับ 2 ครั้งได้ 8 หน้า เรียก 8 หน้ายก
หากพับ 3 ครั้งได้ 16 หน้า เรียก 16 หน้ายก
หากพับ 4 ครั้งได้ 32 หน้า เรียก 32 หน้ายก
.
.
#ขนาดหน้ายกของหนังสือทั่วไป
1 หน้ายก ขนาดคือ 31” x 43”
4 หน้ายก ขนาดคือ 14.5” x 22.5”
8 หน้ายก ขนาดคือ 7.5” x 10.25”
16 หน้ายก ขนาดคือ 5” x 7.25”
32 หน้ายก ขนาดคือ 3” x 4.5”
.
.
#ขนาดของหนังสือ
ขนาด 8 หน้ายก เป็นขนาดที่ใช้กันทั่วไปในการพิมพ์หนังสือเรียน ด้วยการใช้กระดาษขนาด 31 x 43 นิ้วมาตัดลงพิมพ์ และพับได้ลงตัวพอดี

ขนาด A4 เป็นขนาดมาตรฐานตามที่องค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดใช้กระดาษ 24 x 35 นิ้ว พิมพ์ และพับได้ลงตัวพอดี เรียกว่า ขนาด 8 หน้ายกพิเศษ

ขนาด 16 หน้ายก เป็นขนาดที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขนาดพ๊อกเกตบุ๊ค นิยมพิมพ์เป็นคู่มือ ด้วยการใช้กระดาษขนาด 5 x 7 นิ้ว หรือขนาด A5 หรือ A4 พับครึ่ง

ขนาดของวารสาร นิตยสาร มีขนาดไม่แน่นอนนัก อาจใช้ขนาด 8.5 x 11.5 นิ้ว จะมีขนาดใกล้เคียงกับขนาด A4
.
.
นี่ก็คือข้อมูล “หน้ายก” ของหนังสือ ซึ่งเป็นรายละเอียดเล็กๆ แต่สำคัญมากสำหรับการทำหนังสือ ผู้เริ่มเขียนทั้งหลายต้องเรียนรู้ไว้ค่ะ งานของเราจะได้ออกมาอย่างสมบูรณ์มากที่สุดค่ะ

การนับสีในงานพิมพ์เขานับกันอย่างไร

เราจะรู้ได้ยังไงว่า งานที่เราพิมพ์นั้นมีกี่สี บางคนไม่ทราบวิธีนับสีก็จะตกใจ คิดว่ามีสี เยอะมากเป็นสิบเป็นร้อยสี กลัวราคาจะสูงเพราะว่าสีมีผลต่อราคาค่าพิมพ์ต่อหน่วย
.
ดังนั้นวันนี้เราจะพาไปรู้จักวิธีการนับสีในงานพิมพ์ว่า การนับสีในงานพิมพ์เขานับกันอย่างไรค่ะ
.
จริงๆ แล้ว การนับสีมีหลักการอยู่ว่า 1 เพลท คือ 1 สี เพราะภาพต่าง ๆ ที่เราเห็นจะใช้แค่ 4 เพลท หรือที่เรียกกันว่างาน 4 สี โดยใช้หลักเดียวกันกับการผสมสี แม่สี 3 สี และจะมีสีดำอีกหนึ่งเป็น 4 ผสมกันวาดเป็นภาพเหมือนจริงได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีสีพิเศษเพิ่มเข้ามาตามความต้องการการใช้งานอีกด้วย โดยจะประกอบไปด้วย สีเงิน สีทอง ซึ่งจะต้องเพิ่มเพลทมา 1 เพลท หรือนับเพิ่มเป็น 1 สี นั่นเอง
.
พิมพ์ 1 สี หรือ การพิมพ์สีเดียว
ส่วนใหญ่จะเป็นงานพิมพ์ขาว ดำ ซึ่งการพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นสีกันทั่วไป ทั้งนี้งานพิมพ์สีเดียวไม่จำเป็นจะต้องใช้แค่สีขาวกับดำ แต่จะพิมพ์เป็นสีเขียว เหลือง แดง น้ำเงิน ก็ได้เช่นกัน และในสีที่พิมพ์นั้นยังสามารถทำเป็นหลายระดับ ตั้งแต่อ่อนไปจนถึงเข้มทำให้ดูเหมือนว่ามีหลายสี อย่างเช่น การเลือกสีน้ำเงินในการพิมพ์กระดาษขาว ก็จะไล่สีน้ำเงินเข้มไปจนสีอ่อนก็จะดูเหมือนมีสีฟ้า สีคราม ในงานเดียวกันได้ ทั้งนี้งานพิมพ์สีเดียวที่นิยม คือ หนังสือเรียน หนังสือเล่ม พ็อกเก็ตบุ๊ค แต่จะเป็นเนื้อหาข้างใน ไม่ใช่ปก และการพิมพ์ 1 สี จะมีต้นทุนต่ำที่สุด
.
พิมพ์ 2 สี และ 3 สี
เพิ่มความสนใจ ความสวยงามให้งานพิมพ์น่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น ซึ่งพิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี ส่วนใหญ่จะนิยม 2 สี เช่น ดำกับแดง ดำกับน้ำเงิน เขียวกับเหลือง หรือจะเป็นคู่สีอะไรอื่น โดยค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นอีกนิดหนึ่ง เพราะโรงพิมพ์จะต้องเพิ่มเพลทตามจำนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วย งานพิมพ์ที่เหมาะสำหรับพิมพ์สีพิเศษ เช่น สมุดโน้ต สติ๊กเกอร์ทั่วไป ถุงกระดาษ ซองเอกสาร เป็นต้น
.
พิมพ์ 4 สี (แบบสอดสี)
จะทำให้ได้สีที่เหมือนกับรูปแบบหรือต้นฉบับที่เราต้องการ ซึ่งจะเป็นภาพที่มีสีสันสวยงามเหมือนกับที่ตาเราเห็น ในส่วนวิธีการพิมพ์ 4 สี จะใช้สี CMYK (สีดำ แดง เหลือง น้ำเงิน) โดยพิมพ์ผสมกันออกมาจะได้หลายสี แต่จะมีความยุ่งยากกว่าทั้ง 2 แบบแรก จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้เพลท 4 ตัว แล้วต้องพิมพ์ 4 รอบ สิ่งพิมพ์ส่วนมากที่นิยมใช้การพิมพ์ 4 สี อย่างเช่น ทำปกโปสเตอร์ ทำปกวารสาร หน้าแฟชั่นในนิตยสาร ฯลฯ
.
พิมพ์สีพิเศษ
อย่างเช่น สีทอง สีเงิน และสีสะทองแสง ซึ่งสีพิเศษคือสีที่ไม่สามารถผสมระหว่างสีได้ โดยเฉดสีทองและเฉดสีเงินก็จะมีความแตกต่างกัน สีเทาจะให้ความเงาและด้านต่างกัน ในส่วนของสีเงินจะมีเงินมันวาวกับเงินด้าน ดังนั้นการพิมพ์สีพิเศษนั้น จะต้องทำเพลทเพิ่มขึ้นตามจำนวนสีอีกเช่นเดียวกัน งานพิมพ์ที่เหมาะสำหรับพิมพ์สีพิเศษ เช่น ใบปลิว แผ่นพับ หนังสือ กล่องบรรจุภัณฑ์ ปฏิทิน การ์ด โปสเตอร์ ถุงกระดาษ เป็นต้น
.
เมื่อเรารู้วิธีการนับสีในงานพิมพ์แล้ว จะทำให้เราสามารถเลือกการพิมพ์สีได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และสามารถรู้ว่าราคาแต่ละแบบมีความแตกต่างกันเท่าไร ทั้งยังทำให้เราได้งานที่ดี มีคุณภาพ ตามแบบที่เราต้องการอีกด้วยค่ะ

ความเหมาะสมของหนังสือ 1 เล่ม ควรมีกี่หน้า

สำหรับใครที่สนใจอยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง หรือกำลังเก็บเกี่ยวข้อมูลของการเริ่มทำหนังสือ เพื่อนำหนังสือมาเก็บไว้อ่านเองหรือจะนำไปขายต่อยอดไปเป็นรายได้ แต่ยังไม่รู้ว่าจะออกแบบให้มีจำนวนหน้ามากน้อยเท่าไหร่ดีถึงจะเหมาะกับหนังสือของเรา
.
วันนี้เราจึงอยากนำข้อมูลว่า ความเหมาะสมของหนังสือ 1 เล่ม ควรมีกี่หน้า มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ
.
การพิมพ์หนังสือ 1 เล่ม หรือมากกว่า 1 เล่ม ไม่ได้มีกระบวนการผลิตแบบการถ่ายเอกสารออกมาจากเครื่องพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือขนาดใดก็ตาม ซึ่งความจริงแล้วการพิมพ์หนังสือจะนิยมใช้กระดาษขนาดใหญ่มากๆ โดยขนาดแต่ละแผ่นจะประมาณ 24 x 35″ หรือ 31 x 43″ หลังจากนั้นนำเข้าไปในแท่นพิมพ์ในครั้งเดียวเพื่อการผลิตในจำนวนมาก ซึ่งสามารถประหยัดเวลาลงมาได้
.
กระดาษขนาดใหญ่มากๆ จะเรียกว่า ยก ซึ่งภายใน 1 ยก หรือ 1 กระดาษแผ่นใหญ่มากๆ จะสามารถแบ่งพื้นที่ให้กับหน้าหนังสือได้มากมาย เช่น ถ้าไซส์ของกระดาษแผ่นเล็ก คือ A5 หรือเทียบเท่ากับขนาด 16 หน้ายกพิเศษ (14.5 x 21 cm) แล้วใน 1 ยกที่ถูกพิมพ์ออกมา จะได้หนังสือ 16 หน้าเล็กๆ ในแผ่นเดียวกัน
.
แล้วหนังสือควรมีกี่หน้า อย่างแรกเราต้องถามตัวเองก่อนว่า เราจะเขียนหนังสือประเภทอะไร อยากได้หนังสือขนาดเท่าไร อย่างเช่น อยากได้หนังสือแบบนิยายทั่วๆ ไปที่ขายตามท้องตลาด ก็จะเป็นขนาด 16 หน้ายกพิเศษ (14.5×21 cm)
.
ดังนั้นจำนวนหน้าทั้งหมด ควรเป็นจำนวนที่ 16 หารลงตัว เช่น 16 หน้า 32 หน้า 48 หน้า 64 หน้า ซึ่งเอาสูตรคูณแม่ 16 มาคูณได้เรื่อยๆ เป็นต้น นั่นก็เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างจนกลายเป็นการสิ้นเปลืองกระดาษ และเป็นการเปลืองงบการจัดพิมพ์โดยไม่จำเป็นอีกด้วย
.
.
#วิธีการคำนวณจำนวนหน้ายก
จำนวนหน้ายก = จำนวนหน้าเล็กทั้งหมด / ขนาดหน้ายก
(โดยเศษจะต้องเหลือ 0 เพื่อความคุ้มค่าของการพิมพ์)
.
.
#ขนาดหน้ายกของหนังสือทั่วไป
1 หน้ายก ขนาดประมาณ 31” X 43”
4 หน้ายก ขนาดประมาณ 14.5” X 22.5”
8 หน้ายก ขนาดประมาณ 7.5” X 10.25”
16 หน้ายก ขนาดประมาณ 5” X 7.25”
32 หน้ายก ขนาดประมาณ 3” X 4.5
.
นี่เป็นข้อมูลเบื้องต้นของการทำหนังสือ 1 เล่มค่ะ

แบบไหนที่คุณเป็น? 10 ประเภทของนักอ่าน

แบบไหนที่คุณเป็น?
10 ประเภทของนักอ่าน
.
1. The Hate Reader
คุณเป็นคนประเภทอารมณ์ร้าย กระหายในการอ่าน หรือหากจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น คุณคือคนที่อ่านแล้วจะตำหนิติเตียนผู้แต่งตลอดเวลา คุณคาดหวังจะให้เนื้อเรื่องเป็นไปตามใจ อ่านไปแล้วก็ตั้งข้อสงสัยอยู่เสมอ เป็นประเภทที่ยิ่งอ่านยิ่งฉุนเฉียว แต่มันเพิ่มอรรถรสในการอ่านให้คุณอย่างมาก
.
2. The Chronological Reader
คุณเป็นคนประเภทอ่านไปตามลำดับ ค่อยเป็นค่อยไป ช้าแต่มั่นคง คุณเป็นประเภทซื้อหนังสือมาแล้วไม่ตั้งกองไว้เฉยๆ แต่จะอ่านมันทุกเล่ม คุณอ่านหนังสือแต่ละเล่มอย่างมีแบบแผนและเหตุผล แต่ถ้าคุณเกิดเบื่อขึ้นมาทิ้งมันไว้เฉยๆ ลึกๆ ในใจคุณจะไม่สบายใจ จนในที่สุดก็จะไปหยิบมันมาอ่านจนจบ
.
3. The Book-Buster
ห้องของคุณเต็มไปด้วยหนังสือ แต่ก็ไม่ได้ถูกจัดวางในที่ที่มันควรอยู่ แต่คุณคือคนที่ชอบอ่านหนังสือและรักหนังสือมากคนหนึ่ง คุณอาจจะนอนกอดหนังสือ เอามันไปอ่านในห้องน้ำ อ่านไปซะทุกที่ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตาม
.
4. Delayed Onset Reader 1
คุณเป็นประเภทที่เดินผ่านร้านหนังสือไม่ได้ จะต้องเข้าไปดูและซื้อมันอย่างน้อยหนึ่งเล่ม แล้วพอถึงบ้านคุณก็เก็บมันไว้ แล้วก็อาจลืมไปเลยว่าเคยซื้อเล่มนี้มา คุณมองหนังสือเป็นเหมือนเฟอร์นิเจอร์ประดับห้อง คุณอยากอ่านมัน แต่พอหยิบมาอ่านทีไรคุณก็มีเหตุผลทุกทีว่าฉันยุ่ง ฉันไม่ว่าง ฉันไม่มีเวลาอ่านมัน สุดท้ายหนังสือที่ซื้อมาก็กองอยู่ตรงนั้นไม่ได้อ่านสักที แต่ถ้าวันไหนคุณตัดสินใจหยิบมันขึ้นมาคุณก็พบว่ามันสนุกจนวางไม่ลงเลยทีเดียว เป็นผู้อ่านประเภทที่ต้องบิ้วอารมณ์ตัวเองนานหน่อย
.
5. Delayed Onset Reader 2
คุณไม่ใช่นักอ่าน แต่คุณซื้อหนังสือมาเพื่อที่จะโชว์ว่าคุณมีนะ หากคุณเป็นคนที่ร่ำรวยคุณอาจทำห้องสมุดสวยๆ ขึ้นมาเพื่อไว้โชว์หนังสือต่างๆ ที่คุณมีเลยก็ว่าได้ แต่จะซื้อมาโชว์ทำไมถ้าคุณไม่ได้อ่าน หนังสือก็หมดความหมายหรือเปล่า พิจารณาให้ดีว่าคุณได้อ่านมันบ้างหรือยัง อ่านเถอะ หนังสือรอคุณเปิดมันอยู่
.
6. The Bookphile
ไม่ใช่แค่รักการอ่าน แต่คุณเป็นคนที่รักหนังสือ กลิ่นของหนังสือเก่าๆ มันยั่วยวนจิตใจของคุณมาก คุณรักหนังสือมากกว่าสิ่งอืนใด ชอบที่ได้สะสมหนังสือเก่าๆ ใครพับมุมกระดาษของหนังสือที่ยืมคุณไป คุณอาจโกรธอยู่หลายวันหลายคืนทีเดียวล่ะ
.
7. The Anti-Reader
คุณคือคนประเภทที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ด้วยเหตุผลที่ว่ามันยาวเกินไป คุณกลัวการอ่านอะไรยาวๆ แม้กระทั่งพวกบล็อกหรือบทความต่างๆ แต่คุณรู้ไหมว่า ชีวิตที่ขาดการอ่านหนังสือมันเป็นชีวิตที่น่าเศร้าจริงๆ นะ เราแนะนำให้คุณเริ่มต้นด้วยการอ่านอะไรสั้นๆ ง่ายๆ ลองเข้าไปในร้านหนังสือ หยิบหนังสือเล่มบางๆ ขึ้นมาพลิกดู เปิดผ่านหน้าแต่ละหน้าแล้วคุณจะพบว่ามันก็จะมีอีกด้านของชีวิตที่น่าสนใจรออยู่
.
8. The Cross-Under
คุณเป็นคนที่โตมากับการอ่านหนังสือเด็ก หรือไม่ก็เป็นเด็กที่อ่านหนังสือผู้ใหญ่ คุณไม่มีกฏเกณฑ์ในการอ่าน ตอนสมัยคุณเด็กๆ เวลาที่คุณไปยืมหนังสือในห้องสมุด บรรณารักษ์อาจเคยกล่าวกับคุณว่าหนังสือเล่มนี้มันยากเกินกว่าที่เธอจะเข้าใจนะ แต่ก็เหอะใช่ว่าคุณจะสนใจคำตักเตือนนั้น นำมันไปอ่านทั้งๆ ท้ายที่สุดอาจไม่ได้อะไรจากมันก็ตามที หากคุณเป็นคนประเภทนี้คุณคือผู้ที่มีความคิดเป็นอิสระอย่างแท้จริง
.
9. The Multi-Tasker
คุณเป็นนักอ่านหนังสือนะ แต่จะอ่านมันไม่เคยจบเล่มเลย คุณอาจเตรียมหนังสือดีๆ สักเล่มไว้อ่านแต่อ่านไปอ่านมาคุณอาจจะต้องไปทำงานที่ค้างอยู่ หรือกำลังอ่านอยู่ดีๆ ก็ต้องไปกินข้าว ซักผ้า หรือทำอะไรสารพัดอย่างจนขัดจังหวะการอ่านของตัวเอง ทำให้เกิดอาการต่อไม่ติด ไม่อินกับคาแรคเตอร์ สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนเล่มใหม่ทั้งที่ยังอ่านไม่ทันจะจบเล่มเลย วิธีการอ่านเรื่องยาวอาจไม่เหมาะกับคุณ แต่หากคุณมีลักษณะการอ่านแบบนี้คุณจะเป็นคนที่สามารถทำเรื่องงานและเรื่องรักให้ดีได้ในเวลาเดียวกัน
.
10. The Sleepy Bedtime Reader
ช่วงเวลาก่อนนอนเป็นเวลาเดียวที่คุณอยากจะอ่านหนังสือ มีหนังสือวางอยู่ข้างเตียงตลอดเวลา แต่เมื่อคุณเริ่มเปิดอ่านทีไร คุณก็จะหลับไปอย่างไม่รู้ตัว และตื่นมาพร้อมกับมีหนังสือกองอยู่ที่เตียง หรือไม่ก็วางอยู่บนหน้าของคุณ เป็นเรื่องที่น่าอายอยู่เหมือนกัน อย่าให้ใครรู้เชียวล่ะว่าหนังสือที่มีอยู่เต็มบ้านนั้นคุณอ่านไม่จบสักที
.
แล้วคุณล่ะคะ เป็นแบบไหนใน 10 ข้อนี้

รู้จักประเภทกระดาษที่นิยมใช้การพิมพ์หนังสือ

หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า กระดาษที่ใช้ในการผลิตหนังสือมีกี่ประเภท อะไรบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกันค่ะ
.
กระดาษปอนด์
เป็นกระดาษที่มีความหนาอยู่ที่ 80 – 120 แกรม มีสีขาว เนื้อเรียบ เป็นประเภทกระดาษมาตรฐานที่นิยมนำมาใช้พิมพ์หนังสือโดยทั่วไป ราคาไม่แพงมาก เหมาะกับงานพิมพ์หนังสือหลายประเภท
.
กระดาษถนอมสายตา
เรามักจะได้เห็นกระดาษถนอมสายตาในหนังสือนิยาย หรือหนังสือที่มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ เพราะกระดาษประเภทนี้เป็นกระดาษที่ช่วยถนอมสายตาขณะอ่าน และยังช่วยลดแสงสะท้อนที่เป็นการรบกวนสายตาอีกด้วย เนื้อกระดาษเป็นสีเหลืองนวลอ่อนๆ ทำให้รู้สึกสบายตา ความหนามาตรฐานของกระดาษถนอมสายตาจะอยู่ที่ 75 แกรม ราคาสูงกว่ากระดาษปอนด์ไม่มาก
.
กระดาษอาร์ต
เป็นกระดาษที่มีราคาแพงกว่ากระดาษปอนด์และกระดาษถนอมสายตา เพราะเป็นกระดาษที่มีคุณสมบัติดีที่สุด เหมาะกับการนำไปใช้พิมพ์หนังสือ ปกหนังสือ โบรชัวร์ โปสเตอร์ ฯลฯ มีความหนาตั้งแต่ 85 – 190 แกรมขึ้นไป โดยกระดาษอาร์ตจะแบ่งออกเป็นอาร์ตมัน อาร์ตด้าน และอาร์ตการ์ด
• กระดาษอาร์ตมัน มีความหนาตั้งแต่ 85 – 160 แกรม ผิวกระดาษจะเป็นมันเงา ทำให้งานที่พิมพ์ออกมามีความใกล้เคียงกับสีจริง
• กระดาษอาร์ตด้าน มีความหนาตั้งแต่ 85 – 160 แกรม ผิวกระดาษเรียบและมีความด้าน ไม่มันเงา เมื่อพิมพ์งานออกมาสีที่ได้จะไม่สดเท่ากับกระดาษอาร์ตมัน
• กระดาษอาร์ตการ์ดแบบ 1 หน้า มีความหนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้พิมพ์หนังสือที่ต้องการความหนาเป็นพิเศษ สามารถพิมพ์อาร์ตหน้าเดียวได้
• กระดาษอาร์ตการ์ดแบบ 2 หน้า มีความหนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้พิมพ์หนังสือที่ต้องการความหนาเป็นพิเศษ สามารถพิมพ์อาร์ตได้ทั้ง 2 หน้า (หน้า-หลัง)
.
ทั้งหมดคือกระดาษที่นิยมใช้ในการพิมพ์หนังสือ ซึ่งกระดาษแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป หากต้องการพิมพ์หนังสือก็สามารถเลือกกระดาษได้ตามจุดประสงค์ของการใช้งานและตามความต้องการได้ค่ะ
 

ว่าด้วยเรื่อง ‘ดินสอ’ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้ประวัติ

‘ดินสอ’ หนึ่งในเครื่องเขียนต้นๆ ที่เราต่างเคยใช้ขีดเขียน วาดภาพ แรเงา คอยให้ความสะดวกสบายแก่เราในหลายๆ เรื่อง
.
แต่จะมีใครในที่นี้รู้บ้างล่ะคะว่า ดินสอนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากตรงไหน มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง จนพัฒนามาเป็นเครื่องเขียนให้เราใช้ขีดเขียน จดบันทึก มาจนถึงทุกวันนี้
.
ถ้าอยากรู้… สยามจุลละมณฑลจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
.
.
#จุดกำเนิดและประวัติของดินสอ เริ่มเมื่อประมาณ 400 กว่าปีก่อน
.
ในปี ค.ศ.1564 เกิดเหตุพายุใหญ่ในทุ่งเลี้ยงแกะ ที่ประเทศอังกฤษ ต้นไม้ถูกพายุพัดถอนรากถอนโคนเป็นจำนวนมาก เมื่อพายุสงบ ชาวบ้านพบหินสีดำอยู่ใต้ดิน ณ บริเวณรากของต้นไม้ที่โค่นล้ม หลังจากทดลองนำมาขีดเขียน ปรากฏว่ามีความคมชัดดี ไม่ต่างจากน้ำหมึก คนเลี้ยงแกะจึงนำมาเขียนสัญลักษณ์ลงบนตัวแกะ จากนั้นจึงมีการนำมาใช้เรื่อยๆ ไม่ว่าจะทำเครื่องหมายบนสินค้าเพื่อบอกรายละเอียดอย่างชนิด จำนวน และราคาของสินค้านั้นๆ
.
ซึ่งหินสีดำที่ค้นพบในครั้งนั้นคือ แกรไฟต์ (Graphite เป็นคาร์บอนชนิดหนึ่ง) จึงเรียกได้ว่านี่เป็นการค้นพบวัสดุที่ใช้ทำไส้ดินสอได้ดีโดยบังเอิญก็ว่าได้
.
.
แกรไฟต์ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งใช้เขียนใช้วาด หรือแม้แต่เป็นส่วนผสมในกระสุนปืนใหญ่ เนื่องจากช่วงเวลานั้นมีสงครามน้อยใหญ่มากมายเกิดขึ้นในยุโรป จนในที่สุดแกรไฟต์ก็ขาดตลาด
.
กระทั่งในปี ค.ศ.1795 นิโคลาส แจ็ก คอนเต้ หัวหน้านักเคมีและนักประดิษฐ์ชั้นแนวหน้าของฝรั่งเศส ค้นพบวิธีการบดแกรไฟต์โดยนำมันมาผสมเข้ากับดินเหนียวและน้ำ ทำให้คล้ายก้อนแป้งเปียก ก่อนจะนำไปกดลงแม่พิมพ์แล้วเผา
.
ซึ่งในยุคแรกแท่งแกรไฟต์จะถูกใช้แบบเพียวๆ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความสกปรกเลอะเทอะ คนยุคนั้นจึงมักใช้เชือก กระดาษ หรือผ้า พันแกรไฟต์ไว้ก่อนจะเขียน ภายหลังมีการคิดค้นวิธีการนำไม้มาประกบเข้ากับไส้ดินสอ มนุษย์จึงเริ่มมีดินสอไม้ที่กลายเป็นต้นตำรับของดินสอมาจนถึงปัจจุบัน
.
.
และนี่เป็นสรุปสั้นๆ ที่ทางเรานำมาเล่าให้ทุกคนได้รู้ถึงจุดกำเนิด ที่มาที่ไปของเจ้าดินสอที่เราใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ

สรุป 11 ขั้นตอน เขียนหนังสือเริ่มต้น สำหรับมือใหม่

หนังสือเรื่อง How to Write A Book ของ David Kadavy เป็นหนังสือสั้นๆ ที่อธิบายวิธีการเขียนหนังสือแบบเป็นขั้นตอนสำหรับมือใหม่ สยามจุลละมณฑลจึงขอสรุปเนื้อหาสำคัญมาให้อ่านกันค่ะ
.
สรุป 11 ขั้นตอน เขียนหนังสือเริ่มต้นสำหรับมือใหม่ จากหนังสือ How to Write A Book
.
1. สร้างนิสัยการเขียนแบบน้อยๆ
เริ่มด้วยการเขียนทุกวันหรือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยแบ่งเวลา 10 นาทีในการเขียนทุกวัน จนกระทั่งเป็นนิสัย
*สิ่งสำคัญคือ เริ่มต้นน้อยๆ ก่อน อย่าฝืนตัวเอง เพราะการเขียนน้อยๆ จะทำให้เราไม่มีข้อแก้ตัวในการไม่เขียน
.
2. รู้ว่าหนังสือคืออะไร
หนังสือคือผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่ง ผลิตภัณฑ์คือสิ่งของที่ลูกค้าซื้อเพื่อทำงานบางอย่าง ดังนั้นนักเขียนควรเข้าใจหนังสืออย่างแท้จริง
.
3. สร้างนิสัยการเผยแพร่งานเขียน
หลังจากที่เขียนจนเป็นนิสัยแล้ว ก็เริ่มเผยแพร่งานเขียนของตนเองด้วยการ publish งานเขียนใน Medium.com
.
4. สร้าง Email List
การสร้าง email list จะทำให้เรามีกลุ่มผู้อ่านที่จะติดตามงานเขียนของเราทาง email โดยอาจมีของขวัญมอบให้ผู้สมัครใน mailing list เช่น บทความพิเศษ หนังสือแจกฟรี
.
5. ตั้งชื่อหนังสือที่ขายได้
การตั้งชื่อหนังสือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมีสิ่งที่ต้องพิจารณา เช่น เป็นคำที่เข้าใจง่ายหรือไม่ ชื่อเรื่องมีความหมายแอบแฝงหรือไม่ คนอ่านกล้าหยิบหนังสือเรื่องนี้มาอ่านหรือบอกคนอื่นว่าอ่านเรื่องนี้หรือไม่
.
6. เขียนโครงร่างหนังสือ
เขียนโครงร่างหรือบทต่างๆ ของหนังสือ ซึ่งอาจต้องลองเขียนหลายครั้ง จนกว่าจะได้โครงร่างหนังสือที่เหมาะสมในที่สุด เราจะได้โครงร่างหนังสือที่พร้อมจะเขียนเป็นฉบับร่าง
.
7. เขียนฉบับร่างครั้งแรก
วางแผนว่า แต่ละวันจะเขียนกี่คำ กำหนดตารางเวลาที่แน่นอน และทำตามกำหนดการให้ได้ในฉบับร่างครั้งแรก อาจเขียนบทละ 250 – 500 คำ ซึ่งสำหรับคนที่เขียนสม่ำเสมอแล้ว จะไม่ใช่เรื่องยาก
.
8. อ่านฉบับร่างครั้งแรก
เมื่อเขียนฉบับร่างครั้งแรกเสร็จแล้วก็พิมพ์บนกระดาษ จะทำให้เราภูมิใจที่ได้เห็นงานเขียนของเราเป็นรูปธรรมหรือจับต้องได้ จากนั้น อ่านงานเขียนทั้งหมดเพื่อให้เห็นภาพรวมของการเขียนทั้งหมด แล้วหยุดไปทำอย่างอื่น โดยไม่แตะต้องต้นฉบับอีกหลายวันหรือหลายสัปดาห์
.
9. ปรับปรุงโครงร่างหนังสือ
เมื่อกลับมาดูฉบับร่างอีกครั้ง เราอาจเกิดไอเดียใหม่ในการปรับปรุงโครงร่างหนังสืออีกครั้ง อาจตัดบางอย่างหรือเพิ่มเนื้อหาบางอย่าง
.
10. เขียนฉบับร่างครั้งที่สอง
ถึงเวลาปรับปรุงฉบับร่างครั้งแรกอีกครั้ง โดยดูที่โครงร่างของหนังสือ ประโยคของแต่ละบทและเรื่องเล่าประกอบของแต่ละบท เพื่อทำให้หนังสือน่าสนใจมากขึ้น
.
11. เขียนฉบับร่างครั้งสุดท้าย
หาบรรณาธิการเพื่อช่วยตรวจหนังสือ หาคำผิดต่างๆ และถึงเวลาของนักเขียนที่ต้องยอมรับว่า หนังสือที่เขียนอาจจะไม่สมบูรณ์ 100 % แต่แทนที่จะเสียเวลาอีกหลายเดือนในการปรับปรุงหนังสือ การตีพิมพ์หรือเผยแพร่หนังสือตอนนี้อาจจะดีกว่าเพราะเรายังเขียนหนังสือเล่มอื่นที่ดีกว่านี้ได้เสมอ

นิยามของ ‘หนังสือเล่ม’ ทางวิชาการคืออะไร

นิยามของ ‘หนังสือเล่ม’ ทางวิชาการคืออะไร

 
‘รูปแบบ’ และ ‘การเผยแพร่’ อุปสรรคของคนอยากอัพตำแหน่ง
 
หากเราอ้างอิงข้อมูลจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ในเรื่องประเภทของผลงานทางวิชาการ สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ จะมีด้วยกันอยู่ 4 กลุ่มใหญ่ๆ ก็คือ
 
1. งานวิจัย
2. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นๆ
3. ผลงานวิชาการรับใช้สังคม
4. ตำรา / หนังสือ / บทความทางวิชาการ
 
แน่นอนว่าอาจารย์หรือนักวิชาการท่านไหนที่อยากจะเติบโตก้าวหน้าในตำแหน่งทางวิชาการก็ล้วนแล้วแต่ต้องเดินผ่านเส้นทางของการทำผลงานวิชการไม่รูปแบบใดก็รูปหนึ่ง หรือบางท่านอาจจะทำมากกว่า 1 รูปแบบด้วยซ้ำ
 
โดยหนึ่งในรูปแบบที่นิยมทำกันมากก็คือ ‘หนังสือ’ หรือที่เรียกกันว่า ‘หนังสือเล่มทางวิชาการ’ เพราะนอกจากจะสามารถใช้เพื่อความก้าวหน้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ผลงานของนักวิชาการที่พัฒนาขึ้นมาก็ยังสามารถนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวนักวิชาการเองอีกด้วย ซึ่งในมุมหนึ่งก็สะท้อนถึงการยอมรับที่มีต่อผลงานของนักวิชาการคนนั้นๆ ไปด้วย ตรงนี้จะต่อยอดจนนำไปสู่การใช้เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการพัฒนางานวิชาการสำหรับนักวิชาการท่านอื่นๆ รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของภาคเอกชน และศึกษาค้นคว้าเพื่อเรียนรู้ของนักศึกษาทั่วโลก
 
โดยนิยามของ ‘หนังสือ’ ที่อ้างอิงจากทาง ก.พ.อ.
 
“งานวิชาการที่เกิดจากการค้นคว้าศึกษาความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างรอบด้านและลึกซึ้ง มีการวิเคราะห์ สงเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยมโนทัศน์หลักที่เป็นแกนกลางและมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กัน มีความละเอียดลึกซึ้ง ใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ ให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาของหนังสือไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง”
 
ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือเป็นสิ่งที่นักวิชาการหรืออาจารย์จำนวนมากมีความถนัดอยู่แล้ว เพราะได้ทำการค้นคว้าศึกษามาอย่างลึกซึ้งทำให้พวกเขามีข้อมูลมากพอที่จะเขียนหรือเล่าเรื่องได้สบาย
 
แต่ปัญหาของนักวิชาการส่วนใหญ่จะไปติดอยู่ตรงส่วนของ ‘รูปแบบ’ และ ‘การเผยแพร่’ ซึ่งนิยามของทาง ก.พ.อ. คือ
 

รูปแบบหนังสือวิชาการ

เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิง บรรณานุกรม และดัชนีค้นคำที่ทันสมัยและครบถ้วนสมบูรณ์ โดยอาจมีข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบด้วยก็ได้ ตามรูปแบบอยาางใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
 
1. เป็นงานที่นักวิชาการเขียนทั้งเล่ม (Authored book)
2. เป็นงานวิชาการบางบทหรือส่วนหนึ่งในหนังสือที่มีผู้เขียนหลายคน (Book chapter)
 

การเผยแพร่หนังสือวิชาการ

1. การเผยแพรด้วยวิธีการพิมพ์
2. การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อาทิ การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม
3. การเผยแพร่เป็น E-book โดยสำนักพิมพ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ
 
ตรงจุดนี้เองที่ทำให้นักวิชาการและอาจารย์ที่มีความต้องการอยากจะก้าวหน้าในตำแหน่งทางวิชาการเจอกับอุปสรรค เพราะขั้นตอนเหล่านี้ล้วนเกินกว่าความเชี่ยวชาญของพวกเขาจะทำได้
 
คงจะดีกว่าหากคุณค้นพบคนที่ช่วยคุณในเรื่องเหล่านี้ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้คุณได้โฟกัสอยู่กับการพัฒนางานเขียนทางวิชาการที่คุณถนัดเพียงเท่านั้น!!
 
ซึ่งเรา บริษัท สยามจุลละมณฑล จำกัด คือผู้ให้บริการด้านการให้คำปรึกษา การผลิต การจัดจำหน่าย การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ผ่านการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ โดยนำมาประสานเข้ากับความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อสร้างบริการที่ตอบโจทย์การเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งจะสอดรับไปกับบริบทสังคมและโลกในปัจจุบันที่ต้องการให้ทุกคนเรียนรู้ไปตลอดชีวิต เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
 
สำหรับท่านที่ต้องการทำผลงานเพื่อตำแหน่งทางวิชาการ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่า 20 ปีด้วยกัน คอยให้คำปรึกษาและการดูแลด้วยความใส่ใจ ตลอดจนผลงานของท่านนั้นออกมาเสร็จสมบูรณ์
 
เราและทีมงานมืออาชีพพร้อมสนับสนุน แต่งเติมสีสัน ปั้นแต่งให้งานเขียนของคุณ ให้น่าสนใจ! และ ขายได้! ครบ จบในที่เดียว
 
สิ่งอำนวยความสะดวกเริ่มต้น
หนังสือขนาด A5 จำนวน 200+ หน้า รวมปก
ปก กระดาษอาร์ตการ์ด 260 แกรม
เนื้อใน กระดาษ 80 แกรม
เข้าเล่ม แบบไสกาว
ฟรี E-book
ฟรี ค่าจัดส่ง (ภายในกรงเทพฯ และปริมณฑล)
ส่วนลด 10% สำหรับงานพิมพ์ในครั้งถัดไป
 
โปรโมชันพิเศษเริ่มต้นเพียง 33,500 บาท
 
ไม่ว่างานเขียนของคุณจะอยู่ในความคิด ในกระดาษ หรือไฟล์คอมพิวเตอร์ #เราพร้อม ที่จะแปลงสิ่งที่คุณมีให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และนำเสนอสู่สาธารณชน
 
#มาสร้างหนังสือของตัวเองกันครับ
——————————
หากสนใจสามารถปรึกษาได้ที่
คุณจุฑาทิพย์ สุกาญจนาเศรษฐ์ (ปุ้ย)
คุณพสิษฐ์สัทคุณ จุลละมณฑล (ฟรอส)
Line OA: @siamclmt (มี@ข้างหน้า)
——————————
คลิกลิงก์ข้างล่างนี้เพื่อปรึกษาเรา
หรือดูข้อมูลการผลิตหนังสือเพิ่มเติม
คลิกลิงก์ข้างล่างนี้